วันศุกร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

สุริยง ดลประสพ : การพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง การออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าเครื่องดื่มสมุนไพรผง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5






บทความวิจัย : การพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม 
เรื่อง การออกแบบบรรจุภัณฑ์ เพื่อเพิ่มมูลค่าเครื่องดื่มสมุนไพรผง
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
สุริยง  ดลประสพ [1]  อมรรัตน์  วัฒนาธร [2]

 การพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง การออกแบบบรรจุภัณฑ์
เพื่อเพิ่มมูลค่าเครื่องดื่มสมุนไพรผง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
THE DEVELOPMENT ADDITIONAL STRAND CURRICULUM ON PACKAGING DESIGN TO HERBS DRINKING VALUE ADDED FOR PRATHOMSUKSA 5 STUDENTS


บทคัดย่อ
  การพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง การออกแบบบรรจุภัณฑ์ เพื่อเพิ่มมูลค่าเครื่องดื่มสมุนไพรผง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีจุดมุ่งหมาย (1 )เพื่อสร้างและหาคุณภาพของหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง การออกแบบบรรจุภัณฑ์ เพื่อเพิ่มมูลค่าเครื่องดื่มสมุนไพรผง  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (2) เพื่อทดลองใช้หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง การออกแบบบรรจุภัณฑ์ เพื่อเพิ่มมูลค่าเครื่องดื่มสมุนไพรผง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง การออกแบบบรรจุภัณฑ์ เพื่อเพิ่มมูลค่าเครื่องดื่มสมุนไพรผง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

  วิธีการดำเนินการแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้
 ขั้นตอนที่ 1 การสร้างและหาคุณภาพของหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง การออกแบบบรรจุภัณฑ์ เพื่อเพิ่มมูลค่าเครื่องดื่มสมุนไพรผง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยให้ผู้เชี่ยวชาญพิจารณาคุณภาพของหลักสูตรและเอกสารประกอบหลักสูตร วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 
  ขั้นตอนที่ 2 การทดลองใช้หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง การออกแบบบรรจุภัณฑ์ เพื่อเพิ่มมูลค่าเครื่องดื่มสมุนไพรผง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนชีพอนุสรณ์ อำเภอภูผาม่าน จังหวัดขอนแก่น ปีการศึกษา 2554  จำนวน 31 คน แบบแผนการวิจัยที่ใช้ในการทดลองคือ One Shot Case Study โดยเปรียบเทียบคะแนนความคิดสร้างสรรค์ ชิ้นงาน ทักษะการนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้า ทักษะการจัดนิทรรศการ กับเกณฑ์ร้อยละ 75 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ได้แก่ แบบประเมินความคิดสร้างสรรค์ แบบประเมินชิ้นงาน แบบประเมินทักษะการนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้า แบบประเมินทักษะการจัดนิทรรศการ สถิติที่ใช้คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test แบบ One  Sample
  ขั้นตอนที่ 3 การศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง การออกแบบบรรจุภัณฑ์ เพื่อเพิ่มมูลค่าเครื่องดื่มสมุนไพรผง  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้แบบศึกษาความพึงพอใจแบบ Rating Scale 5  ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

  ผลการศึกษาค้นคว้า
  1. หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง การออกแบบบรรจุภัณฑ์ เพื่อเพิ่มมูลค่าเครื่องดื่มสมุนไพรผง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก เอกสารประกอบหลักสุตร ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก
  2. นักเรียนที่เรียนโดยใช้หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง การออกแบบบรรจุภัณฑ์ เพื่อเพิ่มมูลค่าเครื่องดื่มสุมนไพรผง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีความคิดสร้างสรรค์ ชิ้นงาน  ทักษะการนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้า ทักษะการจัดนิทรรศการ สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
  3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม  เรื่อง การออกแบบบรรจุภัณฑ์ เพื่อเพิ่มมูลค่าเครื่องดื่มสมุนไพรผง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
คำสำคัญ : การพัฒนาหลักสูตร,  เพิ่มมูลค่า

ABSTRACT
              The independent study purposes were : 1) to create and find quality of  additional strand curriculum on packaging design to herbs drinking value  added for prathomsuksa 5 students 2) to experiment the additional strand curriculum on packaging design to herbs drinking value added for prathomsuksa 5 students  3) to study student’s satisfaction  towards learning on additional strand curriculum on packaging design to  herbs drinking value added for prathomsuksa 5 students.
              The research and development has been devided into 3 steps as follow :  Firstly, the creation and quality of additional strand curriculum on packaging design to herbs drinking value  added for prathomsuksa 5 students and it’s composed documents, submit to the specialize expert 5 persons to consider the appropriateness.
              Secondly, Using of the additional strand curriculum on packaging design to herbs drinking value  added for prathomsuksa 5 students, sample group was 31 students at Cheapanusorn School, Khonkaen  Province,  in  year 2011. The research method is One Shot Case Study which compare the student skill with criterion at percentage 75 and the research instruments compose of the creative thinking evaluated form, quality evaluated form  for  student’s product, presentation skills evaluated form and exhibitions skills  evaluated form. The statistics which use for data analysis are the average  value, the standard deviation, and t-test One Sample.
            Finally, studying student’s satisfaction towards learning on additional  strand curriculum on packaging design to herbs drinking value added for  prathomsuksa 5 students by satisfied questionnaire with 5 rating scales  and   the statistics which use for data analysis are the average value, the standard  deviation.

            The result of this study :
            1. The additional strand curriculum on packaging design to herbs drinking value added for prathomsuksa 5 students has been submitted for examining the appropriate from the specialize experts as most level with average value as good level with average value as 4.42 and it’s composed documents as good level with average value as 4.24.
            2. The student’s creative thinking, product quality, presentation skills  and exhibitions skill after learning are higher than those of criterion at the .05  level of significance.
            3.  The student’s satisfaction of learning on an additional strand  curriculum on packaging design to herbs drinking value added for  prathomsuksa 5 students is most level with average value as 4.50.

Keywords :  Addition  of  strand  curriculum,  Value  added


บทนำ
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคนซึ่งเป็นกำลังของชาติให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุลทั้งด้านร่างกาย ความรู้ คุณธรรม มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและเป็นพลโลก ยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีความรู้และทักษะพื้นฐาน รวมทั้งเจตคติที่จำเป็นต่อการศึกษาต่อ การประกอบอาชีพและการศึกษาตลอดชีวิต โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญบนพื้นฐานความเชื่อว่าทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ และมีหลักการที่สำคัญคือเป็นหลักสูตรการศึกษาที่สนองการกระจายอำนาจ ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา เปิดโอกาสให้สถานศึกษาจัดทำหลักสูตรที่เหมาะสม สอดคล้องกับสภาพวิถีชีวิต เหมาะสมกับท้องถิ่นและความต้องการของชุมชน ภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อการนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ 
กลุ่มแม่บ้านและกลุ่มเกษตรกรตำบลห้วยม่วง อำเภอภูผาม่าน จังหวัดขอนแก่น ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชน ผลิตเครื่องดื่มสมุนไพรผงที่สร้างชื่อเสียงและได้รับการยอมรับให้เป็นสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ได้แก่ มะตูมผง ขิงผง กระเจี๊ยบผง ฟ้าทะลายโจรผง  ตะไคร้ผง เก๊กฮวยผง ดอกคำฝอยผง เป็นต้น สามารถทำเป็นอาชีพเสริมและสร้างรายได้ให้กับคนในท้องถิ่น เป็นการแปรรูปสมุนไพรที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่า โดยนำเอาภูมิปัญญาท้องถิ่นในเรื่องของสมุนไพรและการแปรรูปอาหารเข้ามาร่วมด้วย ซึ่งในปัจจุบันผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มสมุนไพรผงดังกล่าว สามารถซื้อหาได้ตามท้องตลาดทั่วไป นับได้ว่ามีการแข่งขันกันค่อนข้างสูง 
การเพิ่มมูลค่าสินค้าและผลิตภัณฑ์ เป็นการนำเอาวัตถุดิบหรือทรัพยากรที่มีอยู่มาผลิต  ออกแบบ หรือแปรสภาพให้เป็นสินค้าที่ดึงดูดความสนใจของผู้บริโภค ทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มคุ้มค่ากับทรัพยากรที่ได้ใช้ไป ทางเลือกหนึ่งที่จะสามารถนำผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มสมุนไพรผงเข้าสู่การแข่งขันในตลาดได้คือ การออกแบบดัดแปลงบรรจุภัณฑ์ให้มีความแปลกใหม่ น่าสนใจ เพื่อเป็นการดึงดูดและกระตุ้นความสนใจของผู้บริโภคทำให้มียอดการซื้อขายที่สูงขึ้น  
หลักการของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ที่กระจายอำนาจให้สถานศึกษาดำเนินการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา โดยจัดทำรายวิชาพื้นฐาน รายวิชาเพิ่มเติม และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับสภาพปัญหาและความต้องการของชุมชนและสังคม รวมถึงการจัดการศึกษาตามความสามารถ ความถนัด และความสนใจของผู้เรียน ดังนั้นหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง การออกแบบบรรจุภัณฑ์ เพื่อเพิ่มมูลค่าเครื่องดื่มสมุนไพรผง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยมีจุดประสงค์หลักเพื่อให้นักเรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่จัดทำขึ้นในครั้งนี้ จึงเป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนสามารถออกแบบและสร้างสรรค์บรรจุภัณฑ์รูปแบบต่างๆ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์ เน้นกระบวนการให้นักเรียนได้ปฏิบัติจริงจนเกิดการเรียนรู้ และนำความรู้ที่ได้รับไปถ่ายทอดให้กับคนในชุมชน
จากเหตุผลดังกล่าว ผู้ศึกษาค้นคว้าจึงเห็นว่าจำเป็นที่ต้องพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมขึ้น โดยจัดให้มีวิทยากรผู้มีความรู้ในเรื่องการออกแบบบรรจุภัณฑ์เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ให้แก่นักเรียน ให้นักเรียนได้ปฏิบัติจริง ตลอดจนเป็นการพัฒนาหลักสูตรที่สัมพันธ์กับความต้องการของชุมชน อีกทั้งยังเป็นการจัดการเรียนรู้เพื่อไปสู่อาชีพและส่งเสริมการประกอบอาชีพให้แก่นักเรียนในอนาคตอีกด้วย

จุดมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า
              ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ ผู้ศึกษาค้นคว้ามีจุดมุ่งหมายหลักคือ เพื่อพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง การออกแบบบรรจุภัณฑ์ เพื่อเพิ่มมูลค่าเครื่องดื่มสมุนไพรผง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยมีจุดมุ่งหมายเฉพาะดังนี้
1.  เพื่อสร้างและหาคุณภาพของหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง การออกแบบบรรจุภัณฑ์ เพื่อเพิ่มมูลค่าเครื่องดื่มสมุนไพรผง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 
2.  เพื่อทดลองใช้หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง การออกแบบบรรจุภัณฑ์ เพื่อเพิ่มมูลค่าเครื่องดื่มสมุนไพรผง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 
3.  เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง การออกแบบบรรจุภัณฑ์ เพื่อเพิ่มมูลค่าเครื่องดื่มสมุนไพรผง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

 วิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้า
ในการพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง การออกแบบบรรจุภัณฑ์ เพื่อเพิ่มมูลค่าเครื่องดื่มสมุนไพรผง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ผู้ศึกษาค้นคว้าได้ดำเนินการตามลักษณะของกระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) แบ่งออกเป็น 3  ขั้นตอน ดังนี้
          ขั้นตอนที่ 1 การสร้างและหาคุณภาพหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง การออกแบบบรรจุภัณฑ์ เพื่อเพิ่มมูลค่าเครื่องดื่มสมุนไพรผง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีรายละเอียดดังนี้
            ในการสร้างและหาคุณภาพของหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง การออกแบบบรรจุภัณฑ์ เพื่อเพิ่มมูลค่าเครื่องดื่มสมุนไพรผง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ได้ดำเนินการพัฒนาหลักสูตรโดยมีองค์ประกอบ คือ หลักการและเหตุผล วิสัยทัศน์ พันธกิจ จุดมุ่งหมาย ผังมโนทัศน์หลักสูตร โครงสร้างหลักสูตร คำอธิบายรายวิชา การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สื่อและแหล่งการเรียนรู้ แนวการวัดและประเมินผล และเกณฑ์การจบหลักสูตร
            และในส่วนเอกสารประกอบหลักสูตร ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 7 แผนการจัดการเรียนรู้ ซึ่งมีองค์ประกอบได้แก่ สาระสำคัญ ผลการเรียนรู้ สาระการเรียนรู้ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สื่อและแหล่งการเรียนรู้ และการวัดและประเมินผล  
            ขั้นตอนที่ 2 การทดลองใช้หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง การออกแบบบรรจุภัณฑ์ เพื่อเพิ่มมูลค่าเครื่องดื่มสมุนไพรผง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 
          กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนชีพอนุสรณ์ ตำบลห้วยม่วง อำเภอภูผาม่าน  จังหวัดขอนแก่น ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 จำนวน 31 คน 
 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า 
                        1.เอกสารหลักสูตรและเอกสารประกอบหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง การออกแบบบรรจุภัณฑ์ เพื่อเพิ่มมูลค่าเครื่องดื่มสมุนไพรผง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 
                        2. แบบประเมินความคิดสร้างสรรค์
                        3. แบบประเมินชิ้นงาน
                        4. แบบประเมินทักษะการนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้า
                        5. แบบประเมินทักษะการจัดนิทรรศการ
          ขั้นตอนที่ 3 การศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง การออกแบบบรรจุภัณฑ์ เพื่อเพิ่มมูลค่าเครื่องดื่มสมุนไพรผง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 
 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า
            แบบศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง การออกแบบบรรจุภัณฑ์ เพื่อเพิ่มมูลค่าเครื่องดื่มสมุนไพรผง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 
 การวิเคราะห์ข้อมูล
            ขั้นตอนที่ 1 การสร้างและหาคุณภาพหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง การออกแบบบรรจุภัณฑ์ เพื่อเพิ่มมูลค่าเครื่องดื่มสมุนไพรผง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  โดยการหาค่าความเหมาะสมของหลักสูตรนั้น วิเคราะห์ด้วยการหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
            ขั้นตอนที่ 2 การทดลองใช้หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง การออกแบบบรรจุภัณฑ์ เพื่อเพิ่มมูลค่าเครื่องดื่มสมุนไพรผง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  โดยวิเคราะห์ด้วยการหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน แล้วนำไปเปรียบเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 75 โดยการทดสอบค่าที (t-test one sample)
            ขั้นตอนที่ 3 การศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง การออกแบบบรรจุภัณฑ์ เพื่อเพิ่มมูลค่าเครื่องดื่มสมุนไพรผง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  โดยการหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
 สรุปผลการศึกษาค้นคว้า
               1. ผลการสร้างและหาคุณภาพของหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง การออกแบบบรรจุภัณฑ์ เพื่อเพิ่มมูลค่าเครื่องดื่มสมุนไพรผง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีดังนี้
                    1.1 เอกสารหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง การออกแบบบรรจุภัณฑ์ เพื่อเพิ่มมูลค่าเครื่องดื่มสมุนไพรผง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ซึ่งมีองค์ประกอบคือ หลักการและเหตุผล วิสัยทัศน์ พันธกิจ จุดมุ่งหมาย ผังมโนทัศน์หลักสูตร โครงสร้างหลักสูตร คำอธิบายรายวิชา การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สื่อและแหล่งการเรียนรู้ แนวการวัดและประเมินผล และเกณฑ์การจบหลักสูตร มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
                    1.2 เอกสารประกอบหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง การออกแบบบรรจุภัณฑ์ เพื่อเพิ่มมูลค่าเครื่องดื่มสมุนไพรผง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง การออกแบบบรรจุภัณฑ์ เพื่อเพิ่มมูลค่าเครื่องดื่มสมุนไพรผง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 7 แผน ตามหน่วยการเรียนรู้ในโครงสร้างหลักสูตร โดยในแต่ละแผนมีองค์ประกอบคือ สาระสำคัญ ผลการเรียนรู้ สาระการเรียนรู้ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สื่อและแหล่งการเรียนรู้ และการวัดและประเมินผล มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
               2. ผลการทดลองใช้หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง การออกแบบบรรจุภัณฑ์ เพื่อเพิ่มมูลค่าเครื่องดื่มสมุนไพรผง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีดังนี้
                    2.1  นักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์ สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
                    2.2  นักเรียนมีทักษะการประดิษฐ์ชิ้นงาน สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
                    2.3  นักเรียนมีทักษะการนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้า สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
                    2.4  นักเรียนมีทักษะการจัดนิทรรศการแสดงผลงาน สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
               3. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง การออกแบบบรรจุภัณฑ์ เพื่อเพิ่มมูลค่าเครื่องดื่มสมุนไพรผง  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่า โดยภาพรวมนักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด
 อภิปรายผล
            จากการศึกษาค้นคว้า การพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง การออกแบบบรรจุภัณฑ์ เพื่อเพิ่มมูลค่าเครื่องดื่มสมุนไพรผง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ผู้ศึกษาค้นคว้าได้นำข้อค้นพบมาอภิปรายผล โดยแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน ตามจุดมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า  ดังนี้
            1. ผลการสร้างและหาคุณภาพหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง การออกแบบบรรจุภัณฑ์  เพื่อเพิ่มมูลค่าเครื่องดื่มสมุนไพรผง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่า
            ผลการสร้างเอกสารหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง การออกแบบบรรจุภัณฑ์ เพื่อเพิ่มมูลค่าเครื่องดื่มสมุนไพรผง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยพิจารณาความเหมาะสมจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ทั้งนี้อาจเนื่องมาจาก ผู้ศึกษาค้นคว้าได้ดำเนินการสร้างหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง การออกแบบบรรจุภัณฑ์ เพื่อเพิ่มมูลค่าเครื่องดื่มสมุนไพรผง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภายใต้สภาพความต้องการของโรงเรียนและชุมชน ดังที่ได้กล่าวไว้ในหลักการและเหตุผลทำให้สามารถกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ  และจุดมุ่งหมายของหลักสูตรที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน ดังที่ ทาบา (1962), สงัด อุทรานันท์  (2537), บุญชม ศรีสะอาด (2546) ได้กล่าวเกี่ยวกับการสร้างหลักสูตรไว้ว่า ควรมีการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน ความต้องการจำเป็นของสังคมก่อน ซึ่งผู้ศึกษาค้นคว้าได้พิจารณาสภาพความต้องการจำเป็นหลักของท้องถิ่นตำบลห้วยม่วง ซึ่งมีการผลิตเครื่องดื่มสมุนไพรผงอยู่เดิมแล้ว เป็นข้อมูลพื้นฐานก่อนการพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง การออกแบบบรรจุภัณฑ์ เพื่อเพิ่มมูลค่าเครื่องดื่มสมุนไพรผง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ประกอบกับการศึกษาขอบข่ายและจุดมุ่งหมายของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช 2551 เอกสารที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งขอคำแนะนำในการสร้างจากผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งมีประสบการณ์ในด้านการออกแบบบรรจุภัณฑ์และด้านศิลปะ ไม่น้อยกว่า 10 ปี ทำให้ได้เนื้อหาในส่วนของการออกแบบฉลากและบรรจุภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่า ที่มีความสมบูรณ์ ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในผังมโนทัศน์และโครงสร้างหลักสูตร แนวการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้สร้างขึ้นโดยคำนึงถึงจุดมุ่งหมายที่ต้องการให้เกิดและเนื้อหาตามโครงสร้างหลักสูตรเป็นหลัก ซึ่งเชื่อมโยงไปในเรื่องการวัดและประเมินผลด้วย ทำให้ได้องค์ประกอบของหลักสูตรที่มีความสัมพันธ์กันตามลำดับ ดังที่ บุญชม ศรีสะอาด (2546) ได้กล่าวเกี่ยวกับหลักการสำคัญอย่างหนึ่งในการพัฒนาหลักสูตรไว้ว่า ควรพัฒนาทุกจุดอย่างประสานสัมพันธ์กันตามลำดับจากจุดประสงค์ สาระความรู้ และประสบการณ์ กระบวนการเรียนการสอน และการประเมินผล นอกจากนี้ยังได้รับคำแนะนำในส่วนของการสร้างเกณฑ์การวัดและประเมินผลจากผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ด้านหลักสูตรและการสอน ทำให้องค์ประกอบดังกล่าวมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
            ผลการสร้างเอกสารประกอบหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง การออกแบบบรรจุภัณฑ์  เพื่อเพิ่มมูลค่าเครื่องดื่มสมุนไพรผง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง การออกแบบบรรจุภัณฑ์ เพื่อเพิ่มมูลค่าเครื่องดื่มสมุนไพรผง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยพิจารณาความเหมาะสมจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ทั้งนี้อาจเนื่องมาจาก ผู้ศึกษาค้นคว้าได้ดำเนินการสร้างเอกสารประกอบหลักสูตร โดยมีการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเอกสารประกอบหลักสูตร ทำการวิเคราะห์หน่วยการเรียนรู้ สาระสำคัญ ผลการเรียนรู้  สาระการเรียนรู้ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สื่อและแหล่งการเรียนรู้ และการวัดและประเมินผลเพื่อนำมาใช้วางแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ประกอบกับผู้ศึกษาค้นคว้าได้ออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการฝึกปฏิบัติจริง เป็นต้นว่า นักเรียนได้ประดิษฐ์ชิ้นงานและนำเสนอในรูปแบบของการจัดนิทรรศการแสดงผลงานร่วมกับโรงเรียนอื่นในศูนย์เครือข่าย และเน้นการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้นักเรียนได้นำทักษะด้านการสร้างสรรค์ผลงาน เพื่อนำไปสู่การออกแบบและสร้างบรรจุภัณฑ์ โดยคำนึงถึงขีดความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาการของนักเรียน เพื่อให้นักเรียนได้บรรลุตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรที่ได้ตั้งไว้ ทำให้กิจกรรมที่จัดให้กับนักเรียนนั้นไม่ยากหรือง่ายเกินไป ในด้านการวัดและประเมินผล ผู้ศึกษาค้นคว้าได้สร้างแบบวัดและประเมินผล  โดยพิจารณาจากจุดมุ่งหมายและแนวการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักสูตร เพื่อให้วัดและประเมินผลได้ตรงตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตร 
            2. ผลการทดลองใช้หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง การออกแบบบรรจุภัณฑ์ เพื่อเพิ่มมูลค่าเครื่องดื่มสมุนไพรผง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่า นักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์ ผลการประเมินชิ้นงาน ทักษะการนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้า และทักษะการจัดนิทรรศการ สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง การออกแบบบรรจุภัณฑ์ เพื่อเพิ่มมูลค่าเครื่องดื่มสมุนไพรผง  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ผู้ศึกษาค้นคว้าสร้างขึ้น เป็นหลักสูตรที่เน้นให้นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติจริง ด้วยกิจกรรมที่หลากหลายอย่างต่อเนื่อง เช่น มีการสำรวจรูปแบบบรรจุภัณฑ์ที่น่าสนใจจากร้านค้าในชุมชน การออกแบบและประดิษฐ์ตกแต่งขวดบรรจุภัณฑ์ รวมถึงการออกแบบฉลากบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่มสมุนไพรผง เนื้อหาและกิจกรรมมีความยากง่ายเหมาะกับวัยของนักเรียน เน้นการทำงานเป็นกลุ่ม มีสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ที่เป็นของจริง ลงมือปฏิบัติในสถานการณ์จริง จนทำให้นักเรียนเกิดความชำนาญในทักษะแต่ละด้าน ทำนองเดียวกันกับผลการศึกษาของ กุหลาบ นาคำ และคณะ (2547) ได้ศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น  เรื่อง การประดิษฐ์ดอกไม้จากยางพารา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า หลักสูตรมีความเหมาะสมกับวัยของผู้เรียน นักเรียนเกิดทักษะในการประดิษฐ์ดอกไม้จากยางพารา กุลสตรี วันกิ่ง และคณะ (2549) ได้ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยหลักสูตรงานใบตอง เพื่อสืบสานวัฒนธรรมบายศรี กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีคุณลักษณะในการทำงานอยู่ในระดับดีทุกรายการ ทักษะในการทำงานของนักเรียนภาพรวมอยู่ในระดับดี นอกจากนี้ยังทำนองเดียวกับ ประเมิน พันธ์สด  และคณะ (2548) ได้ศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรการสานตะกร้า กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่า ผลการใช้หลักสูตรการสานตะกร้า  นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดเกินร้อยละ 80 และนักเรียนเกิดทักษะการปฏิบัติงานและคุณลักษณะในการทำงาน ครู ผู้ปกครองและนักเรียนมีความพึงพอใจหลักสูตรการสานตะกร้า กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่  5
            3. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง การออกแบบบรรจุภัณฑ์ เพื่อเพิ่มมูลค่าเครื่องดื่มสมุนไพรผง  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง การออกแบบบรรจุภัณฑ์ เพื่อเพิ่มมูลค่าเครื่องดื่มสมุนไพรผง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.50 ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เป็นกิจกรรมที่เน้นให้นักเรียนฝึกปฏิบัติจริง โดยเฉพาะในส่วนของการออกแบบและสร้างบรรจุภัณฑ์ นักเรียนได้ร่วมกันปฏิบัติการออกแบบและสร้างบรรจุภัณฑ์ เช่น การเลือกใช้และฝึกผสมสี การเพ้นท์ภาพที่สอดคล้องกับผลิตภัณฑ์ที่บรรจุ และการออกแบบฉลากบรรจุภัณฑ์ด้วยคอมพิวเตอร์ ในส่วนของการจัดนิทรรศการนักเรียนได้ปฏิบัติในสถานการณ์จริง โดยได้แสดงผลงานของตนเอง ในงานมหกรรมทางวิชาการของศูนย์เครือข่ายภูผาม่าน ระหว่างวันที่ 27 – 28 ธันวาคม 2554 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการเผยแพร่ผลงานที่นักเรียนภาคภูมิใจ จากการสังเกตของผู้สอน พบว่า นักเรียนมีความตื่นเต้นและสนุกสนานกับการได้นำเสนอ สาธิตการออกแบบบรรจุภัณฑ์ของตนเอง ซึ่งนักเรียนได้รับคำชมจากผู้ปกครองและผู้มีเกียรติที่สนใจมาร่วมงาน บางรายได้ฝึกเพ้นท์และตกแต่งขวดบรรจุภัณฑ์กับนักเรียนอีกด้วย แสดงให้เห็นถึงความสำเร็จในการจัดนิทรรศการครั้งแรก ซึ่งนักเรียนมีความภาคภูมิใจในผลงานของตนเองมาก ทำนองเดียวกันกับผลการศึกษาของ กัลยา แตงขำ  และคณะ (2549) ได้ศึกษาเกี่ยวกับหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง การปะติดโอ่งดินเผาด้วยผ้าไทยในเชิงพาณิชย์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  พบว่า  นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมตามหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมอยู่ในระดับมากที่สุด 7 ข้อ และอยู่ในระดับมาก 3 ข้อ และนอกจากนี้ยังสอดคล้องกับ ประเมิน พันธ์สด และคณะ  (2548) ได้ศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรการสานตะกร้า กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่า ผลการใช้หลักสูตรการสานตะกร้า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดเกินร้อยละ 80 และนักเรียนเกิดทักษะการปฏิบัติงานและคุณลักษณะในการทำงาน ครู ผู้ปกครองและนักเรียนมีความพึงพอใจหลักสูตรการสานตะกร้า กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
 ข้อเสนอแนะ
              ข้อเสนอแนะในการนำไปใช้
               1. ในการนำหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง การออกแบบบรรจุภัณฑ์ เพื่อเพิ่มมูลค่าเครื่องดื่มสมุนไพรผง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ไปทดลองใช้ ควรมีการเชิญวิทยากรผู้มีความรู้ความชำนาญในด้านการออกแบบบรรจุภัณฑ์ ที่สามารถสาธิตการออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อเป็นแรงจูงใจให้กับนักเรียน มาร่วมบรรยายและนำเสนอเนื้อหาทุกครั้งที่มีการลงมือปฏิบัติจริง
               2. เนื่องจากหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง การออกแบบบรรจุภัณฑ์ เพื่อเพิ่มมูลค่าเครื่องดื่มสมุนไพรผง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เป็นหลักสูตรที่เน้นการปฏิบัติจริง ใช้เวลาในภาคปฏิบัติเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้น ผู้ใช้หลักสูตรต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตรให้ชัดเจนก่อน เพื่อที่จะนำสู่การปฏิบัติได้ทันตามเวลาที่กำหนดในโครงสร้างหลักสูตร
               3. หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง การออกแบบบรรจุภัณฑ์ เพื่อเพิ่มมูลค่าเครื่องดื่มสมุนไพรผง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สามารถนำไปใช้สอนในระดับชั้นอื่นๆ ได้ โดยปรับระดับความยากง่ายให้เหมาะสมกับวัย และวุฒิภาวะของนักเรียน
               4. นักเรียนที่เรียนตามหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง การออกแบบบรรจุภัณฑ์ เพื่อเพิ่มมูลค่าเครื่องดื่มสมุนไพรผง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เมื่อเรียนจบหลักสูตร ควรมีการส่งเสริมให้นำความรู้ไปสร้างอาชีพ เพื่อเพิ่มรายได้ในอนาคต
              ข้อเสนอแนะเพื่อทำการศึกษาค้นคว้าครั้งต่อไป
               1. ควรพัฒนาหลักสูตรที่ส่งเสริมทักษะด้านการตลาดชั้นสูงให้กับนักเรียน เช่น  หลักสูตรการจัดตั้งบริษัทจำลอง หรือหลักสูตรการจัดตั้งร้านค้าสหกรณ์เพื่อส่งเสริมการขาย มาใช้ในการต่อยอดทางด้านการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์
               2. ควรมีการวิจัยและพัฒนาหลักสูตรร่วมกับการบูรณาการกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะและคณิตศาสตร์ โดยใช้วิทยากรผู้มีความชำนาญเข้ามามีส่วนร่วมพัฒนาหลักสูตรด้วย

บรรณานุกรม 

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.  กรุงเทพฯ :        
           โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
กัลยา  แตงขำ และคณะ. (2549). การพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง การปะติดโอ่งดินเผาน้ำไทยใน
          เชิงพาณิชย์ สาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. พิษณุโลก :
            วิทยานิพนธ์ ก.ศ.ม. : มหาวิทยาลัยนเรศวร.
กุลสตรี  วันกิ่ง และคณะ. (2549). การพัฒนาหลักสูตรงานใบตอง เพื่อสืบสานวัฒนธรรมบายศรี กลุ่มสาระ
          การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. พิษณุโลก : วิทยานิพนธ์ ก.ศ.ม. : มหาวิทยาลัย
             นเรศวร.
กุหลาบ  นาคำ และคณะ. (2547). การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง การประดิษฐ์ดอกไม้จากยางพารา
           สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. พิษณุโลก : การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง : มหาวิทยาลัย
              นเรศวร.
บุญชม  ศรีสะอาด. (2546). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์นการพิมพ์.
ประเมิน  พันธ์สด และคณะ. (2548). การพัฒนาหลักสูตรการสานตะกร้า กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ
           และเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. พิษณุโลก : การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง :
              มหาวิทยาลัยนเรศวร.

[1] นิสิตระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
[2] อาจารย์ประจำสาขาวิชาหลักสูตรและการสอน ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

1 ความคิดเห็น: