วันเสาร์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

กัญชลี คงประดิษฐ์ : การพัฒนาแบบฝึกการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5



 

บทความวิจัย : การพัฒนาแบบฝึกการคิดวิเคราะห์  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย 
                                                    สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
กัญชลี  คงประดิษฐ์ 1 อังคณา  อ่อนธานี  2

การพัฒนาแบบฝึกการคิดวิเคราะห์  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
      The  development of Analysis thinking drills in learning area of Thai     
        for prathomsuksa 5 students.

                                                               บทคัดย่อ

                 การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายหลัก  เพื่อพัฒนาแบบฝึกการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยมีจุดมุ่งหมายเฉพาะดังนี้ 1) เพื่อสร้างเพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกการคิดวิเคราะห์  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  5  ตามเกณฑ์  80/80 2)เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยแบบฝึกการคิดวิเคราะห์  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  5 และ  3)เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกการคิดวิเคราะห์  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  5  โดยทำการทดลองกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 โรงเรียนวัดเนินพยอม จำนวน 16 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบฝึกการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ และแบบสอบถามความพึงพอใจ  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ประสิทธิภาพของชุดแบบฝึก ค่าดัชนีความสอดคล้อง ค่าอำนาจจำแนก ค่าความเที่ยง ผลการวิจัยพบว่า1.) แบบฝึกการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  ที่สร้างขึ้นมีความเหมาะสมระดับมาก   2) ความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .01 3) ความพึงพอใจของนักเรียนอยู่ที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกการคิดวิเคราะห์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 อยู่ในระดับมากที่สุด


                                                                  ABSTRACT

        The  research has the main purpose to develop analysis thinking ability have especial purposes as follows (1) to build and find efficiency of analysis  thinking ability training model  substance  learning area of Thai prathomsuksa 5  traditionally  80 / 80 standard  (2) to compare the ability in the analysis thinking ability befor study and after study with analysis thinking ability training model, substance  learning area of Thai prathomsuksa 5 (3) to study the contentment of students have with analysis thinking ability training model , substance  learning area of Thai prathomsuksa 5  by doing the experiment with students in prathomsuksa 5 the semester 2 academic year 2011 ,     Wat Noenpoyom School  amount of 16 student which get come to by specifically filtration tools that use in the research for  example, analysis thinking ability training model , substance  learning area of Thai students in prathomsuksa 5, evaluate ability of analysis thinking test and contentment questionnaire , statisties use in data analysis are means, standard deviation , the research result is found as follows (1) analysis thinking ability training model,substance  learning area of Thai  prathomsuksa 5 that is build up follow the opinions of five experts has an excellent suitability level  (2) ability of thinking analysis after  study is higher than before study havely significance statistics . 01 and students contentment of have with study with critical thinking ability training model,substance  learning area of Thai prathomsuksa 5 is in the most level


บทนำ

                                ในสภาพปัจจุบัน  บุคคลจำเป็นที่จะต้องมีทักษะการคิด  เพื่อที่จะช่วยให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุขในสังคมที่ซับซ้อน  และเต็มไปด้วยปัญหาต่าง ๆ มากมายที่เกิดขึ้นในสังคม  บุคคลจำเป็นต้องใช้การตัดสินใจอยู่เสมอ  และการตัดสินใจที่ดีก็ต้องอาศัยความสามารถในการคิดเป็นพื้นฐาน  (ทิศนา  แขมมณี, 2540,  หน้า 1)  และต้องพัฒนาความคิดนั้นไปสู่ความคิดขั้นสูง  คือการคิดวิเคราะห์  การพัฒนาการคิดวิเคราะห์  ในสองทศวรรษที่ผ่านมา  พบว่าการพัฒนาการคิดวิเคราะห์ยังทำได้ในขอบเขตที่จำกัด  และยังไม่บรรลุเป้าหมายสูงสุดตามที่ต้องการ  (สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ, 2545  หน้า 3)  ในประเทศสหรัฐอเมริกามีผลการวิจัยนับเป็นร้อยเรื่อง  ที่บ่งชี้ว่าในการสอนวิชาต่าง ๆ ผู้เรียนมักสามารถทำได้ดีในส่วนที่เกี่ยวข้องกับทักษะพื้นฐาน  แต่เมื่อมาถึงส่วนที่ต้องใช้ความคิดและเหตุผล  ผู้เรียนยังไม่สามารถทำได้  (paul ,1998  อ้างอิงจาก  อนุพร  พวงมาลี, 2549,  หน้า  1)  ปัญหาในการพัฒนาศักยภาพด้านการคิดของผู้เรียน  นับว่าเป็นปัญหาสำคัญมากที่สุดในปัจจุบัน  เนื่องจากสภาพของเด็กในปัจจุบันมักขาดทักษะด้านการคิดวิเคราะห์  โดยเฉพาะนักเรียนในระดับประถมศึกษา  ซึ่งส่วนใหญ่ขาดทักษะในด้านการคิดวิเคราะห์  จากการศึกษาผลการสำรวจตามความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ของกลุ่มนิเทศติดตามและประเมินผล  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร  เขต 1  พบว่า  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  5  มีความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์อยู่ในระดับปรับปรุง  (สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา, 2550,  หน้า  2)  ซึ่งแสดงให้เห็นว่าในปัจจุบันเด็กไทยขาดทักษะด้านการคิดวิเคราะห์ที่ต้องรับแก้ไขอย่างเร่งด่วน

                        วิชาภาษาไทยเป็นวิชาหนึ่งที่มีความสำคัญที่ช่วยให้คนได้พัฒนาวิธีคิด ทั้งความคิดสร้างสรรค์  คิดวิเคราะห์  การพัฒนาวิธีการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยโดยใช้แบบฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์เป็นวิธีหนึ่งที่สามารถนำมาใช้ฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์เพราะชุดแบบฝึกทักษะเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นเพื่อเสริมสร้างความเข้าใจและเสริมสร้างเนื้อหาบางส่วนไม่ว่าจะเป็น เพลง นิทาน  สำนวนสุภาษิต  บทร้อยกรอง เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้จากสิ่งต่างๆที่หลากหลายนอกเหนือจากในบทเรียนและยังทำให้นักเรียนเกิดความสนุกสนานทำให้พัฒนาการของนักเรียนด้านการคิดวิเคราะห์ดีขึ้น  ปัญหาการคิดและการคิดวิเคราะห์นั้น  เกิดมาจากระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครูที่ยังไม่ได้เน้นการจัดกิจกรรมการอ่าน  การคิดวิเคราะห์  และการเขียนโดยเฉพาะการคิดวิเคราะห์อาจกล่าวได้ว่าแม้แต่ตัวครูผู้สอนเองก็ยังไม่เข้าใจถึงหลักการคิดวิเคราะห์ที่แท้จริง  ส่งผลให้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับเด็กไม่ได้เน้นในด้านการคิดวิเคราะห์  (วีระ  สุดสังข์, 2549,  หน้า  11)  นอกจากนี้สาระการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ในหลักสูตรมากเกินไปไม่สัมพันธ์กับเวลาสำหรับจัดกิจกรรม  เพื่อฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์  ครูซึ่งถูกกำหนดให้ทำหน้าที่จัดการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง  เปลี่ยนสถานะเป็นผู้บอกความรู้แบบเบ็ดเสร็จ  ทำให้ผู้เรียนมีโอกาสน้อยมากที่จะฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์อย่างที่ควรจะเป็น  ซึ่งผู้เรียนกลายเป็นผู้ฟังมากกว่าผู้ถือปฏิบัติ  และจากผลการประเมินคุณภาพภายนอกของสำนักงานรับรองมาตรฐานการประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.)  โรงเรียนวัดเนินพยอม  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1 มาตรฐานด้านผู้เรียน  พบว่านักเรียนมีความสามารถในด้านการคิดวิเคราะห์อยู่ในระดับปรับปรุง  (รายงานการประเมินคุณภาพโรงเรียนวัดเนินพยอม,  2550,  หน้า  2)  การพัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้แบบฝึกทักษะเป็นวิธีการหนึ่งที่สามารถนำมาใช้ฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ได้ เพราะแบบฝึกเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นเพื่อเสริมสร้างความเข้าใจและเสริมสร้างเนื้อหาบางส่วนที่จะช่วยให้นักเรียนปฏิบัติ และนำความรู้ไปใช้ได้อย่างแม่นยำ ถูกต้อง คล่องแคล่ว ( อัจฉรา    ชีวพันธ์ , 2532 ,หน้า 102 ) แนวทางในการแก้ปัญหาการคิดวิเคราะห์สามารถทำได้โดยการสร้างนวัตกรรมการสอนที่ช่วยพัฒนาความคิดในรูปของแบบฝึกทักษะเพราะแบบฝึกทักษะเป็นนวัตกรรมที่มองเห็นเป็นรูปธรรม  ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้  ช่วยให้ผู้สอนถ่ายทอดเนื้อหา  สาระและประสบการณ์ที่สลับซับซ้อนให้ผู้เรียนเข้าใจได้ง่าย  ซึ่งผู้สอนไม่สามารถถ่ายทอดด้วยการบรรยายได้ดี  ช่วยเร้าความสนใจของนักเรียนต่อสิ่งที่กำลังศึกษา  ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามความถนัดและความสนใจของตนเอง  ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้เต็มตามศักยภาพ  และผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมเนื่องจากประสบการณ์การฝึกหัด  และช่วยพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนนำไปสู่ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดีขึ้นของผู้เรียน  (วีระ  สุดสังข์,  2549,  หน้า  14)

                        จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น  ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะพัฒนาแบบฝึกทักษะเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  5  แบบฝึกทักษะที่ผู้ศึกษาค้นคว้าสร้างขึ้นใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์มาเป็นแนวทางเพื่อให้ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์จำแนกแยกแยะองค์ประกอบ  จัดหมวดหมู่และสามารถลำดับความสำคัญของเรื่องราวได้  นำไปสู่การสรุปและการตัดสินใจอย่างสมเหตุสมผล  จึงได้จัดทำแบบฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  5 โดยในส่วนของแบบฝึกทักษะมีเนื้อหาเกี่ยวกับ บทเพลง นิทาน สำนวนสุภาษิต บทร้อยกรอง จะทำให้เด็กเกิดการคิดวิเคราะห์ ได้เพราะในเนื้อหาในแต่ละชุดจะมีคำถามที่กระตุ้นให้นักเรียนเกิดการคิดวิเคราะห์โดยคาดหวังว่าการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความสนุกสนาน  เพลิดเพลิน  เข้าใจง่าย  และนำไปสู่การฝึกคิดวิเคราะห์หาเหตุผลได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น


จุดมุ่งหมายของการวิจัย

                        1.  เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกการคิดวิเคราะห์  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  5  ตามเกณฑ์  80/80

                        2.  เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยแบบฝึกการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  5

                        3.  เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกการคิดวิเคราะห์  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  5


วิธีดำเนินการวิจัย

                        การดำเนินการวิจัย  เรื่อง  การพัฒนาแบบฝึกการคิดวิเคราะห์  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  5  เป็นลักษณะของกระบวนการวิจัยและพัฒนา  (Research  and  Development)   ซึ่งมีขั้นตอนการดำเนินการดังนี้

                        1. การสร้างและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกการคิดวิเคราะห์  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  5  ตามเกณฑ์  80/80

                        2. การเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ก่อนเรียนและหลังเรียน  ด้วยแบบฝึกการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  5

                        3. การศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกการคิดวิเคราะห์  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  5

                              ในการสร้างและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  5 ผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นแนวทางในการสร้างแบบฝึกการคิดวิเคราะห์ ซึ่งได้ ชุดแบบฝึกการคิดวิเคราะห์จำนวน 4 ชุด
                                        แบบฝึกที่  1  การคิดวิเคราะห์จากบทเพลง
                                       แบบฝึกที่  2  การคิดวิเคราะห์จากนิทาน
                                        แบบฝึกที่  3  การคิดวิเคราะห์จากสำนวน สุภาษิต
                                       แบบฝึกที่  4   การคิดวิเคราะห์จากบทร้อยกรอง
                              จากนั้นนำชุดแบบฝึกการคิดวิเคราะห์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเสนอผู้เชี่ยวชาญ ด้านภาษาไทยจำนวน 5 ท่านพิจารณาความเหมาะสมของชุดแบบฝึกการคิดวิเคราะห์จากนั้นนำมาปรับปรุงตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญและนำชุดแบบฝึกการคิดวิเคราะห์ไปทดลองใช้กับนักเรียน  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5โรงเรียนอนุบาลโพธิ์ประทับช้าง ( ทุ่งใหญ่)สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตรเขต  1 จำนวน 9คน เพื่อพิจารณาหาประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้ทดลองใช้กับนักเรียน  จำนวน30 คน   เพื่อพิจารณาหาประสิทธิภาพของแบบฝึกการคิดวิเคราะห์ ตามเกณฑ์ 80 /  80
                               ขั้นตอนที่  2  การเปรียบเทียบความสามารถการคิดวิเคราะห์ก่อนเรียนและหลังเรียน  ด้วยแบบฝึกการคิดวิเคราะห์  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  5
                               ขั้นตอนนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยแบบฝึกการคิดวิเคราะห์กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  5

                   แหล่งข้อมูล
                   ประชากร ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่5 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตรเขต 1  ปีการศึกษา 2554
                        กลุ่มตัวอย่าง  คือ  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  5  ภาคเรียนที่  2  ปีการศึกษา  2554  โรงเรียนวัดเนินพยอม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตรเขต 1 จำนวน 16 คน
                        ขั้นตอนที่  3  การศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
                        ขั้นตอนนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกการคิดวิเคราะห์  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  5

                   แหล่งข้อมูล
                        กลุ่มตัวอย่าง  คือ  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  5  โรงเรียนวัดเนินพยอม  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตรเขต 1  ปีการศึกษา  2554  จำนวน  16  คน ที่เรียนโดยใช้แบบฝึกที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น

            เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
                        1.  แบบฝึกการคิดวิเคราะห์  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  5 โดยมีเนื้อหาในแบบฝึก จำนวน  4  ชุด  ดังนี้
                                   แบบฝึกที่  1   การคิดวิเคราะห์จากบทเพลง
                                   แบบฝึกที่  2   การคิดวิเคราะห์จากนิทาน
                                   แบบฝึกที่  3   การคิดวิเคราะห์จากสำนวน สุภาษิต
                                   แบบฝึกที่  4   การคิดวิเคราะห์จากบทร้อยกรอง
                       2.แบบวัดความสามารถการคิดวิเคราะห์

    สรุปผลการวิจัย

                       1.  การสร้างและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 
                                      1.1  การพิจารณาความเหมาะสมขององค์ประกอบต่างๆของแบบฝึกการคิดวิเคราะห์   กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  จากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน มีความคิดเห็นว่า แบบฝึกการคิดวิเคราะห์  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ทั้ง 4 ชุด โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.45 และค่าเบี่ยงเบนมาตราฐานเท่ากับ 0.38
                                   1.2  การตรวจสอบภาษา เนื้อหา และเวลาที่ใช้ในการทำกิจกรรมของแบบฝึกการคิดวิเคราะห์   กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2554  โรงเรียนอนุบาลโพธิ์ประทับช้าง ( ทุ่งใหญ่ )   สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร  เขต 1 จำนวน  3  คน พบว่า ภาษาที่ใช้สื่อความหมายยังมีคำที่เขียนผิดและใช้คำซ้ำกันมากเกินไปและระยะเวลาที่ใช้ในการปฏิบัติกิจกรรมยังน้อยเกินไปทำให้นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมไม่ทันและได้ดำเนินการปรับปรุงแก้ไข คือ ปรับปรุงคำที่เขียนผิด คำไหนที่เป็นคำซ้ำกันก็ตัดออกและปรับปรุงกิจกรรมเพื่อให้มีความเหมาะสมกับเวลา
                                  1.3 การหาประสิทธิภาพของแบบฝึกการคิดวิเคราะห์   กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2554  โรงเรียนอนุบาลโพธิ์ประทับช้าง ( ทุ่งใหญ่ )  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร  เขต 1 จำนวน  9  คน พบว่า      มีประสิทธิภาพ 85.27/86.66
                                  1.4 การหาประสิทธิภาพของแบบฝึกการคิดวิเคราะห์   กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2554  โรงเรียนอนุบาลโพธิ์ประทับช้าง ( ทุ่งใหญ่ )    สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร  เขต 1 จำนวน  30  คน พบว่า  มีประสิทธิภาพ 88.33/90.11
            2.  การเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยแบบฝึกการคิดวิเคราะห์  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  5 พบว่า นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  5 มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ หลังเรียนด้วยแบบฝึกการคิดวิเคราะห์  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย   ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01
          3. การศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกการคิดวิเคราะห์  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยแบบฝึกการคิดวิเคราะห์  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.60 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐานเท่ากับ 0.37 และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน
พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจในแต่ละด้านอยู่ในระดับมากที่สุด


อภิปรายผล

                      จากผลการพัฒนาแบบฝึกการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ผู้ศึกษาค้นคว้าได้นำประเด็นสำคัญที่ค้นพบมาอภิปรายโดยแบ่งออกเป็น3 ตอน ตามจุดมุ่งหมายของการวิจัย ดังนี้
                        1. ผลการสร้างและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  ที่ผู้ศึกษาค้นคว้าสร้างขึ้น ได้ผ่านการพิจารณาเหมาะสมขององค์ประกอบต่างๆของแบบฝึกการคิดวิเคราะห์ จากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน พบว่า องค์ประกอบของของแบบฝึกการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีความเหมาะสมระดับมาก  มีการทดลองใช้กับนักเรียน จำนวน 3คน เพื่อตรวจสอบ ภาษา เนื้อหา เวลา  พร้อมทั้งดำเนินการแก้ไขแบบฝึกส่วนที่บกพร่อง เมื่อนำมาหาประสิทธิภาพกับนักเรียนจำนวน 9 คน พบว่าแบบฝึกมีประสิทธิภาพ 85.27/ 86.66 ซึ่งมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด คือ 80 / 80และการใช้แบบฝึกกับนักเรียนจำนวน 30 คน พบว่าแบบฝึกการคิดวิเคราะห์มีประสิทธิภาพ  88.33 / 90.01 ทั้งนี้ผู้ศึกษาค้นคว้าได้ดำเนินการสร้างตามกระบวนการ โดยเริ่มต้นจากการศึกษามาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้ ขอบเขตของเนื้อหาการคิดวิเคราะห์     กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  ตามหลักสูตรขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 คู่มือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย แนวทางการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ หนังสือเรียน เอกสาร บทความที่เกี่ยวข้องกับวิชาภาษาไทย พร้อมทั้งศึกษาเทคนิค วิธีการสร้างและพัฒนาแบบฝึก การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้แบบฝึก ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาไทย ทฤษฎี แนวคิด วิเคราะห์ การสร้างผังมโนทัศน์ เพื่อใช้เป็นกรอบแนวคิดในการพัฒนาแบบฝึก แล้วดำเนินการสร้างแบบฝึกการคิดวิเคราะห์ เช่นกัน ทั้งนี้อาจเป็นเพราะผู้ศึกษาค้นคว้าได้ดำเนินการสร้างแบบฝึกการคิดวิเคราะห์ ตามลำดับขั้นตอนของการสร้างแบบฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์และได้ดำเนินการพัฒนาแบบฝึกการคิดวิเคราะห์ตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ และอาจารย์ที่ปรึกษา แล้วจึงนำไปหาประสิทธิภาพ ซึ่งสอดคล้องกับ ขันธชัย มหาโพธิ์ (2535, หน้า 20) กล่าวว่า แบบฝึกที่ดีมีลักษณะของเนื้อหาตรงกับจุดประสงค์ มีกิจกรรมการเรียนรู้เหมาะสมกับวัยหรือความสามารถของนักเรียน มีรูปภาพประกอบมีที่ว่างสำหรับฝึกเขียน นักเรียนสามารถฝึกได้ด้วยตนเองและสมพร พูลขันธ์(2541, หน้า 40) กล่าวว่าลักษณะของแบบฝึกที่ดีต้องเกี่ยวข้องกับบทเรียนที่เรียนแล้ว มีคำชี้แจงสั้นๆ ที่จะทำให้ผู้เรียนเข้าใจได้ง่าย ท้าทายความสนใจ ใช้เวลาที่เหมาะสม และใช้หลักจิตวิทยาในการจูงใจ ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของนฤดี ผิวงาม (2545) ได้ศึกษาเรื่องการพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการเขียนเรื่อง วิชาภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 พบว่า แบบฝึกเสริมทักษะการเขียนเรื่องที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ 83.68/83.33 และยังสอดคล้องกับงานวิจัยของ มะลิ อาจวิชัย (2540) ได้วิจัยเรื่อง การพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะวิชาภาษาไทย เรื่อง การเขียนสะกดคำไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด แม่กน แม่กด แม่กบ สำหรับนักเรียน  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 พบว่า แบบฝึกมีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.02/80.62 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้ เช่นกัน
  2.  ผลการเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยแบบฝึกการคิดวิเคราะห์  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  5 พบว่า นักเรียนที่เรียนด้วยแบบฝึกการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ หลังเรียนด้วยแบบฝึกการคิดวิเคราะห์  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย   ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01   อันเนื่องมาจากการสอนโดยใช้แบบฝึกการคิดวิเคราะห์  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่5  นักเรียนได้ฝึกการคิดวิเคราะห์จึงส่งผลให้นักเรียนเกิดการค้นพบด้วยตนเอง มีความกระตือรือร้น มีการปฏิสัมพันธ์ระหว่างการทำกิจกรรมกลุ่ม มีกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายที่ช่วยส่งเสริมผู้เรียนเกิดการคิดวิเคราะห์ สามารถนำองค์ประกอบของแบบฝึกไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ในทำนองเดียวกันกับผลงานวิจัยของ จักรกฤษณ์   จันทะคูณและคณะ( 2547) ได้ทำการวิจัยเรื่องการพัฒนาชุดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่5 ผลการวิจัยพบว่าความสามารถด้านการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01และยังสอดคล้องกับงานวิจัยของมนัส  สุดสิ้น ( 2543)  ได้ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางวิทยาศาสตร์และความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ประกอบการเขียนแผนผังมโนมติ ผลการวิจัยพบว่านักเรียนที่ได้รับการสอนแบบสืบเสาะประกอบการเขียนแผนผังมโนมติ กบการสอนตามคู่มือครู มีผลสัมฤทธิ์ทางวิทยาศาสตร์ด้านความรู้ ความจำ ด้านความเข้าใจ ด้านการนำไปใช้ ผลสัมฤทธิ์ทางวิทยาศาสตร์ด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และความสามารถในการคิดวิเคราะห์วิจารณ์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  
               3  .ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยแบบฝึกการคิดวิเคราะห์  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.60และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐานเท่ากับ 0.37 ที่เป็นเช่นนี้อาจเนื่องมาจากการเรียนด้วยแบบฝึกการคิดวิเคราะห์เป็นการสร้างความแปลกใหม่ให้แก่นักเรียนจึงช่วยเร้าความสนใจและทำให้นักเรียนมีความกระตือรืนร้น นอกจากนี้ขั้นตอนการเรียนรู้ในแบบฝึกจะช่วยลดบทบาทของครู  เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ศึกษาด้วยตนเอง ทำให้มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ได้ดีขึ้น ฝึกให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการเรียนอย่างแท้จริง และมีความรับผิดชอบในการเรียน ทำให้ไม่รู้สึกเบื่อหน่าย นอกจากนี้แบบฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ มีสีสันสวยงาม นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ง่าย มีรูปภาพประกอบที่สวยงาม ดึงดูดความสนใจของนักเรียนซึ่งในการจัดทำแบบฝึกในครั้งนี้ได้นำแนวความคิดของ   บลูมคือ วิเคราะห์ความสำคัญ  วิเคราะห์ความสัมพันธ์  วิเคราะห์เชิงหลักการ ผสมผสานกับแนวความคิดของสุวิทย์  มูลคำ คือกำหนดสิ่งที่ต้องการวิเคราะห์   กำหนดปัญหาหรือวัตถุประสงค์ กำหนดหลักการหรือกฎเกณฑ์ พิจารณาแยกแยะ สรุปคำตอบ ซึ่งสอดคล้องกับถาวร เที่ยงแก้ว (2548 , 76-79) ได้ศึกษาการพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยเรื่องการอ่านคำควบกล้ำ โดยใช้แบบฝึกทักษะ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 พบว่า นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ด้วยแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่องการอ่านคำควบกล้ำ โดยใช้แบบฝึกทักษะอยู่ในระดับมาก

ข้อเสนอแนะ
                   1.ข้อเสนอแนะในการนำไปใช้
                                    1.1 ก่อนนำแบบฝึกการคิดวิเคราะห์  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย   ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ไปใช้ ครูผู้สอนควรจะศึกษารูปแบบ วิธีการเทคนิค การจัดการเรียนรู้ ให้เข้าใจเป็นอย่างดีก่อนและการจัดกิจกรรมควรมีการปฐมนิเทศนักเรียนให้มีความรู้ความเข้าใจในขั้นตอนการจัดกิจกรรม และวิธีการจัดการเรียนรู้แบบต่างๆ ที่จะนำไปใช้
                                    1.2   การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกการคิดวิเคราะห์   กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ครูผู้สอนต้องมีความยืดหยุ่นปรับเวลาในการปฏิบัติกิจกรรมและการกำหนดเวลาเพื่อให้เกิดความกระชับ ซึ่งบางกิจกรรมอาจจะใช้เวลาในการจัดกิจกรรมนานเกินไป อาจส่งผลกระทบกับเวลาที่ใช้ในกิจกรรมอื่น  การใช้แบบฝึกการคิดวิเคราะห์   กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย     ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ครูผู้สอนต้องคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ทั้งนี้สามารถปรับเวลาตามความเหมาะสมกับศักยภาพของนักเรียน      

                      2. ข้อเสนอแนะเพื่อการศึกษาค้นคว้าต่อไป

                             2.1  แบบฝึกการคิดวิเคราะห์   กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  ที่ผู้ศึกษาค้นคว้าสร้างขึ้น มีกระบวนการขั้นตอนที่หลากหลาย เพื่อนำไปพัฒนาหรือขยายเวลาในการจัดกิจกรรมให้นานขึ้น เพื่อศึกษาว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและประสิทธิภาพที่ได้จากการสอนจะเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
                             2.2  ควรมีศึกษาเปรียบเทียบแบบฝึกการคิดวิเคราะห์   กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ใช้กระบวนการเรียนรู้แบบอื่น เช่น การจัดกิจกรรมการเรียนรู้    ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ด้วยวิธีการเรียนแบบสืบเสาะเป็นต้น


                                                                     บรรณานุกรม

                        กรมวิชาการ. (2545).  การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน.                                                                กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา.

                           เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2546). การคิดเชิงวิเคราะห์ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ :ซัคเซสมีเดีย.

                    ชัยยงค์  พรหมวงศ์. (2523). ชุดการสอนระดับประถมศึกษา เอกสารการสอนชุดวิชาสื่อการ                                       สอนระดับประถมศึกษา หน่วยที่ 8-15. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

                          ชัยยงค์  พรหมวงศ์.   (2532). เอกสารประกอบการสอนชุดวิชาเทคโนโลยีการศึกษา หน่วยที่ 1-5.                                     นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

                   ทิศนา  แขมมณี. (2534). การพัฒนากระบวนการคิด. กรุงเทพฯ : ม.ท.ป.

                        ทิศนา  แขมมณี. (2540).ทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิด:ต้นแบบการเรียนรู้ทางด้านและแนวทาง ปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

                   ล้วน  สายยศ และอังคณา สายยศ. (2538). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 4).                                                          กรุงเทพฯ : สุวิริยาสาสน์.

                          เสงี่ยม  โตรัตน์. (2546, มิถุนายน – ตุลาคม).  การสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์                                                วารสารศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยศิลปากร, 67(82),28.












ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น