วันเสาร์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

พชรวรรณ บุญยา : การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD ...


                                 บทความวิจัย : การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD
สอดแทรกด้วยเกมคณิตศาสตร์ เรื่องการบวก การลบ การคูณทศนิยม
                                                                                                                         กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6


                                                                                                                           พชรวรรณ  บุญยา1อังคณา  อ่อนธานี2




การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD สอดแทรกด้วย

เกม คณิตศาสตร์ เรื่องการบวก การลบ การคูณทศนิยม

กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

THE D EVELOPMENT OF INSTRUCTIONAL PACKAGE  IN  LEARNING   AREA  OF  MATHEMATICS  BY USING  STUDENT TEAM ACHIEVEMENT DIVISION (STAD)TECHNIQUE INTERVENE MATHEMATICS GAME IN THE TOPIC ADDITION,SUBTRACTION  AND MULTIPLICATION BY DECIMAL FOR  PRATHOMSUKSA 6 STUDENTS



บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้าง และหาประสิทธิภาพของ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD สอดแทรกด้วยเกมคณิตศาสตร์ เรื่องการบวก การลบ การคูณทศนิยม  กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  ตามเกณฑ์ 75/75  เพื่อใช้ชุดกิจกรรม โดยเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียน เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ การวิจัยครั้งนี้แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนดังนี้            

ขั้นตอนที่ 1  การสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค  STAD  สอดแทรกด้วยเกมคณิตศาสตร์  เรื่องการบวก  การลบ การคูณทศนิยม  กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  ตามเกณฑ์ 75/75 ผู้วิจัยได้ให้ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน ตรวจสอบความเหมาะสมในองค์ประกอบต่างๆ ของชุดกิจกรรม แล้วนำไปหาประสิทธิภาพกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 1 ห้องเรียน  32 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย และ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์หาค่าประสิทธิภาพโดยใช้สูตร E1 / E2

ขั้นตอนที่ 2  ศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค  STAD  สอดแทรกด้วยเกมคณิตศาสตร์  เรื่องการบวก  การลบ การคูณทศนิยม    กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียน กลุ่มตัวอย่าง  ได้แก่  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  โรงเรียนบ้านตากประถมวิทยา   ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554  จำนวน 36  คน แบบแผนการวิจัย คือ One Group  Pretest – Posttest Design สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การทดสอบค่าที (t – test  dependent)  

ขั้นตอนที่ 3  ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการเรียน โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค  STAD  สอดแทรกด้วยเกมคณิตศาสตร์ เรื่องการบวก  การลบ การคูณทศนิยม  กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 

ผลการวิจัย พบว่า


1. ชุดกิจกรรมการเรียนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค  STAD  สอดแทรกด้วยเกมคณิตศาสตร์  เรื่องการบวก การลบ การคูณทศนิยม  กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6   มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด  ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.63 และมีประสิทธิภาพเท่ากับ 77.06 / 76.31

          2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

            3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค  STAD  สอดแทรกด้วยเกมคณิตศาสตร์  เรื่องการบวก  การลบ การคูณทศนิยม  กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อยู่ในระดับมากที่สุด



ABSTRACT



The main purpose of this research was the development of  instructional package in learning area of mathematics by using student team achievement division technique intervene mathematics game in the topic addition, subtraction and multiplication by decimal for prathomsuksa 6 students.The purpose of this research were to construct and identify the efficiency instructional package in learning area of mathematics by using student team achievement division technique intervene mathematics game in the topic addition, subtraction and multiplication by decimal for prathomsuksa 6 students, and the criteria were at 75/75 , to use instructional package by compare the achievement about  before  and  after  learning  with instructional package and to study  the students ’s  satisfaction towards learning by using the instructional package. The research and development procedures were divided into 3 steps as follow :

The first step was  to construct and identify the efficiency instructional package in learning area of mathematics by using student team achievement division technique intervene mathematics game in the topic addition, subtraction and multiplication by decimal for prathomsuksa 6 students, and the criteria  were at 75/75. To construct

 instructional package handbook and activities for students. and then inspected its quality by 5 experts to examine the appropriation.Take the instructional package to experiment in prathomsuksa 6. The data were analyzed by the analysis of mean, standard deviation and E1/E2.

The second step was to use instructional package by compare the achievement about  before  and  after  learning  with instructional package.. The  sample  was 36 students in prathomsuksa 6, Room 1, Bantakprathomwitthaya School, semester 2, and  academic year 2011. Research design is  “ One Group Pretest – Posttest Design”.

The statistics used for analyzing the data were mean and  standard deviation.



Research  finding were as follows :

        1. The appropriateness of the  instructional package at the highest level. The efficiency value was define at 77.06 / 76.31.

            2. The post-test of achievement through the developed instructional package were higher than  pre-test  at  .01 level of significance.

            3. The students have the highest level of satisfaction towards instructional package in learning area of mathematics by using student team achievement division technique intervene mathematics game in the topic addition, subtraction and multiplication by  decimal for prathomsuksa 6 students.



Keywords : Instructional package, Technique STAD, Mathematics game



บทนำ

หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ได้กำหนดให้การจัดการศึกษามุ่งเน้นความสำคัญทั้งด้านความรู้ ทักษะกระบวนการ ควบคู่กับคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยม เพื่อการพัฒนาความคิดของมนุษย์ ทำให้มนุษย์มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ คิดอย่างมีเหตุผลเป็นระบบระเบียบ มีแบบแผน มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ปัญหา คาดการณ์ วางแผน ตัดสินใจและแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้องเหมาะสม สามารถพัฒนาตนเองให้สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา และอารมณ์ สามารถนำความรู้ไปพัฒนาคุณภาพชีวิต และอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

จากรายงานผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O - Net) ปีการศึกษา 2553 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ของสำนักคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2553, หน้า 4/9) ซึ่งสรุปได้ ว่าคะแนนการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6  โรงเรียนบ้านตากประถมวิทยา มีคะแนนเฉลี่ยระดับประเทศในภาพรวมสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ร้อยละ  34.85  ระดับโรงเรียนร้อยละ  37.54  ซึ่งสูงกว่าระดับประเทศแต่เมื่อพิจารณาเป็นรายมาตรฐานการเรียนรู้พบว่า  มาตรฐาน ค 1.4 เกี่ยวกับเรื่องทศนิยม  มีคะแนนเฉลี่ยค่อนข้างต่ำ คือคะแนนเฉลี่ยระดับประเทศ ร้อยละ  10.73  ระดับโรงเรียนร้อยละ  5.50  ต่ำกว่าระดับประเทศคิดเป็นร้อยละ  5.23 

การเลือกใช้สื่อ นวัตกรรม และวิธีการสอน อาจเป็นองค์ประกอบสำคัญประการหนึ่ง   ที่ทำให้การจัดการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพ มีผลสัมฤทธิ์ที่ดีขึ้น ได้ และจากการศึกษาคั้นคว้าพบว่าชุดกิจกรรมน่าจะเป็นนวัตกรรมที่จะช่วยแก้ปัญหาด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้เพราะชุดกิจกรรมมีลักษณะสำคัญที่สามารถเร้าความสนใจของผู้เรียน เพราะชุดกิจกรรมจะเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนด้วยตนเอง เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็น ฝึกการตัดสินใจ แสวงหาความรู้ด้วยเอง และมีวามรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม  อีกทั้งยังมีระบบที่ผู้สอนสามารรถนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ (ชัยยงค์  พรหมวงศ์, 2535, หน้า 21)  นอกจากนี้การเรียนแบบร่วมมือ โดยใช้ เทคนิค STAD ยังเป็นเทคนิควิธีการสอนวิธีหนึ่งที่น่าสนใจมีความเหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพปัญหาในปัจจุบัน เพราะเป็นการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยแบ่งผู้เรียนเป็นกลุ่มย่อย นักเรียนจะต้องทำงานร่วมกันช่วยเหลือซึ่งกัน  Slavin (อ้างอิงใน ชัยวัฒน์  สุทธิรัตน์, 2553, หน้า 198)   ได้กล่าวถึงวิธีสอนแบบร่วมมือด้วยเทคนิค  STAD เป็นเทคนิคหนึ่ง ที่มุ่งเน้นทักษะการคิด  การเรียนที่เป็นระบบ  เป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับการเรียนเป็นกลุ่ม และเป็นวิธีการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียน  ซึ่งเป็นการเรียนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ใช้ความคิดร่วมกัน  แลกเปลี่ยนประสบการณ์ความคิด  เหตุผลซึ่งกันและกัน  ได้เรียนรู้สภาพอารมณ์  ความรู้สึกนึกคิดของคนในกลุ่ม  เพื่อเป็นแนวคิดไปใช้ให้เป็นประโยชน์ในชีวิตประจำวัน  ตามความเหมาะสมของแต่ละบุคคล  ตลอดจนเพื่อจะเรียนรู้และรับผิดชอบงานของผู้อื่นเสมือนงานของตน  โดยมุ่งเน้นผลประโยชน์และความสำเร็จของกลุ่ม  ทั้งนี้ ยังมีวิธี สอนอีกวิธีหนึ่งที่สอนโดยใช้เกมคณิตศาสตร์ ซึ่ง ชัยวัฒน์  สุทธิรัตน์ (2553, หน้า 417)  ได้กล่าวถึงวิธีการสอนโดยใช้เกมเป็นวิธีการวิธีหนึ่ง ที่สามารถนำมาใช้ในการสอนได้ดี ส่งเสริมให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพ  และยังช่วยให้ผู้เรียน  เรียนอย่างมีความสุข  โดยผู้สอนได้จัดทำเกมคณิตศาสตร์ขึ้นเพื่อให้ผู้เรียนเล่นด้วยตนเองภายใต้ข้อตกลงหรือกติกาที่กำหนดขึ้น  ผู้เรียนจะต้องตัดสินใจทำอย่างใดอย่างหนึ่ง  ในอันที่จะให้มีผลออกมาในการรู้แพ้ ชนะ  ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนได้วิเคราะห์ความรู้สึกนึกคิดและพฤติกรรมต่าง ๆ ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจและยังช่วยให้ผู้เรียน เกิดการสนุกสนานในการเรียน นอกจากนี้ ทิศนา  แขมมณี (2553, หน้า  365 )   วิธีสอนโดยใช้เกมเป็นวิธีการที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เรื่องราวต่าง ๆ อย่างสนุกสนานและท้าทายความสามารถ โดยผู้เรียนเป็นผู้เล่นเองทำให้ได้รับประสบการณ์ตรง เป็นวิธีการที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมสูง

จาก ที่กล่าวมาข้างต้น ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD สอดแทรกด้วยเกมคณิตศาสตร์ เรื่องการบวก การลบ  การคูณทศนิยม  กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เพื่อเป็นการ หาแนวทางพัฒนาให้ผ้เรียน สนใจในการเรียน และนำไปสู่ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รวมถึงมีความพึงพอใจในการเรียนมากยิ่งขึ้น



จุดมุ่งหมายของการวิจัย

1. เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD  สอดแทรกด้วยเกมคณิตศาสตร์  เรื่องการบวก  การลบ การคูณทศนิยม  กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  ตามเกณฑ์ 75/75

            2. เพื่อใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค  STAD สอดแทรกด้วยเกมคณิตศาสตร์ เรื่องการบวก การลบ การคูณทศนิยม  กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6  โดยเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียน

            3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้ ชุดกิจกรรม

การเรียนเรียนรู้  แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค  STAD สอดแทรกด้วยเกมคณิตศาสตร์ เรื่อง  การบวกการลบ  การคูณทศนิยม  กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

วิธีดำเนินการวิจัย


                ในการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค  STAD  สอดแทรกด้วยเกมคณิตศาสตร์  เรื่องการบวก  การลบ การคูณทศนิยม   กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในครั้งนี้เป็นลักษณะการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยแบ่งออกเป็น 3 ตอนดังนี้

ขั้นตอนที่ 1  การสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค  STAD  สอดแทรกด้วยเกมคณิตศาสตร์  เรื่องการบวก  การลบ การคูณทศนิยม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  ตามเกณฑ์ 75/75 

ในการสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค  STAD  สอดแทรกด้วยเกมคณิตศาสตร์  เรื่องการบวก  การลบ การคูณทศนิยม  กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  ผู้วิจัยได้ศึกษาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551  กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ คู่มือครู หนังสือและเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ และนำชุดกิจกรรม ที่สร้างขึ้นไปให้อาจารย์ที่ปรึกษาพิจารณาและให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุง แก้ไข จากนั้นนำเสนอผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน เพื่อตรวจสอบความเหมาะสมขององค์ประกอบของชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค  STAD  สอดแทรกด้วยเกมคณิตศาสตร์ ซึ่งประกอบด้วย คู่มือการใช้ชุดกิจกรรมสำหรับครู และคู่มือการใช้ชุดกิจกรรมสำหรับนักเรียน  จากนั้นได้ปรับปรุงชุดกิจกรรมตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ แล้วจึงนำชุดกิจกรรมไปทดลองใช้กับนักเรียนที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2554 โรงเรียนอนุบาลตาก  อำเภอเมือง  จังหวัดตาก  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 1  โดยการทดลอง 3 ครั้งดังนี้

1.      การทดลองแบบเดี่ยว กับนักเรียนจำนวน 3 คน เพื่อนำข้อมูลไปปรับปรุงแก้ไข

2.      การทดลองแบบกลุ่ม นำชุดกิจกรรมากถมศึกษา อำเภอเมือง  จังหวัดตากที่ปรับปรุงแก้ไขแล้วไปทดลองหาประสิทธิภาพกับ

จำนวน 9 คน ทำการทดลองสอนเก็บคะแนนจากการทำแบบทดสอบย่อยระหว่างการใช้ชุดกิจกรรม และเมื่อนักเรียนเรียนจบแต่ละชุดแล้ว  ผู้วิจัยได้ประเมินหลังเรียนโดยการทดสอบท้ายชุดกิจกรรมเพื่อหาประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75

3.       การทดลองภาคสนาม  นำชุดกิจกรรมที่ปรับปรุงแก้ไขแล้วไปทดลองหาประสิทธิภาพกับนักเรียน

 จำนวน 1 ห้องเรียน  32 คน ทำการทดลองสอน  เก็บคะแนนจากการทำแบบฝึกหัด ท้ายเล่มของนักเรียนในแต่ละเรื่อง และเมื่อเรียนจบทุกเรื่องแล้วประเมินหลังเรียนโดยใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพื่อหาประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75  ในการหาประสิทธิภาพ

  ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค  STAD  สอดแทรกด้วยเกมคณิตศาสตร์  เรื่องการบวก  การลบ การคูณทศนิยม    กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียน

การใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค  STAD สอดแทรกด้วยเกมคณิตศาสตร์  เรื่องการบวก  การลบ การคูณทศนิยม  ไปใช้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 โรงเรียนบ้านตากประถมวิทยา อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 1 จำนวน 36 คน ทำการทดสอบก่อนเรียน  ดำเนินการสอนควบคู่กับคู่มือครูสำหรับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้  โดยมีแผนการจัดการเรียนรู้  จำนวน 12  ชั่วโมง  และเมื่อเรียนจบทุกเรื่องแล้วประเมินหลังเรียน  โดยใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (ชุดเดียวกันกับก่อนเรียน) ซึ่งเป็นข้อสอบแบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ  คะแนนเต็ม 20 คะแนน

            ขั้นตอนที่ 3  ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค  STAD  สอดแทรกด้วยเกมคณิตศาสตร์  เรื่องการบวก การลบ การคูณทศนิยม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

การศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  ที่มีต่อการเรียนโดยใช้ ชุดกิจกรรมการ หลังเสร็จสิ้นการใช้ชุดกิจกรรมแล้ว   ผู้วิจัยได้แจกแบบสอบถามความพึงพอใจให้กับนักเรียนกลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถาม  แล้วนำมาตรวจความสมบรูณ์เพื่อนำไปวิเคราะห์ข้อมูล



เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล

          เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้  แบ่งเป็น

        1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค  STAD สอดแทรกด้วยเกมคณิตศาสตร์  เรื่องการบวก  การลบ  การคูณทศนิยม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6   ซึ่งมีประสิทธิภาพเท่ากับ 77.06 / 76.31

                        2. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก การลบ  คูณทศนิยม แบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ

      3.แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD และสอดแทรกด้วยเกมคณิตศาสตร์ เรื่องการบวก การลบ การคูณทศนิยม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

การวิเคราะห์ข้อมูล

ขั้นตอนที่ 1 การสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค  STAD  สอดแทรกด้วยเกมคณิตศาสตร์  เรื่องการบวก  การลบ การคูณทศนิยม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  ตามเกณฑ์ 75/75   วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาความเหมาะสมของชุดกิจกรรม โดยหาค่าเฉลี่ย  และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน หาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมโดยหาค่า E1 / E2

ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค  STAD  สอดแทรกด้วยเกมคณิตศาสตร์  เรื่องการบวก  การลบ การคูณทศนิยม    กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน หาความแตกต่างของค่าเฉลี่ยด้วยการทดสอบที (t – test dependent)

ขั้นตอนที่ 3  ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค  STAD  สอดแทรกด้วยเกมคณิตศาสตร์  เรื่องการบวก การลบ การคูณทศนิยม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหา ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน นำค่าเฉลี่ยที่ได้ไปเปรียบเทียบ กับเกณฑ์และแปลผล

สรุปผลการวิจัย

1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค  STAD  สอดแทรกด้วยเกมคณิตศาสตร์  เรื่องการบวก  การลบ  การคูณทศนิยม   กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  มีความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด และ มีประสิทธิภาพเท่ากับ 77.06 / 76.31

            2. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

            3. นักเรียนมีความพึงพอใจในการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค  STAD  สอดแทรกด้วยเกมคณิตศาสตร์  เรื่องการบวก  การลบ การคูณทศนิยม   กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในระดับมากที่สุด



อภิปรายผล

จากผลการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค  STAD  สอดแทรกด้วยเกมคณิตศาสตร์  เรื่องการบวก  การลบ การคูณทศนิยม   กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ผู้วิจัยได้นำประเด็นสำคัญที่ค้นพบมาอภิปรายโดยแบ่งออกเป็น 3 ตอน  ตามจุดมุ่งหมายของการวิจัยได้ดังนี้

1. การสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค  STAD สอดแทรก ด้วยเกมคณิตศาสตร์  เรื่องการบวก  การลบ การคูณทศนิยม   พบว่าองค์ประกอบของชุดกิจกรรม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.63 และมีประสิทธิภาพเท่ากับ 77.06 / 76.31 นั่นคือ ชุดกิจกรรมมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดคือ 75 / 75 ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากกระบวนการสร้างชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ที่ผู้วิจัยได้ดำเนิน การสร้างตามขั้นตอนการสร้างชุดกิจกรรมของ ชัยยงค์  พรหมวงศ์ (2545,หน้า 123) เพื่อใช้ในการสร้างชุดกิจกรรม  มีองค์ประกอบของการสร้าง ชุดกิจกรรม ตามรูปแบบของ ทิศนา  แขมมณี (2534, หน้า 10-12) และชุดกิจกรรมนั้นจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิค STAD ซึ่งเป็นเทคนิคที่กระตุ้นให้สมาชิกทุกคนในกลุ่ม ต้องช่วยเหลือกันเพื่อความสำเร็จของกลุ่ม ซึ่งสอดคล้องกับ Slavin (1995, p. 4) ได้กล่าวถึงโอกาสความสำเร็จที่เท่าเทียมกันจะทำให้สมาชิกทุกคนในกลุ่มมีโอกาสที่จะทำได้ดีที่สุด และประสบความสำเร็จ อย่างเท่าเทียมกัน เพราะฉะนั้น การมีประสบการณ์ทำงานร่วมกันมา จะช่วยพัฒนาสมาชิกให้มีความก้าวหน้า ทางการเรียนรู้ และสอดคล้องกับงานวิจัยของ  สวัสดิ์ เอมสมบูรณ์ (2553, บทคัดย่อ) ทำการวิจัย ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การหารทศนิยม ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และพบว่า ประสิทธิภาพของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์เรื่อง การหารทศนิยม ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ คือ 85.15/84.50  ้ยัง้นให้สมาชิกทุกคนในกลุ่ม ต้องช่วยเหลือกันเพื่อความสำเร็จของกลุ่ม ซึ่งสอดคล้องกับอีกทั้งในชุดกิจกรรมการเรียนรู้ยังสอดแทรกด้วยเกมคณิตศาสตร์ ซึ่งทำให้นักเรียนได้เรียนรู้ และฝึกปฏิบัติจริง  สนุกสนานกับการเรียน ดังที่ ทิศนา   แขมมณี (2553, หน้า 368)  ได้กล่าวถึงประโยชน์ของเกมไว้ดังนี้ เป็นวิธีสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้สูง  ผู้เรียนได้รับความสนุกสนาน  และเกิดการเรียนรู้จากการเล่น เป็นวิธีสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้  โดยการเห็นประจักษ์แจ้งด้วยตนเอง

2. ผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิค  STAD  สอดแทรกด้วยเกมคณิตศาสตร์ 

เรื่องการบวก  การลบ การคูณทศนิยม  กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่านักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค  STAD  สอดแทรกด้วยเกมคณิตศาสตร์  เรื่องการบวก  การลบ การคูณทศนิยมที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า การเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค  STAD สอดแทรกด้วยเกมคณิตศาสตร์ เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ให้ผู้เรียนรู้จักการทำงานเป็นกลุ่ม โดยคละความสามารถ เน้นการมีส่วนร่วมของสมาชิก ยอมรับความคิดเห็นซึ่งกันและกัน มีการช่วยเหลือกันในการเรียนรู้ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายเดียวกัน นักเรียนมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกันภายในกลุ่ม ทั้งนี้ครูจะเป็นผู้สังเกตการณ์ คอยช่วยเหลือให้กำลังใจหรือช่วยแก้ปัญหา และสมาชิกในกลุ่มต้องรับผิดชอบต่อการเรียนของตน และของเพื่อนสมาชิกในกลุ่ม เพราะความสำเร็จของแต่ละบุคคล คือ ความสำเร็จของกลุ่มซึ่งจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนที่ดีขึ้นได้ ดังที่ สุวิทย์ มูลคำ และอรทัย มูลคำ (2545, หน้า 134) กล่าวว่า กระบวนการเรียนรู้ที่จัดให้ผู้เรียนได้ร่วมมือและช่วยเหลือกันในการเรียนรู้ โดยแบ่งกลุ่มผู้เรียน ที่มีความสามารถต่างกันออกเป็นกลุ่มเล็กๆ ซึ่งเป็นลักษณะการรวมกลุ่มที่มีโครงสร้างชัดเจน มีการทำงานร่วมกัน มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น มีการช่วยเหลือพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน มีความรับผิดชอบร่วมกันทั้งในส่วนตนและส่วนรวม เพื่อให้ตนเองและสมาชิกทุกคนในกลุ่มประสบความสำเร็จ  ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้   ซึ่งเป็นไปในทศทางเดียว  กับงานวิจัยของ  วนิดา  อารมณ์เพียร ( 2552 ) ทำการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การหารทศนิยม และพฤติกรรมการทำงานกลุ่มของ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค STAD และ TGT และพบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการหารทศนิยม   ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค STAD และ TGT สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 

3. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้  ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิค STAD  สอดแทรกด้วยเกมคณิตศาสตร์ เรื่องการบวก  การลบ  การคูณทศนิยม อยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะชุดกิจกรรมที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเป็นชุดกิจกรรมที่มีสื่อที่หลากหลาย มีเกมที่เร้าความสนใจ  มีเนื้อหาที่เข้าใจง่าย และมีกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นกิจกรรมกลุ่ม โดยนักเรียนช่วยกันเรียนรู้เพื่อความสำเร็จของกลุ่ม ซึ่งสอดคล้องกับสวัสดิ์ เอมสมบูรณ์ (2553, บทคัดย่อ) ทำการวิจัย ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์เรื่อง การหารทศนิยม ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และพบว่านักเรียนมีความพึงพอใจ ในการจัดการเรียนรู้ ด้วยกลุ่มร่วมมือ STAD ในระดับมาก



ข้อเสนอแนะ

          1. ข้อเสนอในการนำไปใช้

                   1.1 ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิค STAD  สอดแทรกด้วยเกมคณิตศาสตร์นี้สามารถให้นักเรียน ได้เรียนรู้ในช่วงเวลาพักกลางวัน ช่วงเวลาว่าง หรือนำกลับไปศึกษาต่อที่บ้านได้  เพื่อเป็นการทบทวนบทเรียน  จะช่วยให้นักเรียนเข้าใจสิ่งที่เรียนได้ชัดเจน  มีความรู้ในเนื้อหาวิชาเพิ่มมากขึ้น  

                  1.2  เกมที่ใช้ประกอบการจัดการเรียนการสอน ควรเป็นเกมที่สามารถเล่นได้ง่าย  ใช้เวลาเล่นไม่มาก และมีความน่าสนใจ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการเรียน

          2. ข้อเสนอแนะเพื่อการทำวิจัยครั้งต่อไป 

          2.1 ควรมีการวิจัย และพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค  STAD สอดแทรก ด้วยเกมคณิตศาสตร์  กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  ในเรื่อง การบวก การลบ การคูณทศนิยม

       2.2 ควรมีการวิจัย และพัฒนาการจัดการเรียนการสอนโดยใช้การเรียนแบบร่วมมือเทคนิคอื่น ๆ เช่น จิกซอว์ (Jigsaw), กลุ่มร่วมมือ (Co-op Co-op) ร่วมกับเกมคณิตศาสตร์ ในการเรียน เรื่องการหารทศนิยม กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

         




บรรณานุกรม



ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2535). เอกสารการสอนชุดวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา เล่มที่

          1,2. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2545). เอกสารการสอนชุดวิชาสื่อการสอนระดับประถมศึกษา หน่วยที่       8-15. (พิมพ์ครั้งที่ 20). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ชัยวัฒน์  สุทธิรัตน์. (2553). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ.พิมพ์ครั้ง

            ที่ 3. กรุงเทพฯ : แดแน็กซ์ อินเตอร์คอปอเรชั่น.

ทิศนา แขมมณี. (2534). ระบบการออกแบบการเรียนการสอน.เอกสารประกอบการ.

            คณะครุศาสตร์ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิศนา  แขมมณี. (2553). ศาสตร์การสอน:องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ : ด่านสุทธาการพิมพ์.

วนิดา  อารมณ์เพียร. (2552). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ความ

คงทนในการเรียนรู้ เรื่อง การหารทศนิยม และพฤติกรรมการทำงานกลุ่มของ

นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค STAD และ

เทคนิค TGT.วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน, บัณฑิต

วิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

สวัสดิ์  เอมสมบูรณ์. (2553). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์เรื่อง การหารทศนิยม

          ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. รายงานการค้นคว้าอิสระ การศึกษา มหา  บัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สุวิทย์  มูลคำ และอรทัย มูลคำ. (2545). 20 วิธีจัดการเรียนรู้. กรุงเทพ ฯ :ภาพพิมพ์.

Slavin, Robert E. (1995). Cooperative Leaming : Theory,Research , and Practice.

            Englewood Cliffs, New Jersey : Prentice-Hall.




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น