วันเสาร์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ภัคจิรัสย์ สัตบุศย์ :การพัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง เวลา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3


การพัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง เวลา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
THE DEVELOPMENT OF LEARNING AREA OF MATHEMATICS SKILL DRILLS ON TOPIC OF “TIME” IN MATHEAMTICHS SUBJECT FOR PRATHOMSUKSA 3 STUDENTS.


บทคัดย่อ

            การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย คือ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะ
คณิตศาสตร์เรื่อง เวลา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่3 ตาม
เกณฑ์ 75/75  2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้แบบฝึก
ทักษะคณิตศาสตร์เรื่องเวลา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 
3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์เรื่อง เวลา กลุ่ม
สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 การวิจัยครั้งนี้ แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน
คือ
              ขั้นตอนที่ 1 การสร้างและหาประสิทธิภาพแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์เรื่อง เวลา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
              ขั้นตอนที่ 2 การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์เรื่อง เวลา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 
              ขั้นตอนที่ 3 การศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์เรื่อง เวลา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3  
              ผลการศึกษาค้นคว้าพบว่า
                   1)  แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์เรื่อง เวลา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมและสอดคล้องที่จะนำไปใช้กับนักเรียนโดยการพิจารณาของผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่านและมีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.29/80.11 ซึ่งสูงกว่าที่เกณฑ์กำหนด  
                            2)  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01  
              3) การศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง เวลา มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด

Abstract

              The  purpose of this study were  1)  to create and study the efficiency of the mathematics skill drills on topic of “Time” in mathematics subject for phatomsuksa 3 students according to standardize criteria 75/75.  2)  to compared the students learning achievement before and after using the mathematics skill drills on topic of “Time” in mathematics subject for phatomsuksa 3 students.  3)  and to study the students satisfaction towards the mathematics skill drills on topic of “Time” in mathematics subject for phatomsuksa 3 students. The study were conducted according to the research and development methodology which comprised 3 steps. 
         Step 1 was to create and study the efficiency of the mathematics skill drills on topic of “Time” in mathematics subject for phatomsuksa 3.
         Step 2 was to compared the students learning achievement before and after using the mathematics skill drills on topic of “Time” in mathematics subject for phatomsuksa 3 students.
         Step 3 was study the students satisfaction towards the mathematics skill drills on topic of “Time” in mathematics subject for phatomsuksa 3                    Research result were,
         1)  the mathematics skill drills on topic of “Time” in mathematics subject for phatomsuksa 3 students was suitable and compliance to apply with student from the consideration of 5 experts and meet the acceptance criteria as 80.29/80.11, which were higher than the 75/75.

          2)  The learning achievement scores of the students on posttest were higher than the scores of pretest with the statistical significance of .01.  

         3)  The students level of statistion towards the mathematics skill drills on topic of “Time” in mathematics subject for phatomsuksa 3 students was at the highest .

บทนำ

           หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทศักาช 2551 มุ่งพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เป็นคนดี มีปัญญา มีความสุข และมีความเป็นไทย มีศักยภาพในการศึกษาต่อและประกอบอาชีพ จึงกำหนดจุดหมายซึ่งถือเป็นมาตรฐานการเรียนรู้ให้ผู้เรียนเกิดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ คือเห็นคุณค่าของตนเองมีวินัยในและปฏิบัติตนตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนาหรือศาสนาที่ตนนับถือ มีคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมอันพึงประสงค์ มีความคิดสร้างสรรค์ ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน รักการอ่าน รักการเรียน รักการเขียน และรักการค้นคว้า มีความรู้อันเป็นสากล รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงและความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการ มีทักษะและศักยภาพในการจัดการ การสื่อสาร การใช้เทคโนโลยี ปรับวิธีการคิด วิธีการทำงานได้เหมาะสมกับสถานการณ์ มีทักษะกระบวนการ โดยเฉพาะทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ทักษะการคิด การสร้างปัญญา และทักษะในการดำเนินชีวิต (กระทรวงศึกษาธิการ,2544,หน้า 4) คณิตศาสตร์  มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาความคิดของมนุษย์ ทำให้มนุษย์มีความคิดสร้างสรรค์ คิดอย่างมีเหตุผล เป็นระบบระเบียบมีแบบแผนสามารถวิเคราะห์ปัญหาและสถานการณ์ได้อย่างถี่ถ้วน รอบคอบทำให้สามารถคาดการณ์ วางแผนตัดสินใจและแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม(กรมวิชาการ,2545,หน้า 1) คณิตศาสตร์เป็นวิชาที่ใช้ในการพิสูจน์อย่างมีเหตุผลว่าสิ่งที่พิสูจน์นั้นจริงหรือไม่ด้วยวิธีการคิดเราสามารถนำคณิตศาสตร์ไปแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและอุตสาหกรรมต่างๆคณิตศาสตร์ช่วยให้มนุษย์เป็นผู้มีเหตุผลสามารถคิดในสิ่งใหม่ๆคณิตศาสตร์จึงเป็นรากฐานแห่งความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี คณิตศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ (ยุพิน พิพธกุล,2537,หน้า 1) วิชาคณิตศาสตร์เป็นวิชาที่ช่วย ก่อให้เกิดความเจริญก้าวหน้าทั้งทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โลกปัจจุบันเจริญขึ้นเพราะการคิดค้นทางวิทยาศาสตร์ซึ่งต้องอาศัยความรู้ทางคณิตศาสตร์ดังคำกล่าวของ คาร์ล ฟรีดริค เกาส์ (Carl Friedrich Gauss) ซึ่งเป็นนักคณิตศาสตร์ชาวเยอรมันที่มีชื่อเสียงในคริสศตวรรษที่ 19 ว่า คณิตศาสตร์เป็นราชินีของวิทยาศาสตร์ และเลขคณิตเป็นราชินีของ(Mathematics is the queen of Sciences and Arithmetic is the Queen of mathemat) นอกจากนี้คณิตศาสตร์ยังช่วยพัฒนาให้แต่ละบุคคลเป็นคนที่สมบูรณ์ เป็นพลเมืองดี เพราะคณิตศาสตร์ช่วยเสริมสร้างการความมีเหตุผล ความเป็นคนช่างคิด มีการวางแผนในการทำงาน มีความสามารถในการตัดสินใจมีความรับผิดชอบต่อกิจการงานที่ได้รับมอบหมายตลอดจนมีลักษณะของความเป็นนำในสังคม (สิริพร ทิพย์คง,2545,หน้า 1 จะเห็นได้ว่าการเรียนการสอนโดยการใช้สื่อจะส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนสูงขึ้น เพราะสื่อเหล่านั้นทำให้ผู้เรียนปฏิบัติ วิเคราะห์  เพื่อสร้างความรู้ด้วยตนเอง  จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ครูต้องใช้สื่อสำหรับให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะที่เป็นรูปธรรม ประกอบคำอธิบายซึ่งจะเป็นวิธีหนึ่งที่สามารถแก้ปัญหาการ จัดกิจกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ได้ดี  เกิดความภาคภูมิใจของผู้เรียน มีเจตคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์ และแบบฝึกเป็นเครื่องมือที่สำคัญประเภทหนึ่งที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเรียน  การสอนให้ดีขึ้น  ซึ่งน่าจะนำมาใช้ในการแก้ปัญหาการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ได้ดี  เนื่องจากคณิตศาสตร์เป็นวิชาทักษะ  จำเป็นต้องมีการฝึกอย่างเพียงพอ ซึ่งการฝึกทักษะนั้นเป็นส่วนหนึ่งของการจัดกิจกรรม  การเรียนการสอน เมื่อครูได้สอนเนื้อหาหลักการ แนวคิดเรื่องใดเรื่องหนึ่งจนนักเรียนเกิดความเข้าใจแล้ว  ขั้นต่อไปครูจำเป็นต้องจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้ฝึกฝนให้มีความชำนาญ คล่องแคล่ว ถูกต้อง แม่นยำ รวดเร็ว  หรือที่เรียกว่าฝึกฝนให้เกิดทักษะ ซึ่งการฝึกทักษะนั้นจะอาศัยเฉพาะแบบเรียนและแบบฝึกหัดในแบบเรียนอย่างเดียวนั้น  ไม่ช่วยให้นักเรียนเข้าใจถึงสิ่งที่เรียนอย่างเพียงพอ นอกจากนี้แบบฝึกที่มีอยู่พบว่ามีหลาย ๆ เรื่องปนกัน ทำให้นักเรียนไม่สามารถเลือกฝึกในสิ่งที่บกพร่องได้    จึงทำให้นักเรียนไม่กระตือรือร้นเท่าที่ควร  
             จากผลการสอบประเมินคุณภาพระดับชาติ  (NT)  วิชาคณิตศาสตร์  ของนักเรียนโรงเรียนวัดคงคาราม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3  ปีการศึกษา  2551  นักเรียนได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ  .64  และปีการศึกษา  2553  นักเรียนได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ  .61  ซึ่งอยู่ในระดับที่น่าพอใจ  แต่จากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ผ่านมา พบว่า นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ยังมีปัญหาการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์  เรื่องเวลา ในสาระที่ 2  การวัด โดยนักเรียนส่วนใหญ่  ไม่สามารถอ่านหรือบอกเวลาจากนาฬิกาแบบเข็มได้  ปัญหาสำคัญที่พบ  คือ  1)  นักเรียนเกิดความสับสนในการบอกเวลาหลัง  12  นาฬิกา  และ  2)  นักเรียนบอกเวลาเป็นนาทีหรือวินาทีไม่ถูกต้อง  ซึ่งผู้สอนได้พยายามปรับปรุงวิธีการสอนเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวมาโดยตลอด
           จากปัญหาและความสำคัญดังที่ได้กล่าวมา  ผู้ศึกษาค้นคว้าจึงสนใจที่จะสร้างแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องเวลา ซึ่งเป็นเนื้อหาที่นักเรียนเข้าใจยากแม้จะมีการเรียนพื้นฐานมาตั้งแต่   ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 นักเรียนหลายคนไม่สามารถบอกเวลาได้ถูกต้อง ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญมากที่นักเรียนจะต้องได้รับการฝึกฝนเป็นอย่างดี รูปแบบของแบบฝึกทักษะที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ ได้จัดลำดับเนื้อหาและประสบการณ์เป็นขั้นตอนย่อย ๆ  ต่อเนื่องกันจากง่ายไปยาก โดยยึดหลักจิตวิทยาในการฝึก  การสร้างแรงจูงใจ และทฤษฎีการเรียนรู้ คือ กฎแห่งการฝึกหัดของธอร์นไดค์ ซึ่งเน้นการฝึกหัดและการกระทำซ้ำบ่อย ๆ เพื่อให้เกิดความชำนาญโดยใช้รูปแบบที่หลากหลายเพื่อให้ผู้เรียนได้ศึกษาจนเกิดความรู้  ความเข้าใจ  และฝึกฝนจนเกิดทักษะในการอ่านและบอกเวลา ซึ่งในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้มีส่วนช่วยแก้ปัญหาการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ เรื่องเวลา  ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 3  และเป็นแนวทางในการจัดรูปแบบการเรียนการสอนที่เหมาะสมและเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการศึกษาชาติต่อไป
จุดมุ่งหมายของการศึกษา
             1. เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องเวลา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ตามเกณฑ์ 75/75
             2.เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์เรื่อง เวลา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 
             3.เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง เวลา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 

วิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้า

     ในการพัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์เรื่อง เวลา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3ผู้ศึกษาได้ดำเนินการศึกษาตามลักษณะของกระบวนการวิจัยเชิงพัฒนา ( Research of Development ) ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนดังนี้
              ขั้นตอนที่ 1  การสร้างและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์เรื่อง เวลา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
                ในการสร้างและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องเวลา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ผู้ศึกษาผู้ศึกษาค้นคว้าได้ศึกษาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เป็นแนวทางในการสร้างแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์เรื่อง เวลา จำนวน 7 ชุด ประกอบด้วย
                1.      แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ ชุดที่ 1  เรื่องนาฬิกา
              2.  แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ ชุดที่ 2  เรื่องการบอกเวลากลางวันและกลางคืน
               3.      แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ ชุดที่  3  เรื่องการบอกเวลาเป็นชั่วโมงและนาที
               4.      แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ ชุดที่  4  เรื่องการบอกเวลาโดยใช้จุดและการอ่าน
               5.      แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ ชุดที่  5  เรื่องการบันทึกเหตุการณ์หรือกิจกรรมที่ระบุเวลา
              6.      แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ ชุดที่  6  เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างเวลา
              7.      แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ ชุดที่  7  เรื่องโจทย์ปัญหาเกี่ยวกับเวลา   
            และภายในแบบฝึกแต่ละแบบฝึกจะแบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1  ขั้นศึกษาทำความเข้าใจเนื้อหา ขั้นตอนที่ 2 ขั้นตรวจสอบความเข้าใจ ขั้นตอนที่ 3 ขั้นการฝึกทักษะ ขั้นตอนที่ 4  ขั้นการนำความรู้ไปใช้ ขั้นตอนที่ 5 ขั้นการวัดผลประเมินผลจากนั้นนำแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง เวลาที่สร้างขึ้นเสนอต่อผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน เพื่อพิจารณาความเหมาะสมแบบฝึกทักษะ จากนั้นนำมาปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะ และนำไปทดลองใช้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 โรงเรียนบ้านถนนงามมิตรภาพที่ 47 อำเภอคลองขลุง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากำแพงเพชร เขต 2 จำนวน 9 คน  เพื่อหาประสิทธิภาพแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ตามเกณฑ์ 75/75
              ขั้นตอนที่ 2  การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์เรื่อง เวลา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 
                    ประชากร  ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากำแพงเพชร เขต 2
                    กลุ่มตัวอย่าง  ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 โรงเรียนวัดคงคาราม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากำแพงเพชร เขต 2 จำนวน 10 คน โดยวิธีเลือกแบบเจาะจง (Perposiv Sampling)
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า
           1.  แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์เรื่อง เวลา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 7 ชุด
              2.  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เรื่อง เวลา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เป็นแบบทดสอบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือกจำนวน 30 ข้อ
การวิเคราะห์ข้อมูล
            ในการวิเคราะห์ข้อมูลจากการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องเวลา มาตรวจให้คะแนนตามเกณฑ์การให้คะแนนดังนี้
            1.  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องเวลา เป็นแบบทดสอบแบบเลือกตอบชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ โดยกำหนดเกณฑ์การตรวจให้คะแนนคือ ตอบถูกให้ 1 คะแนน ตอบผิดหรือไม่ตอบหรือตอบมากกว่า 1 ตัวเลือก ให้ 0 คะแนน
            2.  นำคะแนนของนักเรียนทั้งหมดมาหาค่าเฉลี่ย และหาค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D)
            3.  เปรียบเทียบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยการทดสอบความมีนัยสำคัญของความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยที่ได้จากการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะโดยใช้ค่าสถิติทดสอบที  ( t – test Dependent)
           ขั้นตอนที่ 3 การศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์เรื่อง เวลา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
                        กลุ่มตัวอย่าง  ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 โรงเรียนวัดคงคาราม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากำแพงเพชร เขต 2 จำนวน 10 คน โดยวิธีเลือกแบบเจาะจง (Perposiv Sampling) ที่เรียนโดยใช้แบบแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์เรื่อง เวลา ทั้ง 7 ชุด
                        ตัวแปรที่ศึกษา  ได้แก่  ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์เรื่อง เวลา
                            เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา  ได้แก่ แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องเวลาด้านการออกแบบ ด้านเนื้อหา ด้านการสื่อความหมาย และด้านประโยชน์ที่ได้รับ
                            ขั้นตอนการสร้างและใช้แบบประเมินความพึงพอใจ
                    ในการสร้างแบบประเมินความพึงพอใจ ของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์  เรื่องเวลา โดยศึกษาการสร้างแบบประเมินความพึงพอใจ และตัวอย่างแบบประเมินความพึงพอใจ เรื่องเวลา จากเอกสารและงานวิจัยและกำหนดจุดประสงค์และขอบเขตของข้อคำถามที่จะสร้างแบบประเมินความพึงพอใจให้ครอบคลุมสิ่งที่ต้องการประเมินซึ่งมี 4 ด้าน คือ ด้านการออกแบบ ด้านเนื้อหาด้านการสื่อความหมาย และด้านประโยชน์ที่ได้รับ และศึกษาวิธีการสร้างแบบสอบถามและกำหนดรูปแบบการประเมินแบบมาตราส่วนประมาณค่า  5  ระดับ  (Rating Scale)  ของบุญชม  ศรีสะอาด  (2543,หน้า 56-98)  ตามแบบของลิเคิร์ท  (Likert)  เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์  เรื่องเวลา หลังจากนั้นจึงสร้างแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องเวลา  แล้วนำแบบประเมินเสนอต่อผู้เชี่ยวชาญเพื่อพิจารณาความความเหมาะสมของแบบสอบถามนำความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญไปหา ค่าดัชนีความสอดคล้อง  (IOC)  ในแต่ละข้อคำถาม โดยกำหนดเกณฑ์การให้คะแนน ดังนี้ 
                                  +1  เมื่อแน่ใจว่าข้อคำถามของแบบสอบถามมีความสอดคล้องกับการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์
                               0  เมื่อไม่แน่ใจข้อคำถามคำถามของแบบสอบถามมีความสอดคล้องกับการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์
                              - 1  เมื่อแน่ใจข้อคำถามของแบบสอบถามไม่มีความสอดคล้องกับการเรียนโดยใช้แบบ ฝึกทักษะคณิตศาสตร์
                    นำแบบสอบถามมาแก้ไขและปรับปรุงตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ และจัดสร้างแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ฉบับสมบูรณ์
การเก็บรวบรวมข้อมูล
            1. ในการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์  เรื่อง เวลา ผู้ศึกษาได้ศึกษาหลังจากที่ได้ทำการทดลองใช้แบบฝึกทักษะเสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยนำแบบประเมินความพึงพอใจไปให้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 10คน ประเมินความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ ตามรายการที่กำหนดไว้ในแบบประเมิน
            2.  นำแบบประเมินความพึงพอใจ ที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์เรื่อง เวลา  มาตรวจนับคะแนนเพื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูล แล้วนำค่าเฉลี่ยมาเทียบกับเกณฑ์
การวิเคราะห์ข้อมูล
              ขั้นตอนที่  1  การสร้างและหาประสิทธิภาพแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์เรื่อง เวลา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3ผู้ศึกษาค้นคว้าได้ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าเฉลี่ย และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D)ของแบบประเมินความเหมาะสมของแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์เรื่อง เวลา ที่ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่านประเมินและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ โดยใช้สูตร E1/E2
            ขั้นตอนที่  2  การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์เรื่อง เวลา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์เรื่อง เวลา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
                    1.  โดยการวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานจากคะแนนการสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน
                      2.  เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยการทดสอบความมีนัยสำคัญของความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยที่ได้จากการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์เรื่อง โดยใช้ค่าสถิติ  แบบ Dependent 
               ขั้นตอนที่ 3 การศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์เรื่อง เวลา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 การประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์เรื่องเวลา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ยของคะแนนประเมินความพึงพอใจของนักเรียน และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
สรุปผลการวิจัย
            1.  การสร้างและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์เรื่อง เวลา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
                    1.1  ความเหมาะสมขององค์ประกอบต่างๆ ของแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง เวลา  โดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5ท่าน พบว่าโดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก S.D=0.20)และมีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.29/80.11
                  1.2 การตรวจภาษาและระยะเวลาที่ใช้ในการปฏิบติกิจกรรมของแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์เรื่อง เวลา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ของนักเรียน 3 คน พบว่ามีข้อที่ต้องปรับปรุงคือ คือเข็มสั้นและเข็มยาวที่ชี้ตัวเลขบนหน้าปัดนาฬิกาไม่ตรงกับตัวเลขที่แสดงบอกเวลา  รูปภาพนาฬิกาบอกเวลาไม่ตรงกับโจทย์ ตัวเลือกไม่ถูกต้อง  และเรื่องโจทย์ปัญหา เวลาไม่เพียงพอ  ได้ตรวจสอบปรับปรุง แก้ไขรูปภาพนาฬิกา การพิมพ์คำ ข้อความ ตัวเลขให้ถูกต้อง และปรับโจทย์เลขปัญหาให้สั้นลง
                   1.3  การหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์เรื่อง เวลา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ของนักเรียนจำนวน 9 คน พบว่ามีประสิทธิภาพเท่ากับ 75.24/75.56
              2.  ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3  หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
            3.  การศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์เรื่อง เวลา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3  ด้านการออกแบบ ด้านเนื้อหา ด้าน
การสื่อความหมาย และด้านประโยชน์ที่ได้รับ พบว่าโดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด 4.94, SD=0.07) 
อภิปรายผล
                    จากผลการพัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์เรื่อง เวลา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 อภิปรายผลได้ ดังนี้
                    1.  การสร้างและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์เรื่อง เวลา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่ผู้ศึกษาค้นคว้าได้สร้างขึ้นได้ผ่านการพิจารณาความเหมาะสมขององค์ประกอบของแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์จากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน พบว่า ในภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก S.D=0.20)และมีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.29/80.11 ทั้งนี้เนื่องจากแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์เรื่องเวลา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่ผู้ศึกษาค้นคว้าสร้างและพัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้คือ  75/75  และเป็นไปตามสมมุติฐาน ทั้งนี้อันเนื่องมาจากผู้ดำเนินการศึกษาค้นคว้าได้ดำเนินการสร้างอย่างเป็นระบบตามหลักวิชาการและจิตวิทยาการศึกษา โดยเริ่มดำเนินการศึกษาค้นคว้าทฤษฎี แนวคิด ของทิศนา  แขมมณี (2545,หน้า 43-101) ทฤษฎีการเชื่อมโยงของ ธอร์นไดค์ (Thorndise’s Classical Connectionism)  ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบอัตโนมัติของพาฟลอฟ  (Pavlov)  ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบโอเปอร์แรนต์  (Operant Conditioning) เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการสร้างแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ ที่มีเนื้อหาสาระที่มุ่งเน้นให้ผู้อ่านเกิดความเจริญงอกงามทางด้านสติปัญญา สังคม อารมณ์และจิตใจเป็นสำคัญ ของสุนันทา  สุนทรประเสริฐ  (อ้างในอุษณีย์  เสือจันทร์, 2553,หน้า 25)  ของพรรณธิภา อ่อนแสง (2532,หน้า 48) ของวิไลวรรณ  อินทร์เชื้อ (2536,หน้า 51)และสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (2537,หน้า 145-146)  ซึ่งสอดคล้องกับผลการวิจัยของกรองกาญจน์ ประจำเมือง(2547) ได้ศึกษาการพัฒนาแบบฝึกทักษะวิชาคณิตศาสตร์  เรื่องโจทย์ปัญหาการคูณและการหารเศษส่วน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ผลการศึกษาค้นคว้าพบว่าแบบฝึกทักษะวิชาคณิตศาสตร์  เรื่องโจทย์ปัญหาการคูณและการหารเศษส่วน มีประสิทฺธิภาพเท่ากับ 81.91/78.93 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้
                   2.  ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง เวลา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05ที่ปรากฏผลเช่นนี้อันเนื่องมาจากแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์เรื่อง เวลากลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  3 เป็นแบบฝึกที่มีประสิทธิภาพสามารถทำให้
นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นและมีคุณค่าสามารถนำมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนซึ่งสอดคล้องกับผลการวิจัยของ กรองกาญจน์ ประจำเมือง(2547 ) ได้ศึกษาการพัฒนาแบบฝึกทักษะวิชาคณิตศาสตร์  เรื่องโจทย์ปัญหาการคูณและการหารเศษส่วน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5ผลการศึกษาค้นคว้าพบว่าแบบฝึกทักษะวิชาคณิตศาสตร์  เรื่องโจทย์ปัญหาการคูณและการหารเศษส่วน มีประสิทฺธิภาพเท่ากับ 81.91/78.93 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ค่าดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะเท่ากับ 0.6238ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องโจทย์ปัญหาการคูณและการหารเศษส่วน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะที่ผู้ศึกษาค้นคว้าพัฒนาขึ้นสูงกว่ากลุ่มที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะของ สสวท. อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ทำนองเดียวกับผลการศึกษาของ เปตา  กิ่งชัยวงค์ (2553,หน้า 44)ได้ศึกษาการพัฒนาแบบฝึกทักษะเรื่อง เศษส่วน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 พบว่า แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.51/76.66 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 75/75 ที่ตั้งไว้ และผู้เรียนที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของพิริยา  ศรีพนม (2548 : 46-47) ได้ศึกษาการพัฒนาชุดฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารระคน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ผลการศึกษาค้นพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 และผู้เรียนที่เรียนโดยใช้ชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องการแก้โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารระคน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ บุญรุ่ง  จันทวงษ์วานิช (2549,หน้า 86) ได้ศึกษาการพัฒนาแบบฝึกทักษะกระบวนการคิดแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า แบบฝึกทักษะระบวนการคิดแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 87.81/79.36 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 75/75 ที่ตั้งไว้ ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ เปตา  กิ่งชัยวงค์ (2545,หน้า 43) ศึกษาเรื่องการพัฒนาแบบฝึกทักษะวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 พบว่าแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.51/76.66 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้คือ 75/75 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05
3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์เรื่อง เวลา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3  โดยรวมความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด S.D = 0.07) น่าจะเนื่องมาจากรูปแบบการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์  เรื่องเวลา ที่นักเรียนไม่เคยใช้มาก่อนและเนื้อหาที่นำเสนอมีรูปภาพประกอบและใช้ภาษาที่นักเรียนเข้าใจง่าย จึงง่ายต่อการทำความเข้าใจทำให้นักเรียนมีความสนใจมากเป็นพิเศษ โดยไม่เคร่งเครียดกับเนื้อหาและบทเรียน ซึ่ง สอดคล้องกับผลงานการศึกษาของ บุญรุ่ง  จันทวงษ์วานิช (2549,หน้า 87-88) ได้ศึกษาการพัฒนาแบบฝึกทักษะกระบวนการคิดแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า แบบฝึกทักษะกระบวนการคิดแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 87.81/79.36 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 75/75 ที่ตั้งไว้ และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะกระบวนการคิดแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.57 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.49 ซึ่งนักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด