วันศุกร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ธารีรัตน์ ใจเอื้อย : การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ (5E) เรื่องสารในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่6

     
                                                                                       
บทความวิจัย : การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้
 
  
                                                                                              ตามวัฎจักรการสืบเสาะหาความรู้  (5E)  เรื่อง  สารในชีวิตประจำ
                                                                                                 วัน  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์   สำหรับนักเรียนชั้น
                                                                                                 ประถมศึกษาปีที่
6

                                                                                                         ธารีรัตน์    ใจเอื้อย  1        
วารีรัตน์    แก้วอุไร  2


การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้  ตามวัฎจักรการสืบเสาะหาความรู้  (5E)
 เรื่องสารในชีวิตประจำวัน  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ 
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่
6

A DEVELOPMENT OF INSTRUCTIONAL PACKAGE IN THE LINE OF INQUIRY CYCLE ON   TOPIC “ SUBSTANCES  ON A DAILY BASIS ” 
FOR PRATHOMSUKSA 6 STUDENTS


บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย คือ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้  ตามวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้   เรื่อง  สารในชีวิตประจำวัน  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตามเกณฑ์ เท่ากับ  80/80  2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  ก่อนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้  ตามวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้  (5E ) เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน    กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์    สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6  3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้    ตามวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้    เรื่อง  สารในชีวิตประจำวัน  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์    สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6   ระเบียบวิธีวิจัย  เป็นแบบวิจัยและการพัฒนามี  3  ขั้นตอน   โดยพิจารณาความเหมาะสมของชุดกิจกรรมการเรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญ  3  ท่าน  กลุ่มตัวอย่าง  คือ  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6   โรงเรียนบ้านหนองขาว  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร   เขต  1  ปีการศึกษา  2554    จำนวนนักเรียน  20  คน  ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง  แบบแผนการวิจัย  คือ  One  Group  Pretest – Posttest  Design  เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า  ประกอบด้วย ชุดกิจกรรมการเรียนรู้    ตามวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้  เรื่อง  สารในชีวิตประจำวัน    กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์    สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6  จำนวน  4  ชุด   แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ หาประสิทธิภาพจากสูตร  E1/E2    สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล   คือ  ค่าเฉลี่ย  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน  (S.D.)และค่าสถิติ  t-test แบบ Dependent
            ผลการวิจัยพบว่า
            1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้   ตามวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้  (5E)  เรื่อง   สารในชีวิตประจำวัน    กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์    สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6  มี  7  องค์ประกอบ  คือ  1)  คำชี้แจง  2) คำแนะนำสำหรับครู  3) แผนการจัดการเรียนรู้  4) คำแนะนำสำหรับนักเรียน  5) สื่อการเรียนรู้  6) การประเมินผล  7) ภาคผนวก  มีกระบวนการเรียนรู้แบบสบเสาะหาความรู้  5  ขั้นตอน  คือ  1) ขั้นสร้างความสนใจ   2) ขั้นสำรวจและค้นหา   3) ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป  4) ขั้นขยายความรู้  5) ขั้นประเมิน  ผลการพิจารณาความเหมาะสม  พบว่า  มีความเหมาะสมในในระดับมากที่สุด มีประสิทธิภาพ 82.01/81.36
            
 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้  ตามวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้  (5E)  เรื่อง  สารในชีวิตประจำวัน   กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์   สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6  หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
            3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้    ตามวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้  (5E)  เรื่อง   สารในชีวิตประจำวัน    กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์    สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6   โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

คำสำคัญ  :  ชุดกิจกรรมการเรียนรู้    วัฎจักรการสืบเสาะหาความรู้     สารในชีวิตประจำวัน

  ABSTRACT

The   purposes  of  this  research  were : 1)  to  create  and  study  the  efficiency  of   instructional  package  in  the  line  of  inquiry   cycle   on  topic “Substances on a daily basis”  for  Prathomsuksa 6  students  at  the  level  of  80/80.  2)  To  compare  achievement of   instructional  package  in  the  line  of  inquiry   cycle   on  topic “Substances on a daily basis”  for  Prathomsuksa 6  students. 3)  To  study  the  student , s satisfaction  who  study  with  the instructional  package  in  the  line  of  inquiry  cycle   on  topic “Substances on a daily basis”  for  Prathomsuksa 6  students. The  research  methodology  does  by  research  and  development  in  3  processes.Three  experts  examine  the  appropriate  of  science  instructional  package.The  sample  group; Prathomsuksa 6  students  at Hnongkow  School, Office of Elementary Community Area 1,academic  year  2011  by  20  students, by  purposive  sampling.The  research  design   is   One  Group  Pretest – Posttest  Design   and  the  research  instruments   compose  4  sets  of of   instructional  package  in  the  line  of  inquiry   cycle   on  topic “Substances on a daily basis”  for  Prathomsuksa 6  students,t  he  learning  achievement  test,and   questionnaire  of  the   student , s satisfactiory,study   efficiency  with E1/E2.The statistics  which  used  for  data   analysis  are  the  average  value,the  standard  deviate , and  t-test  Dependent.
The  result  of  the  study  revealed  that:
1.  An instructional  package  in  the  line  of  inquiry   cycle   on  topic “Substances on a daily basis”  for  Prathomsuksa  6  students  compose  of  7  factors  as  follow;
1) explanation 2) advice for teachers  3) lesson  plan  4) instruction for students  5) instruction  learning 6) evaluation  7)  appendix.The  learning  process  in  the  line  of  inquiry  cycle  5  processes as  follow; 1) Engagement 2) Exploration 3)  Explanation  4) Elaboration 5) Evalution.In  considering  its  sitability,all  parts  are  at  high  levels  and  met  the  efficiency  at  82.01/81.36.
            2. The  students  have  achievement  after  using instructional  package  in  the  line  of  inquiry   cycle   on  topic “Substances on a daily basis”  for  Prathomsuksa 6  students  higher  than  before  at  the  statistical  significant  .01
            3. The  students  have  satisfied  to  learning  by  using  the  instructional  package  in  the  line  of  inquiry   cycle   on  topic “Substances on a daily basis”  for  Prathomsuksa 6  students   in  the  high  level  satisfaction.

Keywords  :  Instructional  package,  Inquiry  Cycle, Substances on a daily basis

บทนำ
                   พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม) พ.ศ.2545 ได้กำหนดหลักการจัดการศึกษาไว้ในหมวด 4 มาตรา 22 ว่า ต้องยึดหลักนักเรียนทุกคนมีสามารถเรียนรู้พัฒนาตนเองได้  และถือว่านักเรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้นักเรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพเน้นการจัดการศึกษาในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัยให้ความสำคัญการบูรณาการความรู้ คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้ตามความเหมาะสมของระดับการศึกษา โดยเฉพาะความรู้ และทักษะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มาตรา 24 ยังระบุให้สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการจัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมสอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของนักเรียน โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ฝึกทักษะ การคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์และการประยุกต์ความรู้มาใช้ เพื่อป้องกันและแก้ไข้ปัญหา การจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้เรียนรู้อย่างต่อเนื่องส่งเสริมสนับสนุน ให้ผู้สอนสามารถสร้างบรรยากาศสภาพแวดล้อม สื่อการเรียนและอำนวยความสะดวกเพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้และมีความรอบรู้ รวมทั้งสามารถเข้าศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ โดยผู้สอนและนักเรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกัน (กรมวิชาการ, 2546, หน้า 215)
              วิทยาศาสตร์มีบทบาทสำคัญยิ่งในสังคมโลกปัจจุบันและอนาคต เพราะวิทยาศาสตร์เกี่ยวข้องกับทุกคนทั้งในชีวิตประจำวันและการงานอาชีพต่าง ๆ ตลอดจนเทคโนโลยี เครื่องมือเครื่องใช้และผลผลิตต่าง ๆ ที่มนุษย์ได้ใช้เพื่ออำนวยความสะดวกในชีวิตและการทำงาน เหล่านี้ล้วนเป็นผลของความรู้วิทยาศาสตร์ ผสมผสานกับความคิดสร้างสรรค์และศาสตร์อื่น ๆ วิทยาศาสตร์ช่วยให้มนุษย์ได้พัฒนาวิธีคิด ทั้งความคิดเป็นเหตุเป็นผล คิดสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์ วิจารณ์ มีทักษะสำคัญในการค้นคว้าหาความรู้ มีความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ  สามารถตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลที่หลากหลายและมีประจักษ์พยานที่ตรวจสอบได้ วิทยาศาสตร์เป็นวัฒนธรรมของโลกสมัยใหม่ซึ่งเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ (Knowledge-based society) ดังนั้นทุกคนจึงจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาให้รู้วิทยาศาสตร์ เพื่อที่จะมีความรู้ความเข้าใจในธรรมชาติและเทคโนโลยีที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้น สามารถนำความรู้ไปใช้อย่างมีเหตุผล สร้างสรรค์ และมีคุณธรรม(สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2546, หน้า 1)
              จากรายงานผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติ (National Test) ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2553 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของนักเรียนอยู่ในเกณฑ์ต้องปรับปรุง มีค่าเฉลี่ย 3.90 ซึ่งสาระที่ 3 สารและสมบัติของสาร มาตรฐาน ว 3.1 เข้าใจสมบัติของสารความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของสารกับโครงสร้างและแรงยึดเหนียวระหว่างอนุภาคมีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ อยู่ในเกณฑ์ต่ำ
              ผู้วิจัยเป็นครูผู้สอนกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จึงพยายามหาวิธีแก้ไข โดยศึกษาข้อมูลจากเอกสารต่าง ๆ และงานวิจัยที่ที่เกี่ยวข้อง พบว่า แนวทางการแก้ไขปัญหาการจัดกระบวนการการเรียนการสอนที่ใช้ในการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ คือ วิธีสอนแบบกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ จึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่จะสอนให้นักเรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง แสวงหาความรู้และสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง โดยเรียนรู้ร่วมกัน เป็นกลุ่มย่อย กลุ่มละ 4-6 คน ด้วยนวัตกรรมชุดกิจกรรมการเรียนรู้ซึ่งเป็นสื่อประสมที่เป็นรูปธรรม ที่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ร่วมกันได้อย่างเป็นขั้นตอนโดยใช้วิธีการสอนแบบกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้ ซึ่งมี 5 ขั้นตอน ดังนี้  (สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2546, หน้า 219–220) 1) ขั้นสร้างความสนใจ (Engagement) 2) ขั้นสำรวจและค้นหา (Exploration) 3) ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป (Explanation) 4. ขั้นขยายความรู้ (Elaboration) 5. ขั้นประเมิน (Evalution)
                    ดังนั้นผู้วิจัยจึงสนใจที่จะพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ เรื่องการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามวัฎจักรการสืบเสาะหาความรู้ (5E) เรื่องสารในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพเกิดประโยชน์สูงสุดต่อนักเรียน

จุดมุ่งหมายของการวิจัย
1. เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้  ตามวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ (5E) เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตามเกณฑ์  เท่ากับ 80/80
2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  ก่อนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้  ตามวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้  (5E) เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์    สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6
3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้  ตามวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ (5E) เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6

วิธีดำเนินการวิจัย
              ในการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ (5E) เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในครั้งนี้   ผู้วิจัยได้ดำเนินการศึกษาตามกระบวนการของการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) แบ่งออกเป็น  3  ขั้นตอน  ดังนี้
           ขั้นตอนที่ 1 การสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ (5E) เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6 
           1.   สร้างชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มี 7 องค์ประกอบ คือ  1)  คำชี้แจง  2) คำแนะนำสำหรับครู  3) แผนการจัดการเรียนรู้  4) คำแนะนำสำหรับนักเรียน  5) สื่อการเรียนรู้  6) การประเมินผล  7) ภาคผนวก  มีกระบวนการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้  5  ขั้นตอน  คือ  1) ขั้นสร้างความสนใจ   2) ขั้นสำรวจและค้นหา  3) ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป  4) ขั้นขยายความรู้  5) ขั้นประเมิน  จำนวน  4  ชุด  คือ   
                    ชุดกิจกรรมที่  1 เรื่อง  สมบัติของของแข็ง  ของเหลว  และแก๊ส 
                    ชุดกิจกรรมที่  2  เรื่อง  การจำแนกประเภทของสาร  
                    ชุดกิจกรรมที่  3  เรื่อง  การแยกสาร   
                    ชุดกิจกรรมที่  4  เรื่อง  สารในชีวิตประจำวัน
                   และนำไปให้ผู้เชียวชาญ จำนวน 3 ท่าน ตรวจความเหมาะสมในองค์ประกอบต่าง ๆ ของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ (5E) เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6 
              2.   ทดลองใช้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านไผ่ใหญ่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554  จำนวน 3 คน จำแนกเป็น  เก่ง  ปานกลาง  อ่อน  อย่างละ 1  คน สำหรับตรวจสอบความเหมาะสมเรื่องภาษาและเวลา  และปัญหาที่พบในการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนตามวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้  (5E)  เรื่อง  สารในชีวิตประจำวัน  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6 
              3.   หาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนการเรียนรู้ ตามวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ (5E)  เรื่อง  สารในชีวิตประจำวัน  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6  กับ  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6  โรงเรียนบ้านไผ่ใหญ่  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 จำนวน 9 คน จำแนกเป็น  เก่ง  ปานกลาง  อ่อน  อย่างละ  3  คน  เกณฑ์  80/80  
           4.   หาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนการเรียนรู้  ตามวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ (5E) เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กับ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6  โรงเรียนบ้านหนองโสน  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร  เขต  1   ภาคเรียนที่  2   ปีการศึกษา  2554   จำนวน  30  คน  เกณฑ์  80/80
 
          ขั้นตอนที่  2  การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้  ตามวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ (5E) เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6  
                ประชากร  ได้แก่  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6  ภาคเรียนที่  2   ปีการศึกษา  2554  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษาการศึกษาพิจิตรเขต  1 
                   กลุ่มตัวอย่าง  ได้แก่  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6   โรงเรียนบ้านหนองขาว  อำเภอวชิรบารมี  จังหวัดพิจิตร  ภาคเรียนที่  2  ปีการศึกษา  2554  จำนวน   20  คน  โดยการเลือกแบบเจาะจง

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
             1.   ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ (5E) เรื่อง สารในชีวิต ประจำวัน  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6 
           2.   แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  เรื่อง  สารในชีวิตประจำวัน  กลุ่มสาระ
การเรียนรู้วิทยาศาสตร์  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 
6 

           ขั้นตอนที่  3 การศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ (5E) เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6 
           ประชากร ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา  2554  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษาการศึกษาพิจิตรเขต  1 
             กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ โรงเรียนบ้านหนองขาว  อำเภอวชิรบารมี  จังหวัดพิจิตร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 จำนวน 20 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง

 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
              แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้  ตามวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ (5E) เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6

การวิเคราะห์ข้อมูล
           ขั้นตอนที่ 1 การสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้  ตามวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ (5E) เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ผู้วิจัยได้ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าเฉลี่ย และ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน  (S.D.)   ของแบบประเมินความเหมาะสมของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้เชี่ยวชาญ  3  ท่านประเมินและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้สูตร E1/E2   
             ขั้นตอนที่  2 การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  ก่อนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้  (5E) เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6  ผู้วิจัยได้ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลจากการทำแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  ดังนี้
              1.   นำคะแนนของนักเรียนทั้งหมดมาหาค่าเฉลี่ย   และ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน  (S.D.)
              2.   เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้วยการทดสอบความมีนัยสำคัญของความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยที่ได้จากการทำแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้  โดยใช้ค่าสถิติ  t-test แบบ Dependent
             ขั้นตอนที่   3    การศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามวัฏจักรการสืบเสาะความรู้ (5E) เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ผู้วิจัยได้ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าเฉลี่ย  และ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน  (S.D.)

สรุปผลการวิจัย
              1.   การสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้  (5E) เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6 
                1.1   การสร้างได้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้  ตามวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ (5E) เรื่อง   สารในชีวิตประจำวัน  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6  มี  7 องค์ประกอบ  คือ  1)  คำชี้แจง  2) คำแนะนำสำหรับครู  3) แผนการจัดการเรียนรู้  4) คำแนะนำสำหรับนักเรียน  5) สื่อการเรียนรู้  6) การประเมินผล  7) ภาคผนวก  มีกระบวนการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้  5  ขั้นตอน  คือ  1) ขั้นสร้างความสนใจ   2) ขั้นสำรวจและค้นหา  3) ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป  4) ขั้นขยายความรู้  5) ขั้นประเมิน  จำนวน  4  ชุด  คือ   
                            ชุดกิจกรรมที่  1 เรื่อง  สมบัติของของแข็ง  ของเหลว  และแก๊ส 
                            ชุดกิจกรรมที่  2  เรื่อง  การจำแนกประเภทของสาร  
                            ชุดกิจกรรมที่  3  เรื่อง  การแยกสาร   
                            ชุดกิจกรรมที่  4  เรื่อง  สารในชีวิตประจำวัน
                    1.2   การพิจารณาความเหมาะสมในองค์ประกอบต่าง ๆ ของชุดกิจกรรมการเรียนรู้  ตามวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด (= 4.68,S.D.= 0.18 )
                    1.3   การตรวจสอบภาษาและเวลาที่ใช้ในการทำกิจกรรมของชุดกิจกรรมการเรียนรู้    ตามวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ (5E) เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านไผ่ใหญ่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1 ปีการศึกษา 2554 จำนวน 3 คน พบว่า มีการใช้ภาษาที่เข้าใจยากและมีคำที่พิมพ์ผิด  เนื้อหา และกิจกรรมการเรียนรู้ในบางตอนมีความยาวและเยอะมากเกินไป  ทำให้นักเรียนใช้เวลามากกว่าที่กำหนด  และมีการปรับปรุงแก้ไข  คือ ปรับเปลี่ยนภาษาให้นักเรียนเข้าใจง่ายและแก้คำผิด  ปรับเนื้อหาและกิจกรรมการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับเวลา
                    1.4  การหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ (5E) เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านไผ่ใหญ่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1 ปีการศึกษา 2554 จำนวน  9  คน   พบว่า 83.47 /81.81
                1.5   การหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้  (5E)  เรื่อง  สารในชีวิตประจำวัน  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6  กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6  โรงเรียนบ้านหนองโสน  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1 ปีการศึกษา 2554 จำนวน  30  คน   พบว่า  82.01/81.36
              2.   ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ (5E) เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .01
             3.  ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามวัฏจักร
การสืบเสาะหาความรู้  (
5E) เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6  โดยภาพรวม  พบว่า  มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน (= 4.90, S.D. = 0.06)  และเมื่อพิจารณาแต่ละด้าน  พบว่า  มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน

อภิปรายผล
             จากผลการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้  ตามวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6  ผู้วิจัยได้นำประเด็นสำคัญที่ค้นพบมาอภิปราย  โดยแบ่งออกเป็น  3   ขั้นตอน  ตามจุดมุ่งหมายของการวิจัย  ดังนี้
              1.   ผลการสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ (5E) เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ได้ผ่านการพิจารณาความเหมาะสมในองค์ประกอบต่าง ๆของชุดกิจกรรมการเรียนรู้  จากผู้เชี่ยวชาญ  จำนวน  3  ท่าน  พบว่า  องค์ประกอบต่าง ๆ ของชุดกิจกรรมการเรียนรู้มีความเหมาะสมในระดับมาก ทั้งนี้เนื่องมาจากกระบวนการสร้างชุดกิจกรรมการเรียนรู้  ผู้วิจัยได้ดำเนินการสร้างตามขั้นตอน  โดยเริ่มจากการศึกษามาตรฐานการเรียนรู้  ตัวชี้วัด  สาระการเรียนรู้  ขอบข่ายเนื้อหาหน่วยการเรียนรู้  เรื่อง  สารในชีวิตประจำวัน  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  ชั้นประถมศึกษาปีที่  6  ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช  2551   คู่มือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  แนวทางการวัดและประเมินผลการเรียนรู้  หนังสือเรียน  วารสาร  บทความเกี่ยวข้องกับวิชาวิทยาศาสตร์  พร้อมทั้งศึกษาเทคนิค  วิธีการสร้างและพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้  การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้  ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์  และกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบวัฎจักรการสืบเสาะหาความรู้  5  ขั้นตอน  แล้วจึงดำเนินการสร้างชุดกิจกรรมการเรียนรู้  ผู้วิจัยได้มีการตรวจสอบและแก้ไขข้อบกพร่องของชุดกิจกรรมการเรียนรู้  มีการทดลองใช้กับนักเรียน  จำนวน  3  คน  เพื่อตรวจสอบภาษา  เวลาและปัญหาที่พบในการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้  พร้อมทั้งดำเนินการแก้ไขชุดกิจกรรมการเรียนรู้ในส่วนที่บกพร่อง  เมื่อนำมาหาประสิทธิภาพกับนักเรียน  จำนวน  9  คน  พบว่า  ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่  1, 2, 3 และ  4  มีประสิทธิภาพของกระบวนการเป็น  82.78,83.33,  83.33  และ  84.44  ตามลำดับ และมีประสิทธิภาพของกระบวนการรวมเฉลี่ยเท่ากับ 83.47  มีประสิทธิภาพของผลลัพธ์เป็น  80.56,  82.22,  82.22  และ  82.22  ตามลำดับ  และมีประสิทธิภาพของผลลัพธ์รวมเฉลี่ยเท่ากับ  81.81  นั่นคือ  ชุดกิจกรรมการเรียนรู้มีประสิทธิภาพเท่ากับ83.47 /81.81  ซึ่งผ่านเกณฑ์ที่กำหนด  คือ  80/80  และเมื่อนำมาหาประสิทธิภาพกับนักเรียนจำนวน  30  คน  พบว่า  ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่  1,2,3 และ  4  มีประสิทธิภาพของกระบวนการเป็น  82.00,  82.67,  82.13  และ  81.33  ตามลำดับ  และมีประสิทธิภาพของกระบวนการรวมเฉลี่ยเท่ากับ  82.01  มีประสิทธิภาพของผลลัพธ์เป็น  81.67,  81.33,  81.67 และ8  0.67   ตามลำดับ  และมีประสิทธิภาพของผลลัพธ์รวมเฉลี่ยเท่ากับ  81.36  นั่นคือ  ชุดกิจกรรมการเรียนรู้มีประสิทธิภาพเท่ากับ  82.01/81.36  ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด  คือ  80/80    ทั้งนี้อาจเป็นเพราะผู้วิจัยได้ดำเนินการสร้างชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามลำดับขั้นตอนของการสร้างชุดกิจกรรมการเรียนรู้  และได้พัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ  และอาจารย์ที่ปรึกษา  ประกอบกับผู้วิจัยได้ออกแบบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ใช้กระบวนการการสืบเสาะหาความรู้  (5E)  ซึ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ฝึกคิด  ฝึกปฏิบัติ  และแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง  มีสื่อการเรียนการสอนที่พัฒนาผู้เรียนทั้งด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน   มีบัตรเนื้อหาที่เหมาะสมกับผู้เรียน  สามารถให้ผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์ตามตัวชี้วัด  ด้านแผนการจัดการเรียนรู้มีขั้นตอนตามวิธีการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ที่สามารถทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้  รวมทั้งคำชี้แจงสำหรับครูและนักเรียนสามารถทำให้ครูและนักเรียนปฏิบัติตามคำแนะนำจนกระทั่งบรรลุวัตถุประสงค์ได้  มีการวัดผลประเมินผลที่ตรงและครอบคลุมตัวชี้วัด  ซึ่งทำนองเดียวกับผลการวิจัยของกนกวลี แสงวิจิตรประชา (2550, บทคัดย่อ) พบว่า  ชุดกิจกรรมการเรียนรู้  ตามกระบวนการสืบเสาะหาความรู้มีประสิทธิภาพเท่ากับ 76.67/77.92 และทำนองเดียวกับผลการวิจัยของ   ยุพิน  ส่องแสง  (2554, บทคัดย่อ)  พบว่า  ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้  มีประสิทธิภาพเท่ากับ  76.63/75.92  ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด
             2.  ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ (5E)เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า นักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ (5E)  เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญ
ทางสถิติที่ระดับ .
01 การได้ผลการวิจัยดังกล่าวอาจเป็นเพราะชุดกิจกรรมการเรียนรู้  ตามวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้  (5E) เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6  มีกิจกรรมที่สร้างความสนใจให้เกิดขึ้นในตัวผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนอยากศึกษาค้นคว้าแสวงหาความรู้  ลงมือปฏิบัติ  ค้นพบคำตอบด้วยตนเองทีละขั้นตอน โดยมีขั้นตอนการเรียน  5  ขั้นตอน  คือ  1)  ขั้นสร้างความสนใจ 2) ขั้นสำรวจและค้นหา 3) ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป  4)  ขั้นขยายความรู้  5)  ขั้นประเมิน (Evalution) ซึ่งการเรียนโดยขั้นตอนเหล่านี้  และโดยเฉพาะขั้นแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับคำตอบของปัญหาที่ได้ทั้งของตนเองและผู้อื่นสามารถทำให้นักเรียนได้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง  เกิดการพัฒนาด้านพุทธิพิสัย  เกิดการเรียนรู้ที่คงทน  เพราะการเรียนรู้มีความหมายต่อผู้เรียนได้ร่วมทำกิจกรรมมีปฏิสัมพันธ์กับกลุ่มได้เคลื่อนไหวร่างกายทำให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีขึ้น  มีการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน  ซึ่งทำนองเดียวกับผลการวิจัย  ฐิตาภรณ์ พันธ์ศรี (2549, บทคัดย่อ)  ที่พบว่า  นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามวัฏจักรสืบเสาะหาความรู้สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  และทำนองเดียวกับ จารุวรรณ  เกษสุวรรณ (2554, บทคัดย่อ) ที่พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  โดยใช้วิธีจัดการเรียนแบบวัฎจักรการสืบเสาะหาความรู้  5  ขั้นตอนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01    
              3.   ผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้    ตามวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ (5E) เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6  โดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด  (ค่าเฉลี่ย= 4.90)  เมื่อพิจารณาแต่ละด้านพบว่าทุกด้านมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด  โดยเรียงลำดับได้ดังนี้  ด้านปัจจัยนำเข้า (ค่าเฉลี่ย= 4.91) ด้านกระบวนการ 
(ค่าเฉลี่ย = 4.85)  และด้านผลผลิต  (ค่าเฉลี่ย= 4.72)  ที่เป็นเช่นนี้อาจเนื่องมาจากการเรียนด้วยชุดกิจกรรมเป็นการสร้างความแปลกใหม่ให้แก่นักเรียนจึงช่วยเร้าความสนใจ  ทำให้นักเรียนมีความกระตือรือร้น  มีการร่วมกันทำกิจกรรมทำให้นักเรียนมีความสุขในการเรียน  นักเรียนมีความประทับใจในการทำงานกลุ่มร่วมกัน  ทำให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการเรียนอย่างแท้จริง  อีกทั้งการเรียนได้เปิดโอกาสให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็น ซึ่งเกิดผลทำนองเดียวกับผลการวิจัยของ วรเชรษ  ชาเมืองกุล  และคณะ (2551, บทคัดย่อ)  พบว่านักเรียนมีความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย= 3.58) 

ข้อเสนอแนะ
           ข้อเสนอแนะทั่วไป
             1.  ในการปฏิบัติตามชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามวัฎจักรการสืบเสาะหาความรู้ (5E)
ครูควรปฐมนิเทศเกี่ยวกับการเรียนตามวัฎจักรการสืบเสาะหาความรู้ (
5E) เพื่อให้นักเรียนเข้าใจก่อนทำกิจกรรม
             2.  การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ในขั้นสำรวจและค้นหา  ต้องให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติการทดลองเพื่อฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
             3.  ในการปฏิบัติกิจกรรมตามบัตรคำสั่งและบัตรกิจกรรม  ครูต้องควบคุมเวลาให้ชัดเจน  เพื่อให้นักเรียนมีการวางแผนการปฏิบัติกิจกรรม  และปฏิบัติกิจกรรมเสร็จทันตามกำหนดเวลา
          ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยครั้งต่อไป
             1.  ควรมีการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามวัฎจักรการสืบเสาะหาความรู้ (5E)
ในระดับชั้นอื่น  และเนื้อหาอื่น
             2.  ควรมีการนำนวัตกรรมหรือวิธีการสอนแบบอื่น เช่น วิธีการสอนแบบโครงงาน วิธีการสอนแบบแก้ปัญหา  หรือวิธีการสอนแบบร่วมมือ  มาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้น
             3.  ควรมีการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามวัฎจักรการสืบเสาะหาความรู้ (5E) 
ในกลุ่มสาระอื่น  นอกจากกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
 

บรรณานุกรม



กนกวลี  แสงวิจิตรประชา. (2550). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามวัฎจักรการสืบเสาะหา
          ความรู้ วิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน เรื่อง หน่วยของชีวิตและชีวิตพืช สำหรับนักเรียนชั้น
          มัธยมศึกษาปีที่
1. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง กศ.ม.,มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.
กรมวิชาการ. (2546). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่ง
            สินค้าและพัสดุภัณฑ์
.
จารุวรรณ  เกษสุวรรณ. (2554). พัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  โดยใช้วิธีจัดการเรียน
          แบบวัฎจักรการสืบเสาะหาความรู้ 
5
  ขั้นตอน  และเทคนิคผังมโนทัศน์  เพื่อเสริม
          ความสามารถในการคิดวิเคราะห์  เรื่อง  น้ำ  ฟ้า  และดวงดาว  สำหรับนักเรียนชั้น
          ประถมศึกษาปีที่ 
5
.การศึกษาค้นคว้าอิสระ  กศม., มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก
ชัยยงค์  พรหมวงศ์. (2532). กระบวนทัศน์การสันนิเวทยาการและระบบสื่อการสอน.เอกสาร
         การสอนชุดวิชาเทคโนโลยีและสื่อการสอนเล่มที่
1 หน่วยที่ 1 – 15. นนทบุรี:
            มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ฐิตาภรณ์  พันธ์ศรี และคณะ. (2549). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามวัฏจักรการสืบเสาะ
         หาความรู้ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับนัก
         เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่
1.  การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง กศ.ม.,มหาวิทยาลัยนเรศวร,
            พิษณุโลก.
ยุพิน  ส่องแสง. (2554). พัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ที่ส่งเสริมผล
          สัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์  เรื่อง  พลังงานความ
          ร้อน  สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 
1
.
การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง  กศ.ม., 
             มหาวิทยาลัยนเรศวร,พิษณุโลก.
วรเชรษฐ  ชาเมืองกุล  และคณะ. (2551). การพัฒนาชุดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์
          เรื่อง   ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  สำหรับนักเรียนชั้น
          มัธยมศึกษาปีที่ 
3
.การศึกษาค้นคว้าอิสระ  กศม., มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2546). การจัดสาระการเรียนรู้กลุ่มวิทยา
          ศาสตร์.
กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

1  นิสิตระดับมหาบัณฑิตศึกษา สาขาหลักสูตรและการสอน  ภาควิชาการศึกษา  คณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยนเรศวร
2  รองศาสตราจารย์ ดร.,อาจารย์ประจำสาขาหลักสูตรและการสอน  ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์     
   มหาวิทยาลัยนเรศวร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น