วันเสาร์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

นิสา เที่ยงอยู่:การพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษ เรื่อง เมืองพิจิตร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2


   
บทความวิจัย : การพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านภาษอังกฤษ เรื่อง เมืองพิจิตรสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
นิสา    เที่ยงอยู่ 1 และอมรรัตน์    วัฒนาธร 2

       



การพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษ เรื่อง เมืองพิจิตร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

THE DEVELOPMENT OF ADDITIONAL SUBJECT CURRICULUM TO DEVELOP ENGLISH READING  ABILITY ON MUANG PHICHIT FOR MATTHAYOM 2 STUDENTS.




บทคัดย่อ

                 จุดมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า เพื่อสร้างและคุณภาพหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษ เรื่อง เมืองพิจิตร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2เพื่อทดลองใช้หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษ เรื่อง เมืองพิจิตร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนการสอนตามหลักสูตรารายวิชาเพิ่มเติม เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษ เรื่อง เมืองพิจิตร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

            วิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้า ผู้ศึกษาค้นคว้าได้ดำเนินการตามลักษณะของกระบวนการ วิจัยและพัฒนา (Research and Development) การสร้างและหาความเหมาะสมของหลักสูตร รายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง เมืองพิจิตร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยได้ให้ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่านหาความเหมาะสมของหลักสูตรและเอกสารประกอบหลักสูตร ด้วยการหาค่าเฉลี่ย    และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดลองใช้หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษ เรื่อง เมืองพิจิตร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  กลุ่มที่ศึกษา คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนอนุบาลวังทรายพูน จำนวน 20 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ คือ หลักสูตรและเอกสารประกอบหลักสูตร แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษ เรื่อง เมืองพิจิตร แบบสอบถามความพึงพอใจ ที่มีต่อการเรียนตามหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษ เรื่อง เมืองพิจิตร นำมาหาค่าเฉลี่ย ( ) และค่าส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)นำมาเทียบกับเกณฑ์ ร้อยละ 70 โดยใช้สถิติ t-test แบบ One Sample การประเมินหลักสูตรเป็นการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนตามหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษ เรื่อง เมืองพิจิตร วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ( ) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)

ผลการสร้างหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษ ได้หลักสูตรประกอบด้วย  หลักการและเหตุผล  วิสัยทัศน์  พันธกิจ  จุดมุ่งหมาย  คำอธิบายรายวิชา โครงสร้างรายวิชา ผังมโนทัศน์หน่วยการเรียนรู้    แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้  สื่อและแหล่งเรียนรู้  การวัดและประเมินผล   เกณฑ์การจบหลักสูตรพบว่ามีความเหมาะสมของหลักสูตรอยู่ในระดับมาก (  = 4.41 S.D. = 0.56 ) ผลการหาความเหมาะสมของเอกสารประกอบหลักสูตร ได้เอกสารประกอบหลักสูตร  ซึ่งมีองค์ประกอบ ได้แก่ คู่มือการใช้หลักสูตร แผนการจัดการเรียนรู้ ผลการเรียนรู้ จุดประสงค์การเรียนรู้ สาระการเรียนรู้ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สื่อและแหล่งการเรียนรู้ และการวัดผลประมวลผล ที่มีคุณภาพสามารถนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้ โดยมีผลการประเมินความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก(  =   4.41 S.D. = 0.53 ) ผลการใช้หลักสูตร นักเรียนมีความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษ เรื่อง เมืองพิจิตร หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ.05 ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนการสอนตามหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษ เรื่อง เมืองพิจิตร พบว่าอยู่ในระดับมาก (  =   4.42 S.D. = 0.51 )



คำสำคัญ : หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม, ความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษ, เนื้อหาบริบทท้องถิ่น



Abstract



The main purpose of research were to develop additional subject curriculum to develop English reading ability on MuangPhiichit for Matthayom 2 students  : 1) To create and identify appropriateness of additional subject curriculum to develop English reading ability on MuangPhichit for Matthayom 2 students 2) To experiment and study the results of additional subject curriculum to develop English reading ability on  MuangPhichit for Matthayom 2 students. 3) To study satisfaction of students who studied additional subject curriculum on MuangPhichit  forMatthayom 2 students.

            This research and development has been divided into 3 steps as follows : Firstly, the creation and check out the appropriateness of  curriculum document and supplementary curriculum document, submitted to the 5 specialized experts to consider the appropriateness.The Average and the Standard Deviation have been used for data analysis. Secondly, The experiment and study the result of  additional subject curriculum to develop English reading ability on MuangPhichit for Matthayom 2 students at AnubanWangsaipoon School in the 2nd semester 2011. Twenty students were purposively sampling selected. Curriculum document, supplementary curriculum document, achievement test, reading achievement test have been used in the experiment analysis. Collected data have been analyzed by Average, Standard Deviation and T-test One Sample. Thirdly, the study of satisfaction of students who studied additional subject curriculum to develop English reading ability on MuangPhichit.  Average and Standard Deviation have also been used to analyze data.

            The results of this study. 1) The appropriateness of the creation and check out of curriculum document which  comprises of ,Rationale, Vision, Mission, Purposes, Course description, Structure of time and subject content, Learning-unit map, Leaning activities guide, Leaning materials and resources, Measurement and Evaluation and Criterion of graduation, is at high  level. 2) The appropriateness of supplementary curriculum document (Manual) which comprises of  learning guideline, lesson plans, learning substances, learning purposes, learning management, material and resources, measurement and evaluation and criterion graduation, is at high level  3) The result of addition subject curriculum to develop English reading ability on MuangPhichit for Matthayom 2 students. 3.1) The achievement of posttest after learning by addition subject curriculum to develop English reading ability on MuangPhichit for Matthayom 2 is significantly higher than percentage of 70 at level .05.  3.2) The result of students’ satisfaction after learning by addition subject curriculum to develop English reading ability on MuangPhichit for Matthayom 2 is significantly high level (  =   4.42 S.D. = 0.51 )

Keywords  : Additional Subject Curriculum, English Reading Ability,  Local Contents.



บทนำ

            ในสังคมโลกปัจจุบัน  เป็นสังคมที่สื่อสารอย่างไร้ขอบเขต  ภาษาอังกฤษจึงมีความจำเป็นมากสำหรับปัจจุบัน  เนื่องจากเป็นภาษาสากล ที่ใช้กันทั่วโลก  การเรียนภาษาอังกฤษจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่เลี่ยงไม่ได้เพราะภาษามิใช่เป็นเพียงเครื่องมือในการศึกษา ค้นคว้าหาข้อมูลที่ต้องการ  และเพื่อประกอบอาชีพเท่านั้น  ภาษายังสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการเจรจาต่อรอง เพื่อการแข่งขัน  และความร่วมมือทั้งทางด้าน เศรษฐกิจ และการเมืองได้อย่างมีประสิทธิภาพ  และยังช่วยสร้าง สัมพันธภาพที่ดีระหว่างบุคคล เพราะมีความเข้าใจวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน  ของแต่ละเชื้อชาติ  ทำให้ สามารถปฏิบัติตนต่อกันได้อย่างถูกต้อง (เพ็ญลักษณ์    เทศขยัน ,2545 , หน้า 11)อีกทั้ง พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  พุทธศักราช 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติมพุทธศักราช 2545 มาตรา24 (3) กำหนดให้จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนเรียนรู้จากประสบการณ์จริง  ฝึกการปฏิบัติ ให้ทำได้  คิดเป็น ทำเป็น รักการอ่าน และเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง และ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 4 ในพระราชบัญญัตินี้ว่า การศึกษาหมายถึง  กระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคล สังคม  โดยการถ่ายทอดความรู้ การอบรม  การสืบสานทางวัฒนธรรมการสร้างสรรค์จรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ  การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อม  สังคมการเรียนรู้ และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต  มาตรา 7 ปลูกฝังจิตสำนึกที่ถูกต้อง  มีความภาคภูมิใจ ในความเป็นไทย รู้จักรักษาผลประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติ  ส่งเสริมเอกลักษณ์  วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นและความรู้อันเป็นสากล  ตลอดจนอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

  ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาพุทธศักราช 2551  ได้กำหนดการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามโครงสร้างหลักสูตรทั้ง 8 กลุ่มสาระ  และเป็นหลักสูตรการศึกษาที่มีโครงสร้างยืดหยุ่น ทั้งด้านสาระการเรียนรู้  และยังได้กำหนดเวลาเรียนเพิ่มเติมทั้งในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา  ให้จัดเป็นรายวิชาเพิ่มเติม  หรือกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน  และพิจารณาให้สอดคล้องกับความพร้อม  จุดเน้นของสถานศึกษา และหลักเกณฑ์การจบหลักสูตร (หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 )  ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ ได้กำหนดสาระสำคัญไว้ 4 สาระ ได้แก่ 4 ภาษาเพื่อการสื่อสาร  ภาษาและวัฒนธรรม ภาษากับความสัมพันธ์ กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น และภาษากับความสัมพันธ์ชุมชนและโลก  โดยมุ่งหวังให้นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อภาษาต่างประเทศ  สามารถใช้ภาษาต่างประเทศในการสื่อสารในสถานการณ์ต่างๆ  แสวงหาความรู้ ประกอบอาชีพ และศึกษาในระดับที่สูงขึ้น  รวมทั้งมีความรู้ความเข้าใจ  เรื่องราวและวัฒนธรรมอันหลากหลายของประชาคมโลก และสามารถ และสามารถถ่ายทอดความรู้ความคิดและวัฒนธรรมไปยังสังคมโลกได้อย่างสร้างสรรค์

            สำหรับการเรียนการสอนภาษาอังกฤษนั้น การอ่านเป็นทักษะที่มีความสำคัญมาก ทั้งในชีวิตประจำวัน  การทำงานหรือการศึกษาวิชาการต่างๆ   เพราะการอ่านภาษาอังกฤษ เป็นประตูไปสู่ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี อันหลากหลาย  ผู้ที่สามารถอ่านภาษาอังกฤษได้เข้าใจอย่างถ่องแท้  และสามารถจับใจความได้ อย่างถูกต้องครบถ้วน  จะสามารถใช้ประโยชน์จากการอ่านในชีวิตประจำวันได้มากขึ้น  สามารถติดต่อข้อมูลข่าวสาร จากหนังสือ วารสารทางวิชาการ  คอมพิวเตอร์ สื่อสิ่งพิมพ์  ตลอดจนแหล่งความรู้ที่ทันสมัยอื่นๆ การอ่านจึงเป็นเครื่องมือค้นคว้าความรู้ต่างๆ

จากรายงานผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน พบว่า ผลสัมฤทธิ์ในรายวิชาภาษาอังกฤษของโรงโรงเรียนอนุบาลวังทรายพูน มีคะแนนต่ำกว่าระดับประเทศ คือ มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 11.43 และอีกทั้งผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาภาษาอังกฤษค่อนข้างต่ำ จึงทำให้พบปัญหาทางการจัดการเรียนรู้ให้กับนักเรียนในด้านการอ่านภาษาอังกฤษ จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้นผู้ศึกษาค้นคว้าจึงสนใจที่จะพัฒนาหลักสูตร รายวิชาเพิ่มเติม เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษ โดยใช้บริบทท้องถิ่น โดยมุ่งหวังที่จะพัฒนาความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนให้สูงขึ้น ซึ่งเนื้อหาสาระที่นำมาใช้ในการสร้างบทอ่านดังกล่าวนั้นเป็น เนื้อหาสาระของท้องถิ่นของตนเอง เป็นสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวนักเรียนจะทำให้ผู้เรียนมีความสนใจมากขึ้น

การพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษ เรื่องเมืองพิจิตร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 นั้น เป็นหลักสูตรที่พัฒนาขึ้นเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของชุมชนและบริบทของผู้เรียน และพัฒนาความสามารถด้านการอ่านของนักเรียนให้สามารถอ่านภาษาอังกฤษได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนได้ รวมถึงการเรียนรู้ประวัติความเป็นมา ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมของจังหวัดพิจิตรและเพื่อพัฒนาความสามารถในด้านอื่นๆต่อไป



จุดมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า

1.   เพื่อสร้างและหาคุณภาพหลักสูตร รายวิชาเพิ่มเติมเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเรื่อง เมืองพิจิตร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

2.   เพื่อทดลองใช้หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษ เรื่อง เมืองพิจิตร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

3.   เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนการสอนตามหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเรื่อง เมืองพิจิตร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

วิธีดำเนินการวิจัย

การพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษ เรื่อง เมืองพิจิตร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนอนุบาลวังทรายพูน อำเภอวังทรายพูน จังหวัดพิจิตร ผู้ศึกษาค้นคว้าได้ดำเนินการศึกษาค้นคว้าตามลำดับขั้นตอนดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 การสร้างและหาคุณภาพหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษ เรื่อง เมืองพิจิตร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

ผู้ศึกษาค้นคว้าได้ศึกษาเอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตร บริบทของจังหวัดพิจิตร และนำมาเป็นแนวทางในการสร้างหลักสูตรและเอกสารประกอบหลักสูตร



เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า

                   1.หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษ เรื่อง เมืองพิจิตร  สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่2

                   2.  เอกสารประกอบหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษ เรื่อง เมืองพิจิตร ประกอบด้วยคู่มือการใช้หลักสูตรสาระเพิ่มเติมเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษ เรื่อง เมืองพิจิตร

                   ขั้นตอนที่ 2 การทดลองใช้หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเรื่อง เมืองพิจิตร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

                   กลุ่มที่ศึกษา  ได้แก่  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนอนุบาลวังทรายพูน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาพิจิตรเขต 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 จำนวน 20 ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง

เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล

แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษ

ขั้นตอนที่ 3 การประเมินความพึงพอใจของผู้เรียน ที่มีต่อการเรียนการสอน ตามหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษ เรื่อง เมืองพิจิตร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

กลุ่มที่ศึกษา  ได้แก่  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนอนุบาลวังทรายพูน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาพิจิตรเขต 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 จำนวน 20 ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง



เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล

          แบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนการสอนตามหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษ  เรื่อง  เมืองพิจิตร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2



การวิเคราะห์ข้อมูล



            ขั้นตอนที่ 1 การสร้างและหาคุณภาพหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษ เรื่อง เมืองพิจิตร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 .ในการหาค่าความเหมาะสมของหลักสูตรและเอกสารประกอบหลักสูตรนั้น วิเคราะห์ด้วยค่าเฉลี่ย (Mean) และหาค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)

ขั้นตอนที่ 2 การทดลองใช้หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่าน ภาษาอังกฤษเรื่อง เมืองพิจิตร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยการหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและเปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษเรื่อง เมืองพิจิตร กับ เกณฑ์ร้อยละ 70 ด้วยสถิติ t-test (One Sample test)

ขั้นตอนที่ 3 การประเมินความพึงพอใจของผู้เรียน ที่มีต่อการเรียนการสอน ตามหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษ เรื่อง เมืองพิจิตร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2ด้วยการหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

สรุปผลการวิจัย

          หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษ เรื่อง เมืองพิจิตร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีความเหมาะสมในระดับมาก

เอกสารประกอบหลักสูตร มีความเหมาะสมขององค์ประกอบต่างๆของเอกสารประกอบหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษ เรื่องเมืองพิจิตร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยรวมอยู่ในระดับมาก

ความสามารถด้านการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษ เรื่อง เมืองพิจิตร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 โดยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

                        ความพึงพอใจต่อการเรียนการสอนตามหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษ เรื่อง เมืองพิจิตร ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยรวม อยู่ในระดับมาก

อภิปรายผล

            จากการศึกษาค้นคว้า การพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษ เรื่อง เมืองพิจิตร สำหนับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ผู้ศึกษาค้นคว้าได้นำข้อค้นพบมาอภิปราย โดยแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ตามจุดมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า

            1.ผลการสร้างและหาความเหมาะสมของหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษ เรื่อง เมืองพิจิตร พบว่า

                          1.1 ผลการสร้างและหาความเหมาะสมของหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เพื่อ พัฒนาความสามารถด้านการอ่านเรื่อง เมืองพิจิตร โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก  โดยผู้ศึกษาค้นคว้า ได้ดำเนินการสร้างหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษ เรื่องเมืองพิจิตร ซึ่งเป็นหลักสูตรที่พัฒนาการเรียนรู้จากบริบทใกล้ตัวนักเรียน นำมาใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้ตามแนวปฏิรูปการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติที่มีความมุ่งเน้นให้นักเรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง โดยอาศัยบริบทในท้องถิ่นเป็นสำคัญ ผู้เรียนต้องได้เรียนจากประสบการณ์จริง จากสภาพแวดล้อมรอบตัว สิ่งที่ใกล้ตัว สภาพแวดล้อม และสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนและชุมชน โดยหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษ เรื่อง เมืองพิจิตร ได้นำข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ที่น่าสนใจ ประเพณี วัฒนธรรม ประวัติความเป็นมา และของดีของฝากของจังหวัดพิจิตร เช่น บึงสีไฟ วัดท่าหลวง ประเพณีแข่งเรือยาว พระเครื่องหลวงพ่อเงิน ซึ่งได้นำมาพัฒนาตามแนวทางการพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม โดยได้ศึกษาบริบทของผู้เรียน สภาพปัจจุบัน และและความต้องการของนักเรียนและชุมชนและได้นำมากำหนดเป็น  วิสัยทัศน์  พันธกิจ และจุดมุ่งหมายของหลักสูตร เพื่อให้เกิดประโยชน์และสนองต่อความต้องการของนักเรียนและชุมชน ดังที่ วิชัย   วงษ์ใหญ่ (2537) ได้ให้แนวคิดว่า  หลักสูตร คือมวลประสบการณ์ทั้งปวงที่จัดให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ครบถ้วนตามมาตรฐานคุณภาพสากล มาตรฐานความเป็นชาติไทย และมาตรฐานที่ชุมชนท้องถิ่นต้องการ เช่นเดียวกันกับ  โอลิวา (1992) ได้สรุปความหมายของหลักสูตรว่า  หมายถึงมวลประสบการณ์ ความรู้ต่างๆที่จัดให้ผู้เรียนทั้งในและนอกห้องเรียน ซึ่งมีลักษณะเป็นกิจกรรม โครงการหรือแผน เพื่อเป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนได้พัฒนาและมีคุณลักษณะตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ โดยได้ดำเนินการการศึกษาขอบข่ายและเป้าหมายของการจัดทำหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม รวมถึงเอกสารที่เกี่ยวข้องและคำแนะนำในการสร้างหลักสูตร จากผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน ทีมีความรู้ ความสามารถด้านหลักสูตรและการสอนภาษาอังกฤษ ทำให้ได้เนื้อหาในเรื่องเมืองพิจิตร และองค์ประกอบที่มีความสมบูรณ์ในการสร้างหลักสูตร  ได้แก่ หลักการและเหตุผล  วิสัยทัศน์  พัธกิจ  จุดมุ่งหมาย  การวิเคราะห์หลักสูตร  คำอธิบายรายวิชา ผังมโนทัศน์หน่วยการเรียนรู้  หน่วยการเรียนรู้ กำหนดการจัดการเรียนรู้  แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้  สื่อและแหล่งเรียนรู้ การวัดผลประเมินผลและเกณฑ์การจบหลักสูตร

                1.2 ผลการสร้างเอกสารประกอบหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม  เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษ ในส่วนของคู่มือการใช้หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษ เรื่อง เมืองพิจิตร สำหรับครู  ประกอบด้วย 3 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1 คำชี้แจงสำหรับครูผู้สอน ส่วนที่ 2  หน่วยการเรียนรู้จำนวน 4 หน่วย และแผนการเรียนรู้จำนวน 8 แผน ส่วนที่ 3 แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษ และส่วนของคู่มือการใช้หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษ เรื่อง เมืองพิจิตร สำหรับนักเรียน ประกอบด้วย 3 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1 คำชี้แจงสำหรับนักเรียน  ส่วนที่ 2 เอกสารประกอบการเรียน ซึ่งประกอบด้วย ใบความรู้ จำนวน 16 ใบ และใบงาน จำนวน 16 ใบ ส่วนที่ 3 แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการอ่านจับใจความ  โดยผ่านการพิจารณาความเหมาะสมจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน โดยมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ผู้ศึกษาค้นคว้าได้ดำเนินการสร้าง เอกสารประกอบหลักสูตร โดยได้ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการอ่าน และความสามารถของผู้เรียน นำมาใช้ในการวางแผนในการจัดทำเอกสารประกอบหลักสูตร เพื่อให้เนื้อหาและกิจกรรมมีความเหมาะสมกับผู้เรียน และได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญในเรื่องของแบบทดสอบวัดความสามารถด้านการอ่านจับใจความ เช่น การใช้คำถามไม่ควรใช้ในรูปปฏิเสธ และ ข้อผิดพลาดในโครงสร้างไวยกรณ์ บางแห่ง ซึ่งได้นำมาปรับปรุงแก้ไขให้มีความถูกต้องเหมาะสมและตรงตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ในหลักสูตร  โดยจากการประเมินของผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน มีผลการประเมินความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยองค์ประกอบที่มีค่าเฉลี่ยความเหมาะสมต่ำสุด คือ ผลการเรียนรู้ และจุดประสงค์การเรียนรู้

2.ผลการทดลองใช้หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เพื่อพัฒนาความสามารถ ด้านการอ่านภาษาอังกฤษ เรื่อง เมืองพิจิตร พบว่า

                        2.1 ความสามารถด้านการอ่านจับใจความ เรื่อง เมืองพิจิตร สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 โดย มีค่าเฉลี่ย  =  23.95  S.D. = 5.35 คิดเป็นร้อยละ 79.83 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05ทั้งนี้อาจเนื่องมาจาก หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษ เรื่อง เมืองพิจิตร ที่ผู้ศึกษาค้นคว้าได้สร้างขึ้น ได้จัดเนื้อหาที่เหมาะสม และใช้เนื้อหาบริบทท้องถิ่นของนักเรียนที่นักเรียนคุ้นเคย ซึ่งช่วยให้ง่ายต่อความเข้าใจ ทำนองเดียวกันกับดารณี   ชาจิตตะ (2548) ได้สร้างบทเรียนการอ่านภาษาอังกฤษ โดยใช้บริบทท้องถิ่นสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเกาะแต้วพิทยาสรรค์ มีประสิทธิภาพด้านกระบวนการและผลลัพธ์ของบทเรียน 80.84/80.58 ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดคือ 80/80 และผลสัมฤทธิ์ในการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนกลุ่มทดลอง หลังจากการใช้บทเรียนการอ่านภาษาอังกฤษที่เน้นบริบทท้องถิ่น สูงกว่าก่อนการใช้บทเรียนการอ่านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และมีผลสัมฤทธิ์ในการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนกลุ่มทดลองหลังการใช้บทเรียนการอ่านที่เน้นบริบทท้องถิ่นสูงกว่าผลสัมฤทธิ์ในการอ่านภาษาอังกฤษ ที่ใช้บทเรียนการอ่านภาษาอังกฤษ แบบปกติของนักเรียนกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนี้ ยังสอดคล้องกับ จรัส  ภูปานนิล (2553) ที่ได้พัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษด้วยบทเรียนที่เน้นเนื้อหาบริบทท้องถิ่นโดยใช้รูปแบบการสอนแบบปฏิสัมพันธ์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1ซึ่งพบว่าความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังการใช้บทเรียนที่เน้นเนื้อหาบริบทท้องถิ่นสูงกว่าก่อนใช้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และนอกจากนี้ แนวทางการจัดการเรียนรู้ ของหลักสูตรยังได้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง โดยครูเป็นเพียงผู้คอยดูแลและให้คำแนะนำแก่นักเรียน มีการวัดผลประเมินผลจากสภาพจริงทำให้นักเรียนมีความสามารถด้านการอ่านจับใจความสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด

            2.2 ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษ เรื่อง เมืองพิจิตร พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษ โดยรวมอยู่ในระดับมาก  ทั้งนี้อาจเนื่องมาจาก การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เป็นกิจกรรมที่เน้นให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้า ฝึกปฏิบัติและเรียนรู้ด้วยตนเอง ตามความสามารถของผู้เรียน เช่นเดียวกับ

นิววรรณ   ทิมเขียว และคณะ (2552) ได้ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนการสอนตามหลักสูตรสาระเพิ่มเติม เรื่อง แก่งคุดคู้ จากการศึกษาพบว่า ความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนตามหลักสูตรอยู่ในระดับมาก ซึ่งสอดคล้องกับ วิทยา  วังธิยอง (2549, บทคัดย่อ) ได้ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนตำบลบ้านแป้น  อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน จากการศึกษาพบว่า  ความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนตำบลบ้านแป้น  อำเภอเมือง  จังหวัดลำพูน  ทั้ง 4 ด้าน  โดยเฉลี่ยมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก   ดังนี้

            1.นักเรียนมีความพึงพอใจต่อด้านหลักสูตรสถานศึกษาอยู่ในระดับมาก

            2.นักเรียนมีความพึงพอใจต่อด้านการจัดกระบวนการเรียนการสอนอยู่ในระดับมาก

            3.นักเรียนมีความพึงพอใจต่อด้านการจัดสภาพแวดล้อมในโรงเรียนอยู่ในระดับมาก

            4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อด้านการวัดและประเมินผลอยู่ในระดับมาก    

นอกจากนี้  ยังส่งผลให้นักเรียนได้เรียนรู้ข้อมูลของจังหวัดของตน และเกิดความภาคภูมิใจในท้องถิ่นของตนเองและมีความสนใจในการศึกษาเนื้อหามากยิ่งขึ้น



ข้อเสนอแนะ

ข้อเสนอแนะทั่วไป                                                           

1.เนื่องจากหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษ เรื่อง เมืองพิจิตร มีคำศัพท์ที่เป็นศัพท์เฉพาะ หรือชื่อสถานที่ ชื่อบุคคลต่างๆ ที่นักเรียนไม่คุ้นเคย จึงควรฝึกให้นักเรียน ศึกษาเพิ่มเติม และ ทบทวนคำศัพท์ก่อนเรียนทุกครั้ง จะช่วยให้นักเรียนเข้าใจเนื้อหาได้ง่ายขึ้น

2.จากเนื้อหาที่เกี่ยวกับสถานที่ต่างๆของจังหวัดพิจิตร ที่ได้นำมาจัดทำเป็นบทอ่านให้กับนักเรียน หากมีการนำนักเรียนไปเรียนรู้และเห็นสถานที่จริง จะช่วยให้นักเรียนจดจำเนื้อหาได้ดีขึ้น

3.การประเมินความสามารถด้านการอ่าน ของนักเรียนควรมีการแจ้งผลให้ผู้เรียนทราบหลังจากเรียนในแต่ละเรื่องอยู่เสมอ เพื่อให้นักเรียนปรับปรุงและพัฒนาความสามารถของตนให้ดีขึ้นและเพื่อกระตุ้นให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้มากขึ้น

ข้อเสนอแนะในการศึกษาค้นคว้าครั้งต่อไป

1. การพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษ เป็นหลักสูตรที่ต้องการพัฒนาด้านการอ่านจับใจความและเกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับท้องถิ่นของตนโดยใช้เนื้อหาบริบทท้องถิ่น จึงสามารถที่จะใช้เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับบริบทของจังหวัดอื่นที่ตนเองอาศัยอยู่ เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านและให้เกิดความรู้เกี่ยวกับท้องถิ่นของตนเองได้ด้วย

2. การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติและเรียนรู้ด้วยตนเอง ควรให้พื้นฐานต่างๆ เช่น ด้านคำศัพท์ ไวยกรณ์ โครงสร้างประโยค ให้กับนักเรียนก่อน เพื่อให้นักเรียนสามารถพัฒนาตนเองได้ตรงตามจุดประสงค์ที่ตั้งไว้

3.ควรมีการจัดเนื้อหาสาระ ที่บูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น เช่น ภาษาไทย วิทยาศาสตร์ เพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนมากขึ้น





บรรณานุกรม



กระทรวงศึกษาธิการ . (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช2551. กรุงเทพ :  โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.

จรัส  ภูปานนิล (2553) การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษด้วยบทเรียนที่เน้นเนื้อหาบริบทท้องถิ่นโดยใช้รูปแบบการสอนแบบปฏิสัมพันธ์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1ซึ่งพบว่าความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ดารณี   ชาจิตตะ. (2548). การสร้างบทเรียนการอ่านภาษาอังกฤษ  โดยใช้บริบทท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเกาะแต้วพิทยาสรรค์. วิทยานิพนธ์. ครุศาสตร์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.

นิววรรณ   ทิมเขียว และคณะ (2552). การพัฒนาหลักสูตรสาระเพิ่มเติม เรื่อง แก่งคุดคู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง  กศ.ม. สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

พิทยา  คำตาเทพ. (2542). การพัฒนาบทเรียนภาษาอังกฤษ โดยใช้เนื้อหาท้องถิ่นสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านใหม่สามัคคี อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

เพชรรัตน์   บุญเรือง และคณะ. (2549). การพัฒนาชุดกิจกรรมส่งเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ เรื่อง ของดีเมืองเพชรบูรณ์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง. ศศ.ม.,มหาวิทยาลัยนเรศวร.

โรงเรียนอนุบาลวังทรายพูน. (2553). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโรงเรียนอนุบาลวังทรายพูน

วิทยา  วังธิยอง. (2549). ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียน ตำบลบ้านแป้น อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน.


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น