วันศุกร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

นางสาวพิมพร แสงแก้ว : การพัฒนาชุดกิจกรรมการอ่านภาษาอังกฤษ โดยใช้เทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อน เรื่อง Klonglan District สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3


บทความวิจัย : การพัฒนาชุดกิจกรรมการอ่านภาษาอังกฤษ
โดยใช้เทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อน เรื่อง Khlonglan  District  

                สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3        
                                                                                                                                                                        พิมพร แสงแก้ว1   อมรรัตน์ วัฒนาธร 2

การพัฒนาชุดกิจกรรมการอ่านภาษาอังกฤษ โดยใช้เทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อน
                             เรื่อง Khlonglan  District  สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

THE DEVELOPMENT OF ENGLISH GROUP ACTIVITY READING BY USING PEER TUTORING APPROACH IN “KHLONGLAN DISTRICT”

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการอ่านภาษาอังกฤษ โดยใช้เทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อน เรื่อง Khlonglan  District  สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ตามเกณฑ์ 75/75  2)เพื่อเปรียบเทียบความสามารถทางด้านการอ่านภาษาอังกฤษ ก่อนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้เทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมการอ่านภาษาอังกฤษ โดยใช้เทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อน เรื่อง  Khlonglan  District  สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
                 กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนคลองลานพัฒนาจินดาศักดิ์
ภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2554  อ.คลองลาน จ.กำแพงเพชร จำนวน 30 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ ชุดกิจกรรมการอ่านภาษาอังกฤษ โดยใช้เทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อน เรื่อง Khlonglan  District  สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3  จำนวน 4 ชุด แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน   แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานร่วมกันของนักเรียน และแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้เทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อน   เรื่อง  Khlonglan  District  สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่า t   (t – test  Dependent)
                   ผลการวิจัยพบว่า1) ชุดกิจกรรมการอ่านภาษาอังกฤษ โดยใช้เทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อน เรื่อง  Khlonglan  District  สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  มีประสิทธิภาพเท่ากับ 76.84/75.67   ผลการเปรียบเทียบความสามารถทางด้านการอ่านภาษาอังกฤษ ก่อนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้เทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อน พบว่าความสามารถทางการอ่านภาษาอังกฤษหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการอ่านภาษาอังกฤษ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  3)ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3   ที่มีต่อชุดกิจกรรมการอ่านภาษาอังกฤษ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

คำสำคัญ : ชุดกิจกรรมการอ่านภาษาอังกฤษ   เทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อน

ABSTRACT

The purpose of this research were 1)To create and find effectiveness of  English group activity  reading by using peer tutoring  approach  in “Khlonglan district”  for the secondary students grade 9  with  standard 75/75  2) To  compare about  reading ability  before and after using of  English group activity  reading by using peer tutoring  approach  in “Khlonglan district  3) To study about satisfaction  of student  with  English group activity  reading by using peer tutoring  approach  in “Khlonglan district  for the  secondary  student  grade 9
The sample  consists of one randomly selected class  of Klonglanpattanajindasak  school term 2 during the academic year 2011   forty students   Aumpher  Klonglan   Kampheangphet province. The study tools were 4  lessons of   English group activity  reading by using peer tutoring  approach, reading achievement , an  observation of  behavior for students working together,  and questionnaire on the level of  English group activity  reading by using peer tutoring  approach in “Khlonglan district”  for the secondary students grade 9. The t - test  was  used to analyze the data,  mean and standard  deviation
The result of the study were the efficiency of the materials was 76.84/75.67   The students English reading ability  after using  English group activity  reading by using peer tutoring  approach  in “Khlonglan district   was significantly  higher the before using English group activity  reading by using peer tutoring  approach  in “Khlonglan district”   at  the  .05 level  and the students’ satisfaction  toword English group activity  reading by using peer tutoring  approach  in “Khlonglan district   were high level.


บทนำ
ภาษาอังกฤษเป็นภาษาสากลที่สำคัญในการติดต่อสื่อสาร ทักษะที่สำคัญในการแสวงหาความรู้ คือทักษะการอ่าน ดังที่ วีรชาติ ชัยเนตร (2541 : 4) กล่าวว่า การอ่านเป็นทักษะที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตในโลกปัจจุบัน ผู้ที่อ่านมากย่อมมีความรู้มาก สอดคล้องกับพรรณศรี ปทุมสิริ (2541 : 2) กล่าวว่าทักษะการอ่านภาษาอังกฤษจัดว่าเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของคนยุคใหม่ การอ่านเป็นเครื่องมือสำคัญยิ่งสำหรับการแสวงหาความรู้ เพราะการอ่านจะช่วยสร้างเสริมความรู้ความคิดของคนให้เพิ่มพูนยิ่งขึ้น การอ่านมีบทบาทสำคัญในการเรียนทุกระดับ    วิสาข์ จัติวัตร์ ( 2528 : 15) กล่าวว่า ในบรรดาทักษะภาษาอังกฤษอันประกอบด้วยทักษะการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียนนั้น ทักษะที่จำเป็นมากที่สุดคือ ทักษะการอ่าน ซึ่งต้องใช้ในชีวิตประจำวัน            เช่น การอ่านฉลากยา การอ่านป้ายโฆษณา ตลอดจนวิธีการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มาจากต่างประเทศ ดังนั้นทักษะการอ่านจึงเป็นทักษะที่นักเรียนต้องการและควรได้รับการส่งเสริม เป็นอย่างยิ่ง
จากผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน  (O-NET) ช่วงชั้นที่ 3  มัธยมศึกษาปีที่ 3   ปีการศึกษา  2553     ในรายวิชาภาษาอังกฤษ  ระดับประเทศ มาตรฐาน   ต 1.1  เข้าใจและตีความเรื่องที่ฟังและอ่านจากสื่อประเภทต่างๆ และแสดงความคิดเห็น  อย่างมีเหตุผล  มีคะแนนเฉลี่ย 3.31  คิดเป็นร้อยละ 22.07  และจากผลการทดสอบระดับโรงเรียน       พบว่า โรงเรียนคลองลานพัฒนาจินดาศักดิ์  อำเภอคลองลาน  จังหวัดกำแพงเพชร                ตามมาตรฐานที่ ต1.1  มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 2.90 คิดเป็นร้อยละ 19.33  (สถาบันทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน ,2553)    แสดงให้เห็นว่าการอ่านภาษาอังกฤษอยู่ในเกณฑ์ต่ำมาก  
ชุดกิจกรรมจัดเป็นสื่อการเรียนการสอนชนิดหนึ่งที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอน  โดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง  แก้ปัญหาความแตกต่างระหว่างบุคคลและส่งเสริมการศึกษารายบุคคลตามความสนใจของผู้เรียน  สร้างความพร้อม ความมั่นใจแก่ผู้สอนเพราะชุดกิจกรรมพัฒนาไว้เป็นหมวดหมู่สามารถหยิบใช้ได้ทันที จากประโยชน์ดังกล่าว จะเห็นว่าชุดกิจกรรมเป็นเทคโนโลยีทางการศึกษาที่นำมาใช้ในการจัดการศึกษา เพื่อพัฒนาผู้เรียนได้เต็มตามศักยภาพ
การสอนโดยใช้เทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อนเป็นรูปแบบการสอนที่ผู้เรียนด้วยกันเองช่วยสอนให้ผู้เรียนคนอื่นๆ ซึ่งจะช่วยให้การเรียนการสอนเข้าถึงและตอบสนองความต้องการของผู้เรียนแต่ละคน โดยเฉพาะผู้เรียนที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน จะช่วยให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์จากเพื่อนนักเรียนที่เรียนเก่งเป็นผู้ช่วยเหลือนักเรียนที่เรียนอ่อน
ได้เป็นอย่างดี ทั้งในด้านเนื้อหาและประสบการณ์ให้กับตนเอง  ด้วยกระบวนการทำงานเป็นกลุ่ม  เกิดการช่วยเหลือซึ่งกันและกันระหว่างผู้เรียน  เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนที่มีความบกพร่องใน  การเรียนรู้ได้ฝึกทักษะการอ่าน โดยมีส่วนร่วมในการเรียนและทำกิจกรรม  ด้วยความกระตือรือร้น กิจกรรมที่สนุกสนาน จนทำให้เกิดความรู้สึกที่อยากเรียน  อันมีผลต่อการสร้างทัศนคติที่ดีและ      มีแรงจูงใจในการเรียน
การใช้สถานที่ท่องเที่ยวในชุมชน เป็นแหล่งเรียนรู้สามารถส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียน ทำให้นักเรียนได้ค้นหาความรู้ด้วยตนเอง ตามกิจกรรมที่จัดไว้ซึ่งจะเป็นโอกาสหนึ่งที่ทำให้นักเรียนได้รับประสบการณ์ตรง ได้ความรู้ สนุกกับการเรียน ตลอดจนยังเป็นการสร้างเจตคติต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นของตนตั้งแต่เยาว์วัย
จากข้อความดังกล่าว อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร เป็นมีแหล่งเรียนรู้ในชุมชน    ที่หลากหลายเหมาะแก่การแสวงหาความรู้ เพราะพื้นที่ส่วนใหญ่ยังพื้นที่ป่าไม้ต้นน้ำลำธาร ป่าไม้เบญจพรรณ    มีพรรณไม้ที่สำคัญหลายชนิด เช่น สัก ยาง ตะเคียน มะค่า ประดู่ และไม้แดง       ซึ่งเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติ   เป็นภูเขาสูงชันและเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาถนนธงชัย ยอดเขาที่ สูงที่สุดในอุทยานคือ ยอดเขาคลองลาน  ของอุทยานปกคลุมด้วยป่าดิบเขา และมีแหล่งท่องเที่ยว  วัฒนธรรมและประชากรหลายชาติพันธุ์ ดังคำขวัญอำเภอคลองลานเมืองคนงาม น้ำตกสวย      เต็มไปด้วยไม้สัก อนุรักษ์ วัฒนธรรมมากมีของดี
            ผู้วิจัยมีความสนใจที่จะพัฒนาชุดกิจกรรมการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้เทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อน   เรื่อง Klonglan  District สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ     เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับแหล่งเรียนรู้ภายในท้องถิ่น ให้คงอยู่อย่างทรงคุณค่าและมีคุณประโยชน์ต่อชุมชนท้องถิ่นและประเทศชาติสืบไป  อีกทั้งยังช่วยพัฒนาความสามารถทางด้านการอ่านภาษาอังกฤษ ซึ่งส่งผล    ให้ผู้เรียนมีเจตคติที่ดีในการเรียนภาษาอังกฤษ มีผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านภาษาอังกฤษสูงขึ้น       เกิดประโยชน์ต่อการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน และการเรียนภาษาอังกฤษในระดับที่สูงขึ้น
จุดมุ่งหมายของการวิจัย
1. เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการอ่านภาษาอังกฤษ โดยใช้เทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อน
เรื่อง Khlonglan  District  สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ตามเกณฑ์ 75/75
2. เพื่อเปรียบเทียบความสามารถทางด้านการอ่านภาษาอังกฤษ ก่อนและหลังเรียน   ด้วยชุดกิจกรรมการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้เทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมการอ่านภาษาอังกฤษ โดยใช้เทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อน เรื่อง  Khlonglan  District  สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
วิธีดำเนินการวิจัย
การพัฒนาชุดกิจกรรมการอ่านภาษาอังกฤษ โดยใช้เทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อน เรื่อง Khlonglan  District   สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3   นี้  เป็นการศึกษาในลักษณะการวิจัยและพัฒนา  (Research  and  Development)  การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น  3  ขั้นตอนดังต่อไปนี้
ขั้นตอนที่ 1  การสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการอ่านภาษาอังกฤษ โดยใช้เทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อน เรื่อง Khlonglan  District  สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75
ในการสร้างและหาประสิทธิภาพชุดกิจกรรมการอ่านภาษาอังกฤษครั้งนี้  ผู้วิจัยได้ศึกษาหลักการเทคนิคการสร้างแผน   วิธีการสอนโดยใช้เทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อน และเอกสารประกอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551  คู่มือการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ  เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างกิจกรรมการเรียนรู้ ทั้งหมด 4  ชุด
ชุดกิจกรรมที่ 1  Map  & How to go  there ?
          ชุดกิจกรรมที่ 2  The history of  Khlonglan    
          ชุดกิจกรรมที่ 3  Tourist attractions
          ชุดกิจกรรมที่ 4  The history of hill tribes
       เครื่องมือที่ใช้
                  1. แบบประเมินความเหมาะสมของชุดกิจกรรม
         2. ชุดกิจกรรมการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้เทคนิคเพื่อนช่วย
            ขั้นตอนที่  2  การทดลองใช้ชุดกิจกรรมการอ่านภาษาอังกฤษ โดยใช้เทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อน เรื่อง Klonglan  District  สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  
 
แหล่งข้อมูล
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 โรงเรียนคลองลานพัฒนาจินดาศักดิ์   สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 41 จำนวน 30 คน
ครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในขั้นตอนนี้  แบ่งเป็น  2  ประเภท  คือ เครื่องมือที่ใช้ใน
การเก็บรวบรวมข้อมูลและเครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง
1.  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล  ได้แก่  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการ
อ่านภาษาอังกฤษ  เรื่อง Khlonglan  District  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ สำหรับนักเรียน                 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 20  ข้อ เป็นแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก
               2.  เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง  ได้แก่  ชุดกิจกรรมการอ่านภาษาอังกฤษ โดยใช้เทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อน เรื่อง Klonglan  District  สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  จำนวน  4  ชุด
               ผู้วิจัย ได้ดำเนินการทดลอง และดำเนินการทดลองใช้ชุดกิจกรรมการอ่านภาษาอังกฤษ โดยใช้เทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อน เรื่อง Klonglan  District  สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้แบบแผนการทดลองแบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน  (One Group Pretest - Posttest Design)  
  ขั้นตอนที่ 3  การศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมการอ่านภาษาอังกฤษ โดยใช้เทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อน Khlonglan  District    สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ขอบเขตด้านเนื้อหา
 ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อ ชุดกิจกรรมการอ่านภาษาอังกฤษ  โดยใช้เทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อน เรื่อง  Khlonglan  District    สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

ขอบเขตด้านแหล่งข้อมูล
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 โรงเรียนคลองลานพัฒนาจินดาศักดิ์   สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 41 จำนวน 30 คน
            เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า
           แบบประเมินความพึงพอใจชนิดมาตราส่วนประมาณค่า   (Rating Scale)  เพื่อใช้ประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมการอ่านภาษาอังกฤษ  โดยใช้เทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อน เรื่อง  Khlonglan  District   สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  โดยใช้แบบประเมินความพึงพอใจ หลังการเรียนโดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้
การวิเคราะห์ข้อมูล
ขั้นตอนที่ 1   การสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการอ่านภาษาอังกฤษ
โดยใช้เทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อน เรื่อง Khlonglan  District  สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75   โดยวิเคราะห์หาค่าความเหมาะสมของชุดกิจกรรม  จากการหาค่าเฉลี่ย  และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  นำผลที่ได้ไปเปรียบเทียบกับเกณฑ์ ส่วนการหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมด้วยสูตร E1/E2
ขั้นตอนที่  2  การทดลองใช้และศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรมการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้เทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อน เรื่อง Khlonglan  District  สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การเปรียบเทียบความสามารถทางการอ่านภาษาอังกฤษที่ได้จากการทดสอบก่อนและหลังเรียน  โดยการทดสอบค่า t (t-test Dependent)       
              ขั้นตอนที่  3  ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  ที่มีต่อชุดกิจกรรมการอ่านภาษาอังกฤษ โดยใช้เทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อน เรื่อง Khlonglan  District จากแบบประเมินของผู้เชี่ยวชาญทั้ง  5  คน  โดยใช้ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และวิเคราะห์ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมการอ่านภาษาอังกฤษ โดยใช้เทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อน   เรื่อง Khlonglan  District โดยการใช้ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน  นำค่าเฉลี่ยทีได้ไปเปรียบเทียบกับเกณฑ์และแปลผล
สรุปผลการวิจัย
            ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
 1. การสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการอ่านภาษาอังกฤษ โดยใช้เทคนิค
เพื่อนช่วยเพื่อน เรื่อง Khlonglan  District  สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
                   ผลการสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้  พบว่าชุดกิจกรรมการอ่านภาษาอังกฤษ    มีองค์ประกอบ คือ คำแนะนำสำหรับครู  คำแนะนำสำหรับนักเรียน  แผนการจัดการเรียนรู้  สื่อการเรียนรู้ซึ่งประกอบไปด้วยใบความรู้  แบบฝึกหัด   แบบทดสอบย่อยและแบบทดสอบสำหรับการประเมินผล ผลการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก    
                  1.1  ผลการหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการอ่านภาษาอังกฤษ  จากการทดลองใช้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3  โรงเรียนสักงามวิทยา  ภาคเรียนที่  2  ปีการศึกษา  2554  จำนวน  30  คน  มีประสิทธิภาพ  75.45/87.33  และแต่ละชุดมีประสิทธิภาพผ่านเกณฑ์  75/75
                   2. การทดลองใช้และศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรมการอ่านภาษาอังกฤษ โดยใช้เทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อน เรื่อง Khlonglan  District  สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการอ่านภาษาอังกฤษ โดยใช้เทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อน เรื่อง Khlonglan  District  สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3   หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .05
                    3. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อชุดกิจกรรมการ
อ่านภาษาอังกฤษ โดยใช้เทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อน เรื่อง Khlonglan  District  สำหรับ พบว่า มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด
อภิปรายผลการวิจัย
การผลการพัฒนาชุดกิจกรรมการอ่านภาษาอังกฤษ โดยใช้เทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อน เรื่อง Khlonglan  District  สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  สามารถอภิปรายผล ได้ดังต่อไปนี้
             1.  ผลการสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการอ่านภาษาอังกฤษ โดยใช้เทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อน เรื่อง Khlonglan  District  สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ได้รับการพิจารณาความเหมาะสมขององค์ประกอบของกิจกรมการเรียนรู้ จากผู้เชี่ยวชาญจำนวน  5  ท่าน พบว่า  ชุดกิจกรรมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากนักเรียนมีความสนใจในชุดกิจกรรมการอ่านภาษาอังกฤษและชุดกิจกรรมการอ่านภาษาอังกฤษ การศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยได้กำหนดเกณฑ์ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมไว้ ที่ 75/75
แสดงว่า ชุดกิจกรรมการอ่านภาษาอังกฤษ ทั้ง 4 ชุด มีประสิทธิภาพ สามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ได้ ซึ่งสอดคล้องกับผลการวิจัยของ นงคราญ    ทองประสิทธิ์ (2541) ได้พัฒนาชุดกิจกรรมฝึกทักษะการเขียนภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า ชุดกิจกรรมฝึกทักษะการเขียนภาษาอังกฤษที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ 92.67/86.67 สรุปได้ว่า ชุดกิจกรรมการฝึกทักษะการเขียนภาษาอังกฤษที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพดังนี้ คือ นักเรียนสามารถทำแบบฝึกกิจกรรมทบทวนหลังจากเรียนครบแต่ละชุดกิจกรรมได้ตามเกณฑ์ โดยผ่านเกณฑ์ประสิทธิภาพคิดเป็นร้อยละ 92.67 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ และนักเรียนสามารถทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานผ่านเกณฑ์ประสิทธิภาพคิดเป็นร้อยละ 86.67 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์  แสดงว่าชุดกิจกรรมฝึกทักษะการเขียนภาษาอังกฤษที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้คือ ร้อยละ 80/80
                2.  การทดลองใช้และศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรมการอ่านภาษาอังกฤษ โดยใช้เทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อน เรื่อง Khlonglan  District  สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
               ผลการทดลองใช้ชุดกิจกรรม เมื่อนำไปทดลองใช้ พบว่า ชุดกิจกรรมการอ่านภาษาอังกฤษ โดยใช้เทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อน เรื่อง Khlonglan  District  สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ชุดกิจกรรมที่ 1,2,3 และ 4 มีประสิทธิภาพด้านกระบวนการเท่ากับ 77.41, 77.19 , 76.76 และ 76.00 ตามลำดับ ซึ่งในภาพรวมมีประสิทธิภาพกระบวนการเท่ากับ 76.84  และมีประสิทธิภาพด้านผลลัพธ์เท่ากับ 75.67  นั่นคือ ชุดกิจกรรมการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้เทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อน เรื่อง Khlonglan  District มีประสิทธิภาพเป็นไปตาเกณฑ์  75/75  คือ
มีประสิทธิภาพเท่ากับ 76.84/75.67 และนักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการอ่านภาษาอังกฤษ
โดยใช้เทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อน มีความสามารถทางการอ่านภาษาอังกฤษหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  ทั้งนี้อาจเนื่องมาจาก ผู้วิจัยได้เลือกใช้ชุดกิจกรรมการอ่านภาษาอังกฤษ โดยใช้เทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อน โดยคำนึงถึงธรรมชาติของเนื้อหาวิชาและเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  ในการจัดการเรียนการสอน 
                3.  ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อชุดกิจกรรมการ
เรียนรู้โดยใช้เทคนิคเพื่อน  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ  อยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด  ซึ่งกล่าวได้ว่าชุดกิจกรรมการเรียนรู้ช่วยส่งเสริมความสามารถทางด้านการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียน นักเรียนได้รับความสนุกสนานเพลิดเพลินในขณะเรียน เนื้อหาที่เรียนเป็นสิ่งที่นักเรียนสามารถนำไปใช้ได้จริง ช่วยเร้าความสนใจของนักเรียน ต่อสิ่งที่กำลังศึกษา ทำให้ผู้เรียนเกิดความตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนของตนเองมีการปฎิสัมพันธ์กันในการทำงานกลุ่ม ทำให้เกิดเจตคติที่ดีต่อการเรียน
ซึ่งสอดคล้องกับผลการวิจัยของ   วรรณเพ็ญ  คิอินทิ (2548) เคยได้ศึกษาผลการเรียนรู้ด้วยบทเรียนมัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์ที่เรียนด้วย กระบานการเรียนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ เรื่อง คำศัพท์ชันประถมศึกษาปีที่ 5 ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนมัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์ มีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนเพิ่มขึ้นจากก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  มีความคงทนในการเรียนรู้หลังการเรียนรู้ 2 สัปดาห์ลดลงคิดเป็นร้อยละ 3.79 ของคะแนนเฉลี่ยการสอบหลังเรียนและมีความพึงพอใจ
อยู่ในระดับมาก
ข้อเสนอแนะทั่วไป
             1.  ครูผู้สอนควรมีการศึกษาวิธีการและขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อน  เพื่อให้เข้าใจถึงหลักการ กระบวนการอย่างถ่องแท้ก่อนการนำไปใช้จริงช่วยให้การเรียนการสอนบรรลุผล
             2.  ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ควรใช้ภาษาเข้าใจง่ายเหมาะสมกับนักเรียน
 ชุดกิจกรรมมีคำสั่งที่ชัดเจนเข้าใจง่าย แบบทดสอบมีจำนวนพอเหมาะ ชุดกิจกรรมมีความสะดวกในการนำไปใช้ ทำให้นักเรียนได้ร่วมกิจกรรมอย่างสนุกสนาน
             3. ในกิจกรรมการจับคู่อ่าน เด็กเก่งบางคนอาจจะจับคู่กับเด็กที่อ่อนมาก ทำให้เด็กเก่งเกิดความรู้สึกท้อแท้ ที่จะช่วยเหลือเพื่อนที่เรียนอ่อนกว่า ดังนั้นครูควรให้การเสริมแรงหรือให้กำลังใจนักเรียน
ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป
             1.  ควรมีการพัฒนาชุดกิจกรรมการอ่านภาษาอังกฤษ โดยใช้เทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อน
ในระดับชั้นอื่นและเนื้อหาอื่น
             2.  ในการสร้างชุดกิจกรรม ควรมีการสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนว่านักเรียนมีความสนใจในเรื่องใดบ้างเพื่อเป็นแนวทางในการจัดทำชุดกิจกรรมให้ตรงกับความสนใจของผู้เรียนมากขึ้น
             3. ควรมีการวิจัยการสอนโดยใช้เทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อน ในการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษด้านต่างๆ
             4. ควรมีการศึกษาปัญหาในด้านการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษตาม ความคิดเห็นของครูผู้สอนภาษาอังกฤษ   เพื่อให้ได้เนื้อหาที่ตรงกับสภาพปัญหาจริงและตรงกับความต้องการของครูผู้สอน   มาสร้างเป็นชุดกิจกรรมการเรียนรู้

บรรณานุกรม

กรมวิชาการ.  (2544).  คู่มือการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ. กรุงเทพฯ :  โรงพิมพ์ 
                      องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์. 
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551) .หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.  
                     กรุงเทพฯ:คุรุสภา ลาดพร้าว.
วรรณเพ็ญ  คิอินทิ.(2548).ผลการเรียนรู้ด้วยบทเรียนมัลติมีเดียปฎิสัมพันธ์ที่เรียนด้วย
                    กระบวน  การเรียนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน กลุ่มสาระการเรียนรู้
                    ภาษาต่างประเทศ เรื่องคำศัพท์    ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์.กศม : ,
                    มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
สถาบันทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน.(2553).ผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน
                   ปีการศึกษา 2553.
มาฆวรรณ  คำพูล และ อัญญาณี  สายสั้น.(2550).การพัฒนาชุดกิจกรรมการอ่านภาษาอังกฤษ โดยใช้       
                 เทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อน เรื่อง My province สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3.การศึกษา
                    ค้นคว้าด้วยตนเอง กศม. มหาวิทยาลัยนเรศวร
รัชนีกร  ศรีคล้าย. (2553). การพัฒนาชุดกิจกรรมการอ่านภาษาอังกฤษ โดยใช้เทคนิคเพื่อน 
               ช่วยเพื่อน เรื่อง Phitsanulok  Province สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2.    
               การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง กศม. มหาวิทยาลัยนเรศวร.


1 นิสิตระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
2  อาจารย์ประจำสาขาวิชาหลักสูตรและการสอน ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร























1 ความคิดเห็น: