วันศุกร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

กชมน จันทร์วิเชียร: การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์โดยใช้รูปแบบการสอนโมเดลซิปปา (CIPPA Model)เรื่องทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมในชุมชน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3


บทความวิจัย : การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์โดย
                                                                              ใช้รูปแบบการสอนโมเดลซิปปา (CIPPA Model) เรื่องทรัพยากรธรรมชาติ  และสิ่งแวดล้อม
                                                                                                                                ใน ชุมชน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถม
                                                                                                                                ศึกษาีที่ 3
กชมน  จันทร์วิเชียร1 ชัยวัฒน์  สุทธิรัตน์2


 
การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์โดย
    ใช้รูปแบบการสอนโมเดลซิปปา (CIPPA Model) เรื่องทรัพยากรธรรมชาติ
              และสิ่งแวดล้อมในชุมชน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา
                ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
   A Development of Instructional package to Promote the Analytical Thinking Abilities
                         using CIPPA Model”Natural resources and Environment in
                                   Community” for the Prathomsuksa 3 students.

บทคัดย่อ

          การศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างหาประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 ทดลองใช้และศึกษาความพึงพอใจจากการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์โดยใช้รูปแบบการสอนโมเดลซิปปา (CIPPA Model) เรื่อง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ดำเนินการวิจัยตามกระบวนการวิจัยและพัฒนาแบ่งเป็น3 ขั้นตอน คือขั้นการสร้าง หาประสิทธิภาพ ขั้นทดลองใช้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 23 คน และขั้นศึกษาความพึงพอใจต่อการเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ชุดกิจกรรม แบบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และแบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test (Dependent) ผลการศึกษา พบว่า
             1) ชุดกิจกรรมมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 ทุกชุด โดยชุดที่ 1มีประสิทธิภาพเท่ากับ79.67/77.00 ชุดที่
2 เท่ากับ 76.30/75.67 ชุดที่ 3 เท่ากับ 77.50/76.67 ชุดที่ 4 เท่ากับ78.67/77.33 ชุดที่ 5เท่ากับ 78.57/76.33 และ
ชุดที่ 6 เท่ากับ 78.33/76.00
          2) นักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัย
สำคัญทางสถิติที่ระดับ.01
            3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมอยู่ในระดับมาก
ABSTRACT
 The purposes  of this  study were to develop and implement Instructional package to promote the thinking abilities using CIPPA Model Natural Resources and Environment in Community for prathomsuksa  3 students. There were 3 steps of the research  procedures : (1) to create and study the efficiency of instructional package (2) to experiment the instructional package (3) to study the satisfaction of students, Percent, Arithemetic mean, in data analysis are the everage, mean, standard deviation and t-test were employed in data analysis The result of study were as follows:
1)      The efficiency of instructional package were(1) 79.67/77.00  (2) 76.30/75.67
(3) 77.50/76.67 (4) 78.67/77.33 (5) 78.57/76.33 (6) 78.33/76.00.
            2)  Analytical thinking ability of students after learning higher than before learning in statistically
significantly at .01 level.
            3)The students satisfaction of toward the instructional package at high level. Keyword:
Instructional Package, Analytical Thinking ability, CIPPA Model
บทนำ
          พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 22 (ราชกิจานุเบกษา, 2542, หน้า9) ระบุว่าการ
จัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนสำคัญที่สุด
 กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ นอกจากนี้ มาตรา
 24 ยังเน้นฝึกทักษะกระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์ และประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและ
แก้ไขปัญหา จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนเรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกปฏิบัติให้คิดเป็นทำเป็น รักการอ่าน และเกิดการ
ใฝ่รู้ใฝ่เรียนอย่างต่อเนื่อง โดยยึดหลักในการจัดให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ เป็นคนเก่ง คนดี มีสุข ในการเรียนรู้และอยู่
ร่วมกับผู้อื่นได้ปัจจุบันเด็กไทยขาดทักษะด้านการคิดวิเคราะห์ที่ต้องรีบแก้ไขอย่างเร่งด่วนปัญหาการคิดและการคิด
วิเคราะห์นั้น เกิดมาจากกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครูที่ยังไม่ได้เน้นการจัดกิจกรรมการอ่านการคิด
วิเคราะห์ และการเขียนโดยเฉพาะการคิดวิเคราะห์
        อาจกล่าวได้ว่าแม้แต่ตัวครูผู้สอนเองก็ยังไม่เข้าใจถึงหลักการคิดวิเคราะห์ที่แท้จริง ส่งผลให้การจัดกิจกรรมการ
เรียนรู้ให้กับเด็กไม่ได้เน้นในทักษะการคิดวิเคราะห์ (วีระ    สุดสังข์, 2549, หน้า 11)
        จากสภาพการเรียนการสอนในปัจจุบันของโรงเรียนวัดทับหมัน พบว่านักเรียนยังขาดกระบวนการในการคิด
วิเคราะห์ ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญในการเรียนของเด็กไทยจะเห็นได้จากผลการสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หรือการ
ทดสอบระดับชาติ NT.ประจำปีการศึกษา 2553 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3โรงเรียนวัดทับหมัน ยังมีผล
สัมฤทธิ์อยู่ในระดับต่ำ โดยกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยผลการสอบระดับชาติโดยภาพรวม ร้อยละ 51.04 อยู่ใน
ระดับปรับปรุง ร้อยละ15.5 ระดับพอใช้ ร้อยละ 51.00 ระดับดี ร้อยละ 33.33 กลุ่มสาระการเรียนรู้คฺณิตศาสตร์
ผลการสอบระดับชาติโดยภาพรวม ร้อยละ 35.10 ระดับปรับปรุงร้อยละ 20.00 ระดับพอใช้ร้อยละ 53.33 ระดับดีร้อยละ 26.67 และกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ผลการสอบโดยภาพรวม ร้อยละ 43.96 ระดับปรับปรุง 35.56 ระดับพอใช้  37.78 ระดับดี 26.67 สอดคล้องกับผลการประเมินการปฏิรูปการศึกษาผลการประเมินคุณภาพภายนอกของสำนักงานรับรองมาตรฐานการประเมินคุณภาพการศึกษา(สมศ.) โรงเรียนวัดทับหมัน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 2 มาตรฐานด้านผู้เรียน พบว่านักเรียนมีความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์อยู่ในระดับพอใช้ (รายงานการประเมินคุณภาพโรงเรียนวัดทับหมัน,2551 หน้า 2) จึงเป็นมาตรฐานด้านที่ควรจะพัฒนาให้อยู่ในระดับดีจากเหตุผลดังกล่าวข้างต้นผู้วิจัยได้พยายามศึกษาหลากหลายวิธีแก้ปัญหาดังกล่าวและพบว่าชุดกิจกรรมการเรียนรู้( Instructionnal package) ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์โดยใช้รูปแบบการสอนโมเดลซิปปา(CIPPA Model)เป็นนวัตกรรมที่จะช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวได้เนื่องจากโดยการใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์มาเป็นแนวทางเพื่อให้ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์จำแนกแยกแยะองค์ประกอบ จัดหมวดหมู่และสามารถลำดับความสำคัญของเรื่องราวได้ นำไปสู่การสรุปและการตัดสินใจอย่างสมเหตุสมผลและรูปแบบการสอนโมเดลซิปปา (CIPPA Model)จะทำให้ผู้เรียนเข้าใจในสิ่งที่เรียน สามารถอธิบาย ชี้แจง ตอบคำถามได้ดี นอกจากนั้นยังได้พัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ การคิดสร้างสรรค์ การทำงานเป็นกลุ่มการช่วยเหลือกันภายในกลุ่มและรวมทั้งการสื่อสารเกิดความใฝ่เรียนรู้ด้วยดังรายงานผลการวิจัยของสุทธิรัตน์    เลิศจตุรวิทย์ (2544) ที่วิจัยพบว่าผลของการสอนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนซิปปาเพื่อการเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะการวิเคราะห์และเจตคติของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สูงกว่าก่อนเรียน
      จากปัญหาและแนวทางแก้ปัญหาดังกล่าวข้างต้น ผู้วิจัยจึงได้พัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ โดยใช้รูปแบบการสอนโมเดลซิปปา (CIPPA Model) เรื่องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนา และวัฒนธรรมสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3ขึ้นเพื่อพัฒนานักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3ให้มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์สูงขึ้น ทั้งนี้เพื่อนำผลการวิจัยไปใช้ในการปรับปรุงการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพต่อไป
จุดมุ่งหมายของการวิจัย
              1.เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ โดยใช้รูปแบบการสอนโมเดลซิปปา (CIPPA Model) เรื่องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนา และวัฒนธรรมสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ตามเกณฑ์ 75/75
            2. เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยชุดกิจกรรมที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์โดยใช้รูปแบบการสอนโมเดลซิปปา (CIPPA Model)เรื่อง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในขุมชน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
            3.  พื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ โดยใช้รูปแบบการสอนโมเดลซิปปา (CIPPA Model) เรื่อง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
วิธีดำเนินการวิจัย
           การดำเนินการศึกษา เรื่องการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์โดยใช้รูปแบบการสอนโมเดลซิปปา (CIPPA Model) เรื่องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ผู้วิจัยได้ดำเนินการตามกระบวนการศึกษาและพัฒนา(Research and Development) ซึ่งมีขั้นตอนการดำเนินการศึกษาดังต่อไปนี้
            ขั้นตอนที่ 1 การสร้างและหาประสิทธิภาพชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ โดยใช้รูปแบบการสอนโมเดลซิปปา (CIPPA Model)เรื่องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับชั้ประถมศึกษาปีที่ 3 ตามเกณฑ์ 75/75 ในการสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมที่ส่งเสริมความสามารถในการิดวิเคราะห์โดยใช้รูปแบบการสอนโมเดลซิปปา (CIPPA Model)เรื่องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

             1. ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยศึกษาเกี่ยวกับรายละเอียด แนวคิดและหลักการเกี่ยวกับการสร้างชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างชุดกิจกรรมที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์โดยใช้รูปแบบการสอนโมเดลซิปปา (CIPPA Model)
           2. ศึกษาเอกสารหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ในส่วนของสาระการเรียนรู้แกนกลางและมาตรฐานการเรียนรู้ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ของกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม วิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ตัวชี้วัดชั้นปี และสาระการเรียนรู้สาระที่ 5 สาระภูมิศาสตร์
        3.สร้างชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์โดยใช้รูปแบบสอนโมเดลซิปปา (CIPPA Model) เรื่องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชนกลุ่มสาระเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3  ทั้งหมด 6 ชุด ชุดที่1 เรื่อง ทรัพยากรน้ำ ชุดที่ 2 เรื่อง ทรัพยากรดิน ชุดที่ 3 เรื่อง ทรัพยากรป่าไม้ ชุดที่ 4 เรื่อง มลพิษทางอากาศ ชุดที่ 5 เรื่อง ขยะมูลฝอยและชุดที่ 6 เรื่อง ภาวะโลกร้อนในแต่ละชุดกิกกรมนั้นมีกิจกรรมและสื่อการเรียนการสอนแตกต่างกัน
          4.  นำชุดกิจกรรมที่สร้างขึ้นเสนอต่ออาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อขอคำแนะนำแก้ไขในส่วนที่ยังบกพร่อง และนำมาปรับปรุงแก้ไข
        5.  นำชุดกิจกรรมที่ได้ปรับปรุงแก้ไข ตามข้อเสนอแนะของอาจารย์ที่ปรึกษาแล้วพร้อมแบบประเมินความเหมาะสมของชุดกิจกรรมที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นไปให้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่านนำชุดกิจกรรมที่ส่งเสริมความสามารถในด้านการคิดวิเคราะห์ที่ปรับปรุงตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญไปทดลองใช้ (Try out) เพื่อวิเคราะห์ประสิทธิภาพ ดังนี้
        6. ทดลองรายบุคคลกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียน วัดบึงน้ำกลัด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษาพิจิตร เขต 2  ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 จำนวน 3 คน  เพื่อตรวจสอบการสื่อความของภาษา เนื้อหา กิจกรรม สื่อ และความเหมาะสมของเวลาที่ใช้ในการปฏิบัติกิจกรรมในแต่ละชุดกิจกรรมและนำนำชุดกิจกรรมที่ปรับปรุงแก้ไขด้านภาษา เวลา สื่อไปใช้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียน วัดวังสำโรง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษาพิจิตร เขต 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 จำนวน 9 คน และนักรียนโรงเรียนวัดเขารวก จำนวน 30 คน  เพื่อหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมที่ส่งเสริมความสามารถในด้านการคิดวิเคราะห์ค่าร้อยละตามเกณฑ์ 75/75
ขั้นตอนที่ 2 การเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ก่อนและหลังเรียนจากชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ โดยใช้รูปแบบการสอนโมเดลซิปปา (CIPPA Model) เรื่องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
            ประชากร ได้แก่ นักเรียนช้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 สังกัดสำนักงานเขตื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิร เขต 2
            กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 โรงเรียนวัดทับหมัน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษาพิจิตร เขต 2 จำนวน 23 คน โดยเลือกแบบเจาะจง
         เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ซึ่งผู้วิจัยได้ดำเนินการสร้างและหาคุณภาพของเครื่องมือ ดังนี้
          1.     ศึกษาเอกสาร หนังสือ ตำรา และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการสร้างแบบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของล้วน   สายยศและ อังคณา    สายยศ (2536, หน้า 136)
           2.     ศึกษานิยามศัพท์ของการคิดวิเคราะห์และจัดทำตารางวิเคราะห์แบบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์เพื่อใช้ในการสร้างแบบแบบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ซึ่งประกอบด้วยการคิดวิเคราะห์ 3 ด้าน คือ วิเคราะห์ความสำคัญ วิเคราะห์ความสัมพันธ์ และวิเคราะห์หลักการ
          3.      กำหนดโครงสร้างของแบบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์
          4.      สร้างแบบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์  ให้ครอบคลุมเนื้อหาและจุดประสงค์ที่จะวัด โดยใช้แบบวัดการคิดวิเคราะห์ที่ประกอบด้วยข้อความ, สถานการณ์ ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาให้นักเรียนตอบแบบวัดที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเป็นปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 45 ข้อ ในแต่ละข้อจะมีคำตอบที่ถูกต้องเพียงข้อเดียวการตรวจให้คะแนนแบบวัดการคิดวิเคราะห์มีเกณฑ์ ดังนี้ คำตอบในแต่ละข้อจะให้คะแนนข้อละ 1 คะแนน ถ้าตอบผิดในแต่ละข้อจะให้ 0 คะแนน ถ้าตอบมากกว่า 1 ข้อ หรือไม่ตอบให้คะแนน 0 คะแนน
        5.      นำแบบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ที่สร้างไปเสนออาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อตรวจพิจารณาแก้ไขให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
       6.       นำแบบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ที่แก้ไขปรับปรุงเสนอผู้เชี่ยวชาญ
       7.   ข้อสอบมาวิเคราะห์หาค่าดัชนีความสอดคล้อง โดยใช้สูตร IOC(เทียมจันทร์ พานิชย์ผลินไชย,มปป, หน้า 181)เลือกข้อสอบที่มีค่าดัชนีความสอดคล้องที่คำนวณได้มากกว่าหรือเท่ากับ 0.50 พบว่าค่า ดัชนีความสอดคล้อง 0.60-1.00
        8. นำแบบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ไปหาคุณภาพ โดยนำไปทดลองกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดทับหมัน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา2554 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 2 จำนวน 35 คน ซึ่งผ่านการเรียนในเนื้อหามาแล้ว
       9. นำแบบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์มาตรวจความสมบูรณ์และรวมคะแนนคัดข้อสอบที่มีค่าอำนาจจำแนก(B) สูงสุดมาสร้างเป็นแบบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์จำนวน 30 ข้อมีค่าอำนาจจำแนกอยู่ ระหว่าง 0.23-0.93  
      10.   คัดข้อสอบที่มีค่าอำนาจจำแนก(B) สูงสุดมาสร้างเป็นแบบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์จำนวน 30 ข้อมีค่าอำนาจจำแนกอยู่ ระหว่าง 0.23-0.93  
      11.นำแบบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ที่คัดเลือกไว้ไปทดสอบกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่4 โรงเรียนวัดทับหมัน ซึ่งเป็นนักเรียนกลุ่มเดิม นำกระดาษคำตอบมาตรวจเพื่อวิเคราะห์หาความเที่ยงทั้งฉบับโดยใช้วิธีของโลเวต (Lovett) พบว่า แบบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.9
   ขั้นตอนที่3การศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์โดยใช้รูปแบบการสอนโมเดลซิปปา (CIPPA Model) เรื่อง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีขั้นตอน ดังนี้
            กลุ่มตัวอย่าง
            กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3  โรงเรียนวัดทับหมัน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา2554 จำนวน 1 ห้องเรียน รวม 23 คน โดยการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ซึ่งเรียนด้วยชุดกิจกรรมมาแล้ว
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
           1.      เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ ชุดกิจกรรมที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ จำนวน 6 ชุด
พร้อมคู่มือการใช้
          2.      เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์
          เป็นแบบปรนัยเลือกตอบจำนวน 30 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมแบบสอบถามจำนวน 12 ข้อ

 แบบแผนการทดลอง
           แบบแผนการทดลองที่ใช้ในการทดลองครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ใช้แบบแผนการวิจัยแบบOne-Group Pretest-Posttest Design (ล้วน   สายยศ และ อังคณา  สายยศ, 2538, หน้า 240

การวิเคราะห์ข้อมูล
ขั้นตอนที่ 1 การสร้างและหาประสิทธิภาพชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ โดยใช้รูปแบบการสอนโมเดลซิปปา (CIPPA Model)เรื่องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับชั้ประถมศึกษาปีที่ 3โดยการหาค่าความเหมาะสมของชุดกิจกรรมนั้นวิเคราะห์ด้วยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนการหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมวิเคราะห์โดยการหาค่าเฉลี่ยร้อยละ
ขั้นตอนที่ 2 การเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ก่อนและหลังเรียนจากชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ โดยใช้รูปแบบการสอนโมเดลซิปปา (CIPPA Model) เรื่องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3วิเคราะห์โดยการหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน แทดสอบความมีนัยสำคัญทางสถิติของความแตกต่างระหว่างคะแนนที่ได้จากผลการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนโดยหาค่t (t-test dependent)
ขั้นตอนที่ 3การศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์โดยใช้รูปแบบการสอนโมเดลซิปปา (CIPPA Model) เรื่อง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3วิเคราะห์ด้วยการหาค่าเฉลี่ย
สรุปผลการวิจัย
     ผลการสร้างชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ โดยใช้รูปแบบการสอนโมเดลซิปปา (CIPPA Model) เรื่อง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ได้ 6 ชุด คือชุดที่1 เรื่อง ทรัพยากรน้ำ ชุดที่ 2 เรื่อง ทรัพยากรดิน ชุดที่ 3 เรื่อง ทรัพยากรป่าไม้ ชุดที่ 4 เรื่อง มลพิษทางอากาศ ชุดที่ 5 เรื่อง ขยะมูลฝอยและชุดที่ 6 เรื่อง ภาวะ โลกร้อนโดยการพิจารณาความเหมาะสมในด้านต่างๆจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก    
  1    ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ โดยใช้รูปแบบการสอนโมเดลซิปปา (CIPPA Model) เรื่อง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 แต่ละชุดมีประสิทธิภาพ ดังนี้ ชุดที่ 1เท่ากับ 79.67/77.00 ชุดที่ 2เท่ากับ  76.30/75.67 ชุดที่ 3เท่ากับ 77.50/76.67 ชุดที่ 4เท่ากับ 78.67/77.33  ชุดที่ 5เท่ากับ78.57/76.33  และชุดที่ เท่ากับ6 78.33/76.00
2. ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนจากชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ โดยใช้รูปแบบการสอนโมเดลซิปปา (CIPPA Model) เรื่อง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคม ศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3.ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่3 ที่มีต่อการเรียนจากชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ โดยใช้รูปแบบการสอนโมเดลซิปปา (CIPPA Model) เรื่อง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม อยู่ในระดับมาก

อภิปรายผล
          จากผลการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ โดยใช้รูปแบบการสอนโมเดลซิปปา (CIPPA Model) เรื่อง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สามารถอภิปรายผลได้ ดังนี้
            1. ผลการสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ โดยใช้รูปแบบการสอนโมเดลซิปปา (CIPPA Model) เรื่อง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สามารถอภิปรายผลได้ ดังนี้
               1.1  ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ โดยใช้รูปแบบการสอนโมเดลซิปปา (CIPPA Model) เรื่อง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีความเหมาะสมระดับมาก ทั้งนี้น่าจะมาจากในการสร้างชุดกิจกรรมผู้วิจัย ได้ศึกษาเอกสาร แนวคิดในการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้  รูปแบบการสอนโมเดลซิปปา (CIPPA Model) พร้อมทั้งได้ศึกษากระบวนการสร้างชุดกิจกรรมการเรียนรู้ใช้แนวคิดในการสร้างชุดกิจกรรมของชัยยงค์   พรหมวงศ์ (2545, หน้า 119-120) คือการประยุกต์ทฤษฎีความแตกต่างระหว่างบุคคล เปลี่ยนแปลงการเรียนการสอนไปจากยึด ครูเป็นแหล่งเรียนรู้หลักมาเป็นการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยให้ผู้เรียนเรียนด้วยการใช้แหล่งการเรียนรู้จากสื่อในชีวิตจริงประจำวันในรูปแบบต่างๆ โดยมีการจัดระบบสื่อการสอนที่บูรณาการกันอย่างเหมาะสม แนวคิดในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างครูกับนักเรียน นักเรียนกับนักเรียน และการนำหลักจิตวิทยามาใช้ในการเรียนรู้ เพื่อให้บรรลุจุดหมายอย่างมีประสิทธิภาพ แล้วจึงนำชุดกิจกรรมการเรียนรู้นั้นไปใช้จริงต่อไป
        2. ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ โดยใช้รูปแบบการสอนโมเดลซิปปา (CIPPA Model) เรื่อง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคม ศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทั้งนี้น่าจะมาจากนักเรียนได้รับการเรียนรู้จากการจัดกระบวนการเรียนการสอนที่ได้วางแผนมาเป็นอย่างดี กิจกรรมการเรียนรู้ฝึกให้นักเรียนคิดอย่างเป็นระบบ มีสื่อประกอบน่าสนใจ เช่นPower Point ประกอบเสียงบรรยายชุดที่ 1 ทรัพยากรน้ำ, การ์ตูนอมิเนชั่นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมชุดที่ 3 ทรัพยากรป่าไม้ และหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ชุดที่ 6 ภาวะโลกร้อน
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามรูปแบบโมเดลซิปปาซึ่งประกอบด้วย7 ขั้นตอน1 ขั้นทบทวนความรู้เดิม 2 ขั้นแสวงหาความรู้ใหม่ 3 ขั้นศึกษาทำความเข้าใจความรู้ใหม่และเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิม 4 ขั้นแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจกับกลุ่ม 5 ขั้นสรุปและจัดระเบียบความรู้ 6 ขั้นแสดงผลงาน และ 7 ขั้นประยุกต์ใช้ความรู้ ซึ่งผู้สอนได้นำเนื้อหา เกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นเรื่องใกล้ตัวผู้เรียน หรืออยู่ในความสนใจของผู้เรียน และสัมพันธ์กับชีวิตจริงสามารถนำไปแก้ปัญหาได้จริง โดยครูได้นำเสนอทั้งในรูปแบบการนำเข้าสู่บทเรียนที่เป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะการคิด ในลักษณะของการวิเคราะห์ความสำคัญ วิเคราะห์ความสัมพันธ์ และวิเคราะห์หลักการ ฝึกให้ผู้เรียนคิดอย่างมีระบบ และเป็นขั้นตอนมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น มีการปฏิบัติกิจกรรมกลุ่ม และในขั้นตอนการสรุปผล มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอภิปรายร่วมกันเพื่อหาแนวทางแก้ไขที่ถูกต้อง ซึ่งนักเรียนเกิดการเรียนรู้และสามารถเข้าใจเรื่องที่เรียนได้ดี ทำให้นักเรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ทางการเรียนหลังเรียนสูง
กว่าก่อนเรียน ซึ่งผลดังกล่าวเป็นไปในทางเดียวกับผลการวิจัยของ สุทธิรัตน์    เลิศจตุรวิทย์ (2544) ได้ทำการศึกษาเรื่องผลการสอนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนซิปปาเพื่อการเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะการวิเคราะห์และเจคติของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ผลการศึกษาพบว่านักเรียนที่เรียนด้วยการสอนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนซิปปาเพื่อการเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนประวัติศาสตร์ ทักษะการวิเคราะห์ และเจคติต่อความรักชาติหลังการทดลองสูงกว่านักเรียนที่เรียนด้วยการสอนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ โดยใช้รูปแบบการสอนโมเดลซิปปา (CIPPA Model) เรื่อง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคม ศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม อยู่ในระดับมาก ที่เป็นเช่นนี้น่าจะเนื่องมาจากการเรียนด้วยชุดกิจกรรมเป็นการสร้างความแปลกใหม่ให้แก่นักเรียน มีสื่อการเรียนที่น่าสนใจประเภทสื่ออิเล็กทรอนิกส์ การ์ตูนอมิเนชั่น มีเกมให้นักเรียนได้มีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนและเหมาะสมกับวัยของนักเรียนนักเรียนมีความกระตือรือร้น การใช้กระบวนการกลุ่ม มีการร่วมกันทำกิจกรรมทำให้นักเรียนมีความสุขในการเรียน มีคำถามที่ได้ฝึกให้นักเรียนได้ใช้ความสามารถในการคิดวิเคราะห์อย่างมีระบบและเป็นขั้นตอน และช่วยให้นักเรียนประสบความสำเร็จในการเรียน นอกจากนั้นขั้นตอนการเรียนในชุดกิจกรรมจะช่วยลดบทบาทของครู เปิดโอกาสให้นักเรียนศึกษาด้วยตนเอง ทำให้มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ได้ดีขึ้น ฝึกให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการเรียนอย่างแท้จริงอีกทั้งยังสนองความแตกต่างระหว่างบุคลด้วย ทำนองเดียวกันกับแนวคิดของชัยยงค์   พรหมวงศ์(2533, หน้า 117)
ข้อเสนอแนะ
            ข้อเสนอแนะในการนำไปใช้
1.ในการนำชุดกิจกรรมการเรียนรู้ไปใช้ครูผู้สอนต้องศึกษา คู่มือการใช้ชุดกิจกรรมให้เข้าใจถึงวิธีการในขั้นตอนต่างๆ และตรวจสอบความพร้อมของห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ต่างๆเพราะสื่อในชุดกิจกรรมบางชุดเป็นสื่อประเภทสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อครูผู้สอนจะสามารถดำเนินการสอนตามกระบวนการได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีอุปสรรคน้อย
2. นักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีปัญหาด้านการอ่านไม่คล่อง ครูผู้สอนควรให้การดูแลอย่างใกล้ชิดและจัดกลุ่มให้นักเรียนได้ปฏิบัติกิจกรรมกลุ่มโดยมีนักเรียน เก่ง ปานกลาง และอ่อนคละกันเพื่อให้นักเรียนได้มีการช่วยเหลือกันภายในกลุ่ม
3. ในการปฏิบัติกิจกรรมกลุ่มหรือกิจกรรมการสำรวจบางครั้งจำเป็นต้องออกนอกห้องเรียนครูผู้สอนคอยกำชับนักเรียนเรื่องความเป็นระเบียบและความปลอดภัยของนักเรียน กิจกรรมควรกำหนดเวลาให้ชัดเจนเหมาะสมกับกิจกรรม
ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป
1.  ควรมีการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยซึ่งเป็นวิชากลุ่มทักษะมีเนื้อหา เรื่องราวเหมาะแก่การฝึกให้นักเรียนได้คิดวิเคราะห์องค์ประกอบทั้ง 3 ด้าน คือ การวิเคราะห์ความสำคัญ การวิเคราะห์ความสัมพันธ์และการวิเคราะห์หลักการนักเรียนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในระดับชั้นที่สูงขึ้นและเนื้อหาที่มีความยากและซับซ้อนให้นักเรียนได้รับการพัฒนากระบวนการคิดที่หลากหลาย
            2. ควรทำการศึกษาเปรียบเทียบความสามารถในการคิดอย่างสร้างสรรค์ หรือการคิดอย่างมีวิจารณญาณ จะช่วยให้ผู้เรียนมีการคิดเป็นแก้ปัญหาเป็น

บรรณานุกรม
 กรมวิชาการ (2544). คู่มือการจัดการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ:
            คุรุสภาลาดพร้าว
กระทรวงศึกษาธิการ.(2546).พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542และแก้ไข
           เพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 . กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์
ชัยยงค์   พรหมวงศ์. (2545). เอกสารประกอบการสอนชุดวิชาเทคโนโลยีการศึกษา
            หน่วยที่ 1-5. นนทบุรี: สำนักเทคโนโลยีทางการศึกษามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
เทียมจันทร์   พาณิชย์ผลินไชย. (ม.ป.ปป). ระเบียบวิธีวิจัย. พิษณุโลก: ภาควิชาการศึกษา
                คณะศึกษาศาสาตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ล้วน   สายยศ และอังคณา. (2538). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 5) กรุงเทพฯ:
                 สุรีวิยาสาส์น
วีระ   สุดสังข์. (2549). การคิด.ใน สนิท   บุญฤทธิ์ (บรรณาธิการ), การคิดวิเคราะห์ คิดอย่าง
           มีวิจารณญาณและสร้างสรรค์ (หน้า 9-13). กรุงเทพฯ:ชมรมเด็ก.
สุทธิรัตน์    เลิสจตุรวิทย์. (2544) การสอนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนซิปปาเพื่อการ
              เรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะการวิเคราะห์.
                 วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกร์มหาวิทยาลัย.





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น