วันศุกร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

จิรภัทร์ สังสีแก้ว:การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการจัดประสบการณ์เรียนรู้ของเด็กปฐมวัย สำหรับผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด็กองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอห้วยคต จังหวัดอุทัยธานี


                                                                                                                                                                                                                           บทความวิจัย การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม เพื่อเสริมสร้าง
                                                                                                                                                                                                                           ความสามารถในการจัดประสบการณ์เรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
                                                                                                                                                                                                                         สำหรับผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด็กองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
                                                                                                                                                                                         อำเภอห้วยคต      จังหวัดอุทัยธานี
จิรภัทร์    สังสีแก้ว1อังคณา  อ่อนธานี2
การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการจัดประสบการณ์เรียนรู้ของเด็กปฐมวัย สำหรับผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด็กองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอห้วยคต      จังหวัดอุทัยธานี
A  DEVELOPMENT OF TRAINING CURRICULUM TO ENHANCE  ABILITY  IN ORGANIZING  LEARNING EXPERIENCE BASED FOR CHILD CAREGIVERS LOCAL GOVERNMENTS , HUAI KHOT  UTHAI THANI.




บทคัดย่อ
          การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1)เพื่อศึกษาความต้องการการพัฒนาตนเองของผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด็ก    ในการจัดประสบการณ์เรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอห้วยคต  จังหวัดอุทัยธานี    2) เพื่อสร้างและหาคุณภาพของหลักสูตรฝึกอบรม 3)เพื่อทดลองใช้และศึกษาผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรม     เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการจัดประสบการณ์เรียนรู้ของเด็กปฐมวัย สำหรับผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด็กองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอห้วยคต  จังหวัดอุทัยธานี 4)เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด็กที่มีต่อหลักสูตรอบรม




โดยดำเนินการศึกษาตามกระบวนการของงานวิจัยและพัฒนามี ขั้นตอน คือ  ขั้นตอนที่ ศึกษาความต้องการการพัฒนาตนเองของผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด็กในการจัดประสบการณ์เรียนรู้ของเด็กปฐมวัย โดยนำข้อมูลความต้องการพัฒนาตนเองจากแบบสอบถามผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด็กมาเป็นข้อมูลในการสร้างหลักสูตรฝึกอบรม ขั้นตอนที่ 2 การสร้างและหาคุณภาพของหลักสูตรฝึกอบรม โดยนำข้อมูลความต้องการพัฒนาตนเองจากแบบสอบถามผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด็กและผู้ทรงคุณวุฒิมาเป็นข้อมูลในการสร้างหลักสูตรฝึกอบรม โดยการให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความเหมาะสมและความสอดคล้องโครงสร้างหลักสูตรฝึกอบรม และเอกสารประกอบการใช้หลักสูตรและนำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ละส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน S.Dขั้นตอนที่ การใช้และศึกษาผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรม แหล่งข้อมูล ผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด็กองค์ปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอห้วยคต จัง
หวัดอุทัยธานี ปีการศึกษา 2554 จำนวน 14 คน เครื่องมือ ได้แก่ แบบทดสอบวัดความรู้ ความเข้าใจทางการอบรม แบบประเมินการจัดทำแผนประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยและแบบสังเกตพฤติกรรมของผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด็กระหว่างการอบรม   ที่ผู้ศึกษาค้นคว้า
สร้างขึ้น สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ
ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 4 การศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อหลักสูตรฝึกอบรม เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบประเมินความพึงพอใจของผู้เข้ารับการฝึกอบรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน



  คำสำคัญ   หลักสูตรฝึกอบรม , ความสามารถในการจัดประสบการณ์เรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
    ,ผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด็ก
    

ผลการศึกษาค้นคว้า
1. ผลการศึกษาข้อมูลความต้องการการพัฒนาตนเองในการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย
ของผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด็กจากการวิเคราะห์พบว่า ความต้องการพัฒนาตนเองของผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด็ก มีดังนี้  
1. วิธีการจัดกิจกรรมสำหรับเด็กในศูนย์เด็กเล็ก 2.  การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ 3. การพัฒนาหลักสูตรศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 4. วิธีการเขียนแผนงาน/โครงการเพื่อพัฒนาศูนย์เด็ก ตามลำดับ
2. หลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการจัดประสบการณ์เรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
สำหรับผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด็กองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอห้วยคต  จังหวัดอุทัยธานี ประกอบด้วย หลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์ โครงสร้างหลักสูตร แนวทางการจัดกิจกรรมฝึกอบรม สื่อการฝึกอบรม การวัดและประเมินผล เกณฑ์การผ่านหลักสูตร หลักสูตรฝึกอบรมประกอบด้วย คู่มือสำหรับผู้ให้การฝึกอบรม คู่มือสำหรับผู้เข้ารับการฝึกอบรม ผลการประเมินคุณภาพหลักสูตรโดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
             3. ผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการจัดประสบการณ์เรียนรู้ของเด็กปฐมวัยสำหรับผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด็กองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอห้วยคต  จังหวัดอุทัยธานี พบว่า ความรู้ความเข้าใจทางการอบรมหลังการการอบรมสูงกว่าก่อนอบรมร้อยละ 9.52 ความสามารถในการจัดทำแผนประสบการณ์เรียนรู้เด็กปฐมวัยของผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด็กและพฤติกรรมของผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด็กระหว่างการอบรมโดยรวมอยู่ในระดับมาก
4. ความพึงพอใจที่มีต่อหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการจัดประสบการณ์เรียนรู้ของเด็กปฐมวัย สำหรับผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด็กองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอห้วยคต  จังหวัดอุทัยธานี โดยรวมอยู่ในระดับมาก

ABSTRACT
               The purposes of this study. Were  : 1) To Study the requirement of teacher superintendent child assistant in ability development in experience arrangement learns for a child primes the organization governs local,  Huai Khot , Uthai Thani.    2) To  create  and  find  quality of the course trains. A  development of trains curriculum to enhance ability  In organizing  learning  experience based for child caregivers Local governments , Huai Khot  , Uthai Thani 3) to try out and study the results of using the training course to A  development of  trains curriculum to enhance ability In organizing  learning  experience based for child caregivers Local governments , Huai Khot  ,   Uthai Thani .    4) to study the students satisfaction towards the training course to A  development of trains curriculum to  enhance ability  In organizing  learning  experience based for child caregivers Local governments ,  Huai Khot  , Uthai Thani
Porcedures

By manage study follow the procedure of the research and develop to have
 4  step , Step 1 Studies the requirement of teacher superintendent child assistant in oneself development , by lead requirement data develops oneself from assistant teacher superintendent child questionnaire comes to are the data in building course trains .  Step 2 Creating and studying the quality of the training course to by lead requirement data develops oneself from assistant teacher superintendent child questionnaire and the knowledgeable people come to are the data in building course train , by expert alms checks the suitability and structure course accordance train , and  a document engages in business to use the course and bring to analyse the data by finding value accordance index . Step 3 . Using the training  course to A  development of trains curriculum to enhance ability  In organizing  learning  experience based for child caregivers Local governments , Huai Khot  , Uthai Thani .The instrument were the evaluation of Knowledge and understanding, Arrangement does experience learning plan for a child primes and to Observe the behaviour of teacher superintendent child assistant between the training .  The data were analyzed by mean and standard deviation.  Step 4 Study the student satisfaction toward the training course to  A  development of trains curriculum to enhance ability  In organizing  learning  experience based for child caregivers Local governments, Huai Khot  , Uthai Thani. the instrument was questionnaire of the students satisfaction. The data were analyzed by mean and standard deviation.
Research finding showed that
:     1. Data requirement education develops the ability in experience arrangementfor a child primes of teacher superintendent child assistant from the analysis meets that ,     the requirement develops one self of teacher superintendent child assistant . Activity arrangement for Based on standards of childhood development center. Learning process development . course development Based on standards of childhood development center. Writes the framework  ,  the project for Based on standards of childhood development center.
2.The training course to A  development of trains curriculum to enhance ability 
In organizing  learning  experience based for child caregivers Local governments , Huai Khot  ,  Uthai Thani consisting of the principle and the reason ,objective, course structure, arrangement of an activity, evaluation and measurement, e.g. a handbook for a trainer and a handbook for a trainee to assess the quality  of the training course were appropriate at high level.
3.The research using course The research using course to A  development of
trains curriculum to enhance ability  In organizing  learning  experience based for child caregivers Local governments , Huai Khot  , Uthai Thani . That training back doer understanding round smoke tall before more train 9. 52 percentages . Arrangement assessment does very experience conspiracy learns for a child primes and behaviors assistant teacher superintendent child assessment between the training by the overall image are in many level.
4.Child Caregivers have highly satisfied learning by using A  development of
trains curriculum to enhance ability  In organizing  learning  experience based for child caregivers Local governments ,Huai Khot  , Uthai Thani all of the whole and the overall image are in many level.

              บทนำ
การที่จะให้เด็กปฐมวัยมีการพัฒนาการเรียนรู้เพื่อเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ เป็นมนุษย์
ที่สมบูรณ์ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ความรู้คู่คุณธรรม มีจริยธรรม   ในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ตามจุดประสงค์หลักที่กำหนดไว้ในแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.. 2545 – 2559 นั้น ครูปฐมวัยหรือผู้ดูแลเด็กมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการวางรากฐานให้เด็กเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์เพื่อให้การจัดการศึกษาปฐมวัยที่จะต้องพัฒนาเด็กตั้งแต่แรกเกิดถึง  5 ขวบ ให้มีการพัฒนาทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ที่เหมาะสมกับวัย ความสามารถแตกต่างระหว่างบุคคล เป็นการเตรียมความพร้อมที่จะเรียนรู้ และสร้างรากฐานให้พัฒนาไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญพุทธศักราช 2540 และตามกฎกระทรวงฯว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.. 2534 มาตรา 40 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.. 2545 และมาตรา 74 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.. 2545
กระทรวงศึกษาธิการจึงให้ใช้หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 แทนหลักสูตรก่อนประถมศึกษา พุทธศักราช 2540 เพื่อให้สถานศึกษา หรือสถานศึกษาพัฒนาเด็กปฐมวัยทุกสังกัดนำหลักสูตรฉบับนี้ไปใช้โดยปรับปรุงให้เหมาะกับเด็กและสภาพท้องถิ่น(คำสั่งกระทรวงศึกษาธิการ ที่ วก 353/2546 ) การจัดการเรียนการสอนในระดับการศึกษาปฐมวัยจะใช้คำว่า การจัดประสบการณ์ หรือการจัดกิจกรรมแทนคำว่าการเรียนการสอน เนื่องจากเด็กจะเรียนรู้ได้ดีจากประสบการณ์ตรงหรือการลงมือปฏิบัติกิจกรรมการจัดประสบการณ์ สำหรับเด็กปฐมวัยเพื่อส่งเสริมการพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็กในการจัดสภาพแวดล้อม ประสบการณ์และกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการ การเรียนรู้ของเด็ก ครูต้องเปลี่ยนบทบาทจากผู้บอกความรู้หรือสั่งให้เด็กทำ   มาเป็นผู้อำนวยความสะดวก เป็นผู้สนับสนุน ชี้แนะและเรียนรู้ร่วมกับเด็ก ส่วนเด็กจะเป็นผู้ลงมือกระทำและค้นพบด้วยตนเอง ครูผู้สอนจะต้องยอมรับและเห็นคุณค่า รู้จักและเข้าใจเด็กแต่ละคน  ที่ตนดูแลรับผิดชอบก่อน จะได้วางแผนสภาพแวดล้อมและจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กได้อย่างเหมาะสม และครูต้องรู้จักพัฒนาตนเอง ปรับปรุง ใช้เทคนิคการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ให้เด็กได้อย่างเหมาะสม การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย 3-5 ปีจะไม่จัดเป็นรายวิชา แต่จัดในรูปของกิจกรรมบูรณาการผ่านการเล่น เพื่อให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง เกิดการเรียนรู้ได้พัฒนาทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา กิจกรรมที่จัดให้เด็กในแต่ละวัน อาจใช้ชื่อเรียกกิจกรรมแตกต่างกันไปในในแต่ละหน่วยงาน แต่ทั้งนี้ประสบการณ์ที่จะต้องจัดจะต้องครอบคลุมประสบการณสำคัญ ที่กำหนดในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย และควรยึดหยุ่นให้มีสาระการเรียนรู้ที่เด็กสนใจและสาระการเรียนรู้ที่ผู้สอนกำหนด (คณะมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต,2551หน้า49)
              องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในฐานะหน่วยงานซึ่งมีภารกิจหน้าที่รับผิดชอบด้านการพัฒนาเด็ก    ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญและกฎหมายว่าด้วยแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจไม่ว่าจะเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบใดก็ตาม ทั้งองค์การบริหารส่วนตำบล  เทศบาล หรือเมืองพัทยา ล้วนแต่มีบทบาทที่สำคัญในการบริหารจัดการเกี่ยวกับศูนย์พัฒนา      เด็กเล็กทั้งสิ้น ปัจจุบันองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้จัดตั้ง และดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก พร้อมทั้งรับถ่ายโอนศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ซึ่งเดิมอยู่ในความดูแลรับผิดชอบของส่วนราชการต่าง ๆ  โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่รับผิดชอบในการส่งเสริมและพัฒนาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในทุก ๆ ด้าน เพื่อให้เด็กได้รับการพัฒนาอย่างเต็มตามศักยภาพ และได้มาตรฐาน   ซึ่งประกอบด้วย หัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ครูผู้ดูแลเด็ก และผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด็ก ซึ่งมีหน้าที่และคุณวุฒิต่างกัน หัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าทางปริญญาตรีทางการศึกษาสาขาวิชาเอกอนุบาลหรือปฐมวัยมีใบประกอบวิชาชีพมีหน้าที่รับผิดชอบดูแลบุคลากรในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก รวมถึงวางแผนพัฒนาการศึกษา จัดทำและพัฒนาหลักสูตรการจัดกระบวนการเรียนรู้การพัฒนาสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยี และการวัดผลประเมินผล รวมทั้งจัดทำโครงการ และงบประมาณดำเนินงานในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กให้เป็นไปตามกฎหมายระเบียบข้อบังคับนโยบาย แผนงาน และวัตถุประสงค์ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก นิเทศ ส่งเสริมสนับสนุน การจัดประสบการณ์เรียนรู้ของครูผู้ดูแลเด็กและผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด็ก เป็นผู้แทนของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในกิจการทั่วไป ประสานความร่วมมือกับชุมชนในการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษาและพัฒนาศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก    ครูผู้ดูแลเด็ก มีคุณวุฒิไม่ตำกว่าปริญญาตรีทางการศึกษา ทุกสาขาวิชาเอก มีใบประกอบวิชาชีพ มีหน้าที่ เกี่ยวการปฏิบัติทางวิชาการของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก  จัดประสบการณ์การเรียนรู้ การส่งเสริมการเรียนรู้อบรมสั่งสอนและจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนด้วยวิธีที่หลากหลาย โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ จัดทำแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามหลักสูตรกำหนด จัดทำเครื่องมือวัดผลและประเมินผล ทำวิจัยในชั้นเรียน มีการประเมินพัฒนาการผู้เรียน จัดระบบธุรการในชั้นเรียน รวบรวมผลงานรายงานผลการปฏิบัติตามลำดับ ผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด็ก มีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่า มัธยมศึกษาตอนต้น มีหน้าที่สนับสนุนช่วยเหลือการปฏิบัติงานร่วมกับครูผู้ดูแลเด็ก ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
            องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอห้วยคต จังหวัดอุทัยธานี  ในฐานะที่เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาและตอบสนองความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น   อีกทั้งมีอำนาจหน้าที่ในการจัดการศึกษา ส่งเสริมการศึกษาและพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กและผู้ด้อยโอกาส ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และกฎหมายจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีบทบาทที่สำคัญในการบริหารจัดการเกี่ยวกับศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ปัจจุบันมีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่มีความรับผิดชอบ จำนวน 12 ศูนย์  โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอห้วยคต มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดการศึกษา การส่งเสริมและพัฒนาศูนย์เด็กเล็กในทุก ๆ  ด้านเพื่อให้เด็กได้รับการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ ซึ่งในสภาพปัจจุบัน มีผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด็กจำนวน   19 คน  ซึ่งจบวุฒิปริญญาตรีสาขาปฐมวัยจำนวน 10 คนจบปริญญาตรีสาขาอื่น ๆ  จำนวน 5  คน และจบวุฒิต่ำกว่าปริญญาตรี. จำนวน 4 คน จากผลสำรวจโดยรวมแล้วองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอห้วยคตได้ดำเนินการจ้างผู้ดูแลเด็กในตำแหน่งผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด็กเป็นส่วนใหญ่  ซึ่งวุฒิทางการศึกษาไม่ต่ำกว่ามัธยมศึกษาตอนต้น และจบการศึกษาระดับปริญญาตรีไม่ตรง     สาขาปฐมวัย  ขาดความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ด้านจิตวิทยาการและพัฒนาการของเด็กสะท้อนให้เห็นถึงการบริหารจัดการการศึกษาที่ยังไม่เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานและขาดประสบการณ์การจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กปฐมวัย  และเทคนิคการดูแลเด็กปฐมวัยที่ยังไม่พัฒนาความคิดจึงจำเป็นอย่างยิ่ง  ต้องหาแนวทางพัฒนาการบริหารงานบุคลากรของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอห้วยคต
            ดังนั้นผู้ศึกษาค้นคว้าเห็นความสำคัญของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับเด็ก มีคุณภาพและได้มาตรฐานปฐมวัยก่อให้เกิดการพัฒนาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กต่อไปจึงมีความสนใจ  ในการพัฒนาศักยภาพของผู้ช่วยผู้ดูแลเด็กปฐมวัยในการจัดประสบการณ์เรียนรู้ของเด็ก  โดยการแก้ปัญหานี้ด้วย หลักสูตรฝึกอบรม เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการจัดประสบการณ์เรียนรู้ของเด็กปฐมวัย  สำหรับผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด็กองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอห้วยคต  จังหวัดอุทัยธานี ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้   ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาเด็กในชุมชนให้เป็นเยาวชนที่มีคุณภาพ  เป็นพลเมืองที่ดีของสังคมและประเทศชาติต่อไป
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
              1. เพื่อศึกษาความต้องการการพัฒนาตนเองของผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด็กในการจัดประสบการณ์เรียนรู้ของเด็กปฐมวัย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอห้วยคต  จังหวัดอุทัยธานี
              2. เพื่อสร้าง และหาคุณภาพของหลักสูตรฝึกอบรม เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการจัดประสบการณ์เรียนรู้ของเด็กปฐมวัย สำหรับผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด็กองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอห้วยคต  จังหวัดอุทัยธานี
           3. เพื่อทดลองใช้และศึกษาผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรม เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการจัดประสบการณ์เรียนรู้ของเด็กปฐมวัย สำหรับผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด็กองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอห้วยคต  จังหวัดอุทัยธานี
                            3.1 เพื่อศึกษาพัฒนาการคะแนนทดสอบก่อนอบรมและหลังการอบรมโดยใช้หลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการจัดประสบการณ์เรียนรู้ของเด็กปฐมวัย สำหรับผู้ช่วยครูผู้ดูแล เด็กองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอห้วยคต  จังหวัดอุทัยธานี
                            3.2 เพื่อศึกษาความสามารถจัดทำแผนการจัดประสบการณ์เรียนรู้ของผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด็ก   ด้วยหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการจัดประสบการณ์เรียนรู้    ของเด็กปฐมวัย สำหรับผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด็กองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอห้วยคต   จังหวัดอุทัยธานี
                3.3 เพื่อศึกษาพฤติกรรมของผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด็กระหว่างอบรมด้วยหลักสูตรฝึกอบรม   เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการจัดประสบการณ์เรียนรู้ของเด็กปฐมวัย สำหรับผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด็กองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอห้วยคต   จังหวัดอุทัยธานี
  4. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด็กที่มีต่อหลักสูตรอบรม เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการจัดประสบการณ์เรียนรู้ของเด็กปฐมวัย สำหรับผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด็กองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอห้วยคต   จังหวัดอุทัยธานี
            วิธีการดำเนินการวิจัย
ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาความต้องการการพัฒนาตนเองของผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด็กในการจัดประสบการณ์เรียนรู้ของเด็กปฐมวัยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอห้วยคต  จังหวัดอุทัยธานี
            ด้านแหล่งข้อมูล
            ผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอห้วยคต จังหวัดอุทัยธานีปีการศึกษา 2554 จำนวน 19 คน
            ด้านเนื้อหา
  ความต้องการการพัฒนาตนเองของผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด็กในการจัดประสบการณ์เรียนรู้ของเด็กปฐมวัยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอห้วยคต  จังหวัดอุทัยธานี
   
ด้านตัวแปร
              ความต้องการในการพัฒนาความสามารถการในจัดประสบการณ์ของผู้ช่วยครูผู้ดูแล
เด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอห้วยคต จังหวัดอุทัยธานี

ขั้นตอนที่ 2 การสร้างและการหาคุณภาพของหลักสูตรอบรมเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการจัดประสบการณ์เรียนรู้ของเด็กปฐมวัย สำหรับผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด็กองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอห้วยคต    จังหวัดอุทัยธานี  

            ด้านแหล่งข้อมูล
               ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน ดังนี้
                   1. เป็นอาจารย์สอนในสถาบันอุดมศึกษาที่มีความเชี่ยวชาญด้านหลักสูตร 1 ท่าน
                   2. เป็นครูชำนาญการพิเศษด้านการสอนปฐมวัย 2 ท่าน
                   3. เป็นครูชำนาญการพิเศษด้านวัดผลประเมิน 1 ท่าน
                   4. เป็นศึกษานิเทศก์ชำนาญการด้านปฐมวัย 1 ท่าน
   ด้านเนื้อหาของหลักสูตร
              โครงสร้างหลักสูตรอบรมเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการจัดประสบการณ์เรียนรู้ของเด็กปฐมวัย สำหรับผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด็กองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอห้วยคต    จังหวัดอุทัยธานี    โดยมีเนื้อหาฝึกอบรม ดังต่อไปนี้
                            หน่วยที่ 1     หลักสูตรปฐมวัย
                            หน่วยที่ 2     หลักสูตรบูรณาการสาระการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย
                            หน่วยที่ 3     การจัดประสบการณ์บูรณาการสำหรับเด็กปฐมวัย
                            หน่วยที่ 4     เทคนิคการเขียนแผนงาน/โครงการเพื่อพัฒนาศูนย์เด็กเล็ก
            ด้านตัวแปร
           ความเหมาะสมของหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการจัดประสบการณ์เรียนรู้ของเด็กปฐมวัย สำหรับผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด็กองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอห้วยคตจังหวัดอุทัยธานี
  ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการจัดประสบการณ์เรียนรู้ของเด็กปฐมวัย สำหรับผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด็กองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอห้วยคต    จังหวัดอุทัยธานี
  แหล่งข้อมูล
           ผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอห้วยคต จังหวัดอุทัยธานี ปีการศึกษา 2554 จำนวน 14  คน
    ด้านเนื้อหา
             โครงสร้างหลักสูตรอบรมเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการจัดประสบการณ์เรียนรู้ของเด็กปฐมวัย สำหรับผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด็กองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอห้วยคต    จังหวัดอุทัยธานี
โดยมีเนื้อหาฝึกอบรม ดังต่อไปนี้             
                            หน่วยที่หลักสูตรปฐมวัย
                            หน่วยที่ หลักสูตรบูรณาการสาระการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย
                            หน่วยที่ 3  การจัดประสบการณ์บูรณาการสำหรับเด็กปฐมวัย
                            หน่วยที่ 4 เทคนิคการเขียนแผนงาน/โครงการเพื่อพัฒนาศูนย์เด็กเล็ก
     ด้านตัวแปร
              ตัวแปรต้น  ได้แก่ การจัดฝึกอบรมด้วยหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการจัดประสบการณ์เรียนรู้ของเด็กปฐมวัย สำหรับผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด็กองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอห้วยคต   จังหวัดอุทัยธานี
            ตัวแปรตาม ได้แก่
                1. พัฒนาการของคะแนนทางการอบรมความรู้การจัดประสบการณ์การเรียนรู้
                2. ความสามารถในการจัดทำแผนจัดประสบการณ์เรียนรู้
                3. พฤติกรรมของผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด็กเล็กระหว่างอบรม
  ขั้นตอนที่ 4 การศึกษาความพึงพอใจของผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอห้วยคต จังหวัดอุทัยธานี
   ด้านแหล่งข้อมูล
        ผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด็กเล็กองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอห้วยคต จังหวัดอุทัยธานี จำนวน
19 คน
        ด้านเนื้อหา
        การศึกษาความพึงพอใจของผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด็กเล็กองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอห้วยคต จังหวัดอุทัยธานีที่มีต่อหลักสูตรฝึกอบรม
        ด้านตัวแปร
              ความพึงพอใจของผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด็กเล็กองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอห้วยคต 
      จังหวัดอุทัยธานีที่มีต่อหลักสูตรฝึกอบรม

            เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
  หลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการจัดประสบการณ์เรียนรู้ของเด็กปฐมวัย สำหรับผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด็กองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอห้วยคต    จังหวัดอุทัยธานี
                  โดยมีเนื้อหาฝึกอบรม ดังต่อไปนี้             
                  หน่วยที่หลักสูตรปฐมวัย
                  หน่วยที่ หลักสูตรบูรณาการสาระการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย
                  หน่วยที่ การจัดประสบการณ์บูรณาการสำหรับเด็กปฐมวัย
                  หน่วยที่ 4 เทคนิคการเขียนแผนงาน/โครงการเพื่อพัฒนาศูนย์เด็กเล็ก
1. แบบทดสอบความรู้การจัดประสบการณ์การเรียนรู้
2. แบบประเมินความสามารถในการจัดทำแผนจัดประสบการณ์เรียนรู้
3. แบบสังเกตพฤติกรรมของผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด็กเล็กระหว่างอบรม
สรุปผลการวิจัย
1. ผลการศึกษาความต้องการการพัฒนาตนเองของผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด็กในการ
จัดประสบการณ์เรียนรู้ของเด็กปฐมวัยจากการวิเคราะห์พบว่า ความต้องการพัฒนาตนเองของผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด็ก มีดังนี้  วิธีการจัดกิจกรรมสำหรับเด็กในศูนย์เด็กเล็ก การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ การพัฒนาหลักสูตรศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก วิธีการเขียนแผนงาน/โครงการเพื่อพัฒนาศูนย์เด็ก ตามลำดับซึ่งจะส่งผลให้การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ระดับปฐมวัยมีประสิทธิภาพมากขึ้น ผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด็กมีความต้องการเข้ารับการอบรมเพื่อเพิ่มพูนความรู้ ความเข้าใจและเพิ่มทักษะในการจัดประสบการณ์เรียนรู้ระดับปฐมวัยให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น  ผู้ศึกษาค้นคว้าได้วิเคราะห์หัวข้อ   ในการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมมีดังนี้ คือ การศึกษาหลักสูตรปฐมวัยการวางแผนและการพัฒนาหลักสูตร   การจัดประสบการณ์เรียนรู้ของเด็กปฐมวัยและ วิธีการเขียนแผนงาน/โครงการ เพื่อพัฒนาศูนย์เด็กเล็ก
           2. ผลการสร้างและการหาคุณภาพของหลักสูตรอบรมเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการจัดประสบการณ์เรียนรู้ของเด็กปฐมวัย สำหรับผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด็กองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอห้วยคต
2.1 หลักสูตรอบรมเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการจัดประสบการณ์เรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
สำหรับผู้ช่วยผู้ดูแลเด็กองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอห้วยคตมีองค์ประกอบดังนี้ หลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์ โครงสร้างหลักสูตร แนวทางการจัดกิจกรรมการฝึกอบรม  สื่อฝึกอบรม การวัดและประเมินผล เกณฑ์การผ่านหลักสูตร และเอกสารประกอบกลักสูตร ประกอบด้วยคำชี้แจง วัตถุประสงค์ ตารางการฝึกอบรม แผนการจัดกิจกรรม ประกอบด้วยสาระสำคัญ จุดประสงค์เนื้อหา กิจกรรมการฝึกอบรม สื่อการฝึกอบรม วิธีการประเมินผล
        2.2  การพิจารณาความเหมาะสมของหลักสูตรฝึกอบรมหลักสูตรอบรมก่อนนำไปใช้เป็นการพิจารณาความเหมาะสมขององค์ประกอบของหลักสูตรฝึกอบรม สรุปผลได้ดังนี้
                    2.2.1 ผลการพิจารณาความเหมาะสมของหลักสูตรฝึกอบรมหลักสูตรอบรมเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการจัดประสบการณ์เรียนรู้ของเด็กปฐมวัย สำหรับผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด็กองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอห้วยคตด้วยกิจกรรมฝึกอบรม องค์ประกอบดังนี้ หลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์ โครงสร้างหลักสูตร แนวทางการจัดกิจกรรมการฝึกอบรม สื่อฝึกอบรม การวัดและประเมินผล เกณฑ์การผ่านหลักสูตร โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก  =  4.49 ,S.D. =0.14)         
          2.2.2 ผลการพิจารณาเอกสารประกอบหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างความสามารถ
ในการจัดประสบการณ์เรียนรู้ของเด็กปฐมวัยด้วยกิจกรรมฝึกอบรม
คู่มือหลักสูตรฝึกอบรมสำหรับผู้ให้การฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการจัด
ประสบการณ์เรียนรู้ของเด็กปฐมวัยด้วยกิจกรรมฝึกอบรม ประกอบด้วยคำชี้แจง วัตถุประสงค์ ตารางการฝึกอบรม แผนการจัดกิจกรรม ประกอบด้วย สาระสำคัญ จุดประสงค์เนื้อหา กิจกรรมการฝึกอบรมสื่อการฝึกอบรม โดยรวมพบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับ มากที่สุด = 4.54 , S.D. =  0.53  )
คู่มือหลักสูตรฝึกอบรมสำหรับผู้เข้ารับการฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการ
จัดประสบการณ์เรียนรู้ของเด็กปฐมวัยด้วยกิจกรรมฝึกอบรม ประกอบด้วย  คำชี้แจง วัตถุประสงค์ ตารางการฝึกอบรม ใบความรู้ ใบงาน พบว่า คู่มือสำหรับผู้เข้ารับการฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการจัดประสบการณ์เรียนรู้ของเด็กปฐมวัยด้วยกิจกรรมฝึกอบรม โดยรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด = 4.56 ,S.D. =0.54  )
3.ผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการจัดประสบการณ์เรียนรู้ของ
เด็กปฐมวัย สำหรับผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด็กองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอห้วยคต        
                            3.1 ผลพัฒนาการของคะแนนแบบทดสอบผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด็กเล็กที่อบรมด้วยหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการจัดประสบการณ์เรียนรู้ของเด็กปฐมวัย สำหรับผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด็กองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอห้วยคตด้วยกิจกรรมฝึกอบรม ก่อนการอบรมมีค่าเฉลี่ย 19.21 คิดเป็นร้อยละ 64.05  และผลการทดสอบผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด็กหลังการอบรมมีค่าเฉลี่ย 21.93 คิดเป็นร้อยละ 73.09 เมื่อพิจารณาเป็นรายบุคคลพัฒนาการของคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 9.52 แสดงว่าการอบรมมีส่วนช่วยให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพิ่มขึ้น
             3.2  ผลคะแนนความสามารถจัดทำแผนประสบการณ์การเรียนรู้ระดับปฐมวัยระหว่างอบรมของกลุ่มเป้าหมาย โดยรวมอยู่ในระดับมาก(=  4.02 , S.D.  = 0.93  ) ซึ่งแสดงถึงความสำเร็จในการฝึกอบรม
             3.3 ผลคะแนนพฤติกรรมของผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด็กระหว่างการอบรมโดยรวมอยู่ ใน  ระดับมาก  (4.15 , S.D. = 0.16  )  ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความพยายามกระตือรือร้นซักถาม    ให้ความร่วมมือในปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ทุกขั้นตอน อย่างมีความสุข
               4. ผลการศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างความสามารถ      ในการจัดประสบการณ์เรียนรู้ของเด็กปฐมวัย สำหรับผู้ช่วยผู้ดูแลเด็กด้วยกิจกรรมฝึกอบรมโดยรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับปานกลาง ( =  3.98 ,S.D. =  0.58 )
อภิปรายผล
1. ความต้องการการพัฒนาตนเองของผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด็กในการจัดประสบการณ์เรียนรู้
ของเด็กปฐมวัยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอห้วยคต จังหวัดอุทัยธานี เป็นการศึกษาความต้องการพัฒนาตนเองของผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด็ก ด้วยกระบวนการวิจัยเพื่อให้ได้ข้อสรุปที่ครอบคลุมและครบถ้วนเพียงพอสำหรับใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นในการพัฒนาผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด็กปฐมวัย จากการเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม พบว่า ความต้องการพัฒนาตนเองของผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด็กดังนี้คือ วิธีการจัดกิจกรรมสำหรับเด็กในศูนย์เด็กเล็ก การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ การพัฒนาหลักสูตรศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก วิธีการเขียนแผนงาน/โครงการเพื่อพัฒนาศูนย์เด็ก ตามลำดับก่อนการอบรมผู้ช่วยครูดูแลเด็กปฐมวัยขาดความรู้และประสบการณ์ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย   ซึ่งจะส่งผลให้การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ระดับปฐมวัยไม่มีประสิทธิภาพทั้งนี้เนื่องจาก สอดคล้องกับงานวิจัยของศิริลักษณ์   พิลากัน ( 2547) ได้ทำการศึกษาค้นคว้าเรื่องการพัฒนาครูด้านการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ โรงเรียนพุฒิชัยวิทยา อำเภอแกร่งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ    ผลการศึกษาพบว่า ก่อนการดำเนินการพัฒนา ครูขาดความรู้และประสบการณ์      ในการจัดประสบการณ์ไม่มีการวิเคราะห์แนวการจัดประสบการณ์จึงทำให้ครูไม่ทราบเนื้อหา        ที่เกี่ยวข้อง และไม่สามารถกำหนดชื่อเรื่องได้ ครูไม่สามารถกำหนดจุดประสงค์การเรียน ไม่มีการกำหนดเนื้อหาย่อยไม่เขียนแผนการจัดประสบการณ์และการจัดประสบการณ์ไม่สอดคล้องกับเนื้อหาและจุดประสงค์การเรียนรู้ สอดคล้องกับงานวิจัยของสุพรรณี มะลิงาม ( 2548) ได้ศึกษาการพัฒนาครูพี่เลี้ยงด้านการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัด กองการศึกษาเทศบาลตำบลบ้านดุง อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี พบว่า ก่อนการพัฒนา ครูพี่เลี้ยงขาดความรู้ ความเข้าใจและประสบการณ์ในการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย สอดคล้องกับกับงานวิจัยของ กัลยาพร  เนติรัตน์ ( 2549,หน้า บทคัดย่อ) ได้ทำการศึกษาค้นคว้าเรื่องการพัฒนาบุคลากร   ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบบูรณาการ โรงเรียนอนุบาลณัฐสุดา อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ผลการศึกษาค้นคว้าพบว่า ก่อนดำเนินการพัฒนาครู เกี่ยวกับการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการสำหรับนักเรียนระดับปฐมวัยครูยังสอนแบบเดิมอยู่ คือ ให้ความรู้แก่นักเรียนฝ่ายเดียว นักเรียนขาดโอกาสทำกิจกรรมนอกห้องเรียน แหล่งเรียนรู้น้อย     ครูไม่ค่อยใช้สื่อ อุปกรณ์ สรุปว่าครูไม่มีความรู้เกี่ยวกับการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการและสอดคล้องกับงานวิจัยของ จารุณี  กุลศรีวนรัตน์ (2553) ได้ทำการศึกษาค้นคว้า เรื่อง การพัฒนาผู้ดูแลเด็กในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามมาตรฐาน การศึกษาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบลบางทรายน้อย อำเภอหว้านใหญ่  จังหวัดมุกดาหาร พบว่า สภาพและปัญหาของผู้ดูแลเด็กในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามมาตรฐานการศึกษาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น     ก่อนการพัฒนา พบว่าผู้ดูแลเด็กมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ระดับปฐมวัยค่อนข้างน้อย ส่งผลให้การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ระดับปฐมวัยไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ซึ่งผู้ดูแลเด็ก       มีความต้องการ และยินดีเข้ารับการพัฒนาเพื่อเพิ่มพูนความรู้ ความเข้าใจและเพิ่มความสามารถในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ระดับปฐมวัยให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
              2. การสร้างหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการจัดประสบการณ์เรียนรู้
ของเด็กปฐมวัย สำหรับผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด็กองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอห้วยคต ผู้ศึกษาค้นคว้าสร้างขึ้นตามความต้องการผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด็กในการพัฒนาความสามารถในการจัดประสบการณ์เรียนรู้ของเด็กปฐมวัยและตามกระบวนการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม และจากเอกสารรวมทั้งผู้ทรงคุณวุฒิ โดยหลักสูตรฝึกอบรมที่สร้างขึ้นมีความเหมาะสมในภาพรวมในระดับมาก  ( <!--[if !msEquation]--> <!--[if !vml]--><!--[endif]--><!--[endif]--> =  4.49) เนื่องจากหลักสูตรฝึกอบรมจัดสร้างขึ้นตามความต้องของผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด็กเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการจัดประสบการณ์เรียนรู้ของเด็กปฐมวัย การจัดฝึกอบรมเป็นการฝึกอบรมที่ใช้เวลาติดต่อกันทำให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ความเข้าใจ เกิดสนุกสนานในการเรียนรู้ในเนื้อหาสาระและการทำงานร่วมกันซึ่งสอดคล้องกับผลการวิจัยของ พิภพ   ธรรมประชา    ( 2550) ได้ทำการศึกษาค้นคว้าเรื่อง การพัฒนาบุคลากรด้านการจัดประสบการณ์ระดับปฐมวัย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เทศบาลตำบลธัญญา อำเภอกมลาไสย จังหวัด กาฬสินธุ์       ผลการศึกษาสรุปได้ว่า การพัฒนาครูผู้ดูแลเด็กด้านการจัดประสบการณ์ระดับปฐมวัย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลธัญญา อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยใช้กลยุทธ์การประชุมปฏิบัติการและการนิเทศการสอน ทำให้ผู้ดูแลเด็กมีความรู้ความเข้าใจและสามารถจัดประสบการณ์ระดับปฐมวัย ตามกิจกรรมประจำวัน 6 กิจกรรมในชั้นเรียนได้ ครูผู้ดูแลเด็กมีความชำนาญมั่นใจในการจัดประสบการณ์ระดับปฐมวัยเพิ่มขึ้น
              3. การนำหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการจัดประสบการณ์เรียนรู้ของเด็กปฐมวัย สำหรับผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด็กองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอห้วยคต ไปฝึกอบรมกับผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด็กองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอห้วยคต จังหวัดอุทัยธานี  ปีการศึกษา 2554 จำนวน 14 คน พบว่า ความรู้ความเข้าใจของผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด็กที่เข้ารับการฝึกอบรมในการจัดประสบการณ์เรียนรู้ของเด็กปฐมวัย ก่อนอบรมคิดเป็นร้อยละ 64.05 และหลังการอบรมคิดเป็นร้อยละ 73.09 ซึ่งคะแนนสูงกว่าคิดเป็นร้อยละ 9.52 มีทักษะการเขียนแผนจัดประสบการณ์เรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยอยู่ในระดับมาก และพฤติกรรมการร่วมกิจกรรมของผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด็กในระหว่างการอบรมโดยรวมอยู่ในระดับมากเนื่องผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความตั้งใจการเรียนรู้และสนุกสนานในการให้ความร่วมมือทำกิจกรรมต่าง ๆ  และฝึกปฏิบัติอย่างตั้งใจ จากวิทยาที่รับเชิญมีประสบการณ์จริงและรักในการทำงาน จึงทำให้มีกาถ่ายทอดความรู้ ถ่ายทอดทักษะจากวิทยากรสู่ผู้เข้ารับการฝึกอบรมอย่างแท้จริง ทั้งนี้เนื่องจากเนื้อหาสาระในการฝึกอบรมเป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับการเขียนแผนจัดประสบการณ์ ซึ่งสอดคล้องกับผลการวิจัยของ  ปิยธิดา   พลน้ำเที่ยง ( 2547 )    ได้ทำการศึกษาเรื่องการพัฒนาครูด้านการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์โรงเรียนอนุบาลปิยธิดา อำเภอพังโคน  จังหวัดสกลนคร ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าการดำเนินงานการพัฒนาครูด้านการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์โรงเรียนอนุบาลปิยธิดา อำเภอพังโคน  จังหวัดสกลนคร โดยใช้กิจกรรมพัฒนาได้แก่ การประชุมเชิงปฏิบัติการ การศึกษาดูงาน การเขียนแผนการจัดประสบการณ์ และการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ ทำให้กลุ่มเป้าหมายเกิดการเปลี่ยนแปลง 3 ด้าน คือ  1) มีความรู้ความเข้าใจในการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์เพิ่มขึ้น 2) สามารถเขียนแผนการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ได้ครบทั้ง 4 ด้าน    3) ส่งผลให้นักเรียนมีพฤติกรรมการเรียนในระดับดี สอดคล้องกับงานวิจัยของ วัฒนา  กงวิรัตน์(2547) ได้ศึกษาการพัฒนาบุคลากรในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาระดับปฐมวัย โรงเรียนอนุบาลนครพนม และโรงเรียนเมืองนครพนม พบว่า ผลจากการพัฒนาบุคลากรโดยการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาระดับปฐมวัย การนิเทศติดตามและการตรวจสอบประเมินผลหลักสูตรสถานศึกษา ได้ประเมินโดยการสังเกต สัมภาษณ์ และตรวจสอบประเมินหลักสูตร ที่กลุ่มผู้ร่วมศึกษาร่วมกันจัดทำขึ้น มีผลการพัฒนาไปตามความมุ่งหมายของการศึกษาที่กำหนดไว้ สามารถแก้ปัญหาและพัฒนาบุคลากรในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาระดับปฐมวัย ของโดรงเรียนอนุบาลนครพนมและโรงเรียนเมืองนครพนมได้ สอดคล้องกับงานวิจัยของ สุเพ็ญ    วงศเทพ ( 2552)ได้ทำการศึกษาค้นคว้า เรื่อง การพัฒนาศักยภาพครูด้านการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการคิด กรณีศึกษาโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 21 จังหวัดแม่ฮ่องสอน พบว่า ชุดฝึกอบรมการพัฒนาศักยภาพครูด้านการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการคิด มีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา ถูกต้อง เหมาะสม และสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ มีค่าระหว่าง 0.8-1.00 หลังจากนำชุดฝึกอบรมไปใช้กับกลุ่มตัวอย่าง ทำให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการคิดได้ทั้ง 10 คน และแผนการจัดการเรียนรู้ที่ครูได้จัดทำขึ้น โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก      และสอดคล้องกับงานวิจัยของ จารุณี กุลศรีวนรัตน์(2553) ได้ทำการศึกษาค้นคว้า เรื่อง การพัฒนาผู้ดูแลเด็กในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามมาตรฐานการศึกษาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบลบางทรายน้อย อำเภอหว้านใหญ่  จังหวัดมุกดาหารพบว่า การพัฒนาผู้ดูแลเด็กในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามมาตรฐานการศึกษา ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พบว่าหลังการพัฒนา ผู้ดูแลเด็กมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพิ่มมากขึ้น โดยในระหว่างการประชุมเชิงปฏิบัติการผู้ดูแลเด็กมีพฤติกรรมการร่วมกิจกรรมโดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และมีความสามารถในการเขียนแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ระดับปฐมวัย ได้โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
  4. การประเมินความพึงพอใจที่ต่อหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการ
จัดประสบการณ์เรียนรู้ของเด็กปฐมวัย สำหรับผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด็กองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอห้วยคต จากแบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการจัดประสบการณ์เรียนรู้ของเด็กปฐมวัย สำหรับผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด็กองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอห้วยคตพบว่า โดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก    <!--[if !msEquation]--> <!--[if !vml]--><!--[endif]--><!--[endif]--> =  3.98  S.D. =  0.58   )ทั้งนี้เนื่องจากหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการจัดประสบการณ์เรียนรู้ของเด็กปฐมวัย สำหรับผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด็กองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอห้วยคต สามารถทำให้เข้าใจและเรียนรู้การปฏิบัติจากการฝึกอบรมเป็นอย่างดี โดยการจัดกิจกรรมฝึกอบรมทำให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้ร่วมทำกิจกรรมร่วมกัน เกิดความรัก ความสามัคคีและเห็นความสำคัญของการเขียนแผนการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ  อารียา     เมืองโคตร ( 2552)ได้ศึกษาค้นคว้าวิจัยเรื่อง      การพัฒนาศักยภาพครูปฐมวัยด้านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยสอดแทรก คุณธรรม จริยธรรมในโรงเรียน ที โอ เอวิทยา                 ( เทศบาล 1 วัดคำสาย ) สังกัดเทศบาลเมืองมุกดาหาร พบว่าผลการประเมินความพึงพอใจต่อหลักสูตรฝึกอบรม ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความพึงพอใจในระดับมาก
ข้อเสนอแนะ
            1. ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้
                       1.1  ควรพิจารณาในเรื่องระยะเวลาให้สอดคล้องเหมาะสมกับกิจกรรม   จะทำให้การอบรม/การประชุมเชิงปฏิบัติการมีประสิทธิภาพมากขึ้น
                       1.2  หลังจากอบรมควรมีการติดตามนิเทศภายในเพื่อพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง ได้ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน สามารถนำแผนการจัดประสบการณ์ไปจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
              2. ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป
                        2.1 ควรมีการศึกษาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ระดับปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น

บรรณานุกรม
กรมวิชาการ, กระทรวงมหาดไทย .(2546). แนวทางการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตาม           
            หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ:คุรุสภาลาดพร้าว
กรมวิชาการ.(2546). คู่มือหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2546.กรุงเทพฯ,
              โรงพิมพ์คุรสภา.
กระทรวงศึกษาธิการ (2545).คู่มือผู้ปกครองและครูการเรียนการสอนตามพระราชบัญญัติ           
  การศึกษาแห่งชาติ พ..2542 และพ..2545.กรุงเทพฯ,สำนักพิมพ์วัฒนาพาณิช
              จำกัด.
กัลยาพร เนติรัตน์.(2549). การพัฒนาบุคลากรในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ
  บูรณาการโรงเรียนอนุบาลณัฐสุดา อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น.การศึกษา
            ค้นคว้าอิสระ กศ.ม.มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.มหาสารคาม.

จารุณี  กุลศรีวนรัตน์. ( 2553) .การพัฒนาผู้ดูแลเด็กในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตาม
            มาตรฐาน การศึกษาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น