วันศุกร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

วรรณิสา บัวเผื่อน : การพัฒนาชุดกิจกรรมที่ส่งเสริมการเขียนภาษาอังกฤษโดยใช้การเรียนแบบร่วมมือ STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1


                                                    บทความวิจัย การพัฒนาชุดกิจกรรมที่ส่งเสริมการเขียน
                                                            ภาษาอังกฤษ โดยใช้การเรียนแบบร่วมมือ STAD กลุ่มสาระ
การเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
                                                                          วรรณิสา บัวเผื่อน1 และจรูญ พานิชย์ผลินไชย2            

การพัฒนาชุดกิจกรรมที่ส่งเสริมการเขียนภาษาอังกฤษ
โดยใช้การเรียนแบบร่วมมือ STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
A DEVELOPMENT OF INSTRUCTIONAL PACKAGE PROMOTING ENGLISH WRITING THROUGH COOPERATIVE LEARNING WITH STAD TECHNIQUE IN THE CONTENT AREA FOREIGN LANGUAGE FOR  MATTHAYOM I STUDENT
  
บทคัดย่อ

            การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย คือ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมที่ส่งเสริมการเขียนภาษาอังกฤษ โดยใช้การเรียนแบบร่วมมือ STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการเขียนก่อนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมที่ส่งเสริมการเขียนภาษาอังกฤษ โดยใช้การเรียนแบบร่วมมือ STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการใช้ชุดกิจกรรมที่ส่งเสริมการเขียนภาษาอังกฤษ โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 25 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) แบบแผนการวิจัย คือ One Group Pretest – Posttest Design เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ ชุดกิจกรรม แบบทดสอบวัดความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษ แบบประเมิน            ความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าที     t – test (Dependent Samples)
ผลการศึกษาค้นคว้า พบว่า
1. ชุดกิจกรรมที่ส่งเสริมการเขียนภาษาอังกฤษ โดยใช้การเรียนแบบร่วมมือ STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพ 75.11/76.89 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 75/75
2. ความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมที่ส่งเสริมการเขียนภาษาอังกฤษ โดยใช้การเรียนแบบร่วมมือ STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ สำหรับนักเรียนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมที่ส่งเสริมการเขียนภาษาอังกฤษ โดยใช้การเรียนแบบร่วมมือ STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ สำหรับนักเรียนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุดโดยภาพรวมและรายด้านทุกด้าน
คำสำคัญ : ชุดกิจกรรม, การเรียนแบบร่วมมือ STAD

ABSTRACT

            The independent study purposes were: 1) to create and study the efficiency of instructional package promoting English writing through cooperative learning with STAD technique in the content area foreign language for Matthayomsuksa I student.  2) to compare with ability English writing before and after using through cooperative learning with STAD technique in the content area foreign language for Matthayomsuksa I student. 3) to study students’ satisfaction toward learning by using instructional package promoting English writing through cooperative learning with STAD technique in the content area foreign language for Matthayomsuksa I student by 25 students. The sampling method was purposive sampling. The research design is One Group Pretest – Posttest Design and the research instruments compose the instructional package English writing and a questionnaire. The statistics which used for data analysis are the average value, the standard deviate, and t – test dependent.
            The result of the study revealed that:
1. The instructional package promoting English writing through cooperative learning with STAD technique in the content area foreign language for Matthayomsuksa I student had and efficiency of 75.11/76.89 which was higher than the standard criterion 75/75.
2. The students have the compose with ability English writing after using structional package promoting English writing through cooperative learning with STAD technique in the content area foreign language for Matthayomsuksa I student was higher than before at the statistical significant .05.
3. The students have highly satisfied learning by using the instructional package promoting English writing through cooperative learning with STAD technique in the content area foreign language for Matthayomsuksa I student all of the whole and every 3 elements in the highest level.

Keywords : Instructional Package, through cooperative learning with STAD technique
  
บทนำ
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ มุ่งหวังให้ผู้เรียนมีเจตคติที่ดีต่อภาษาต่างประเทศ สามารถใช้ภาษาต่างประเทศสื่อสารในสถานการณ์ต่างๆ แสวงหาความรู้ ประกอบอาชีพ และศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น รวมทั้งมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องราวและวัฒนธรรมอันหลากหลายของประชาคมโลกและสามารถถ่ายทอดความคิดและวัฒนธรรมไทยไปยังสังคมโลกได้อย่างสร้างสรรค์ ประกอบด้วยสาระสำคัญ ดังนี้ ภาษาเพื่อการสื่อสาร, ภาษาและวัฒนธรรม, ภาษากับความสัมพันธ์กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น, ภาษากับความสัมพันธ์กับชุมชนและโลก (กระทรวงศึกษาธิการ. 2551 : 221) รัฐบาลตระหนักถึงปัญหาของการพัฒนาความสามารถทางภาษาอังกฤษของคนไทย และพยายามที่จะปรับปรุงให้มีการเรียนการสอนภาษาอังกฤษพัฒนาให้ผู้เรียนสามารถติดต่อสื่อสาร มีความเข้าใจในสารสนเทศต่างๆ อันจะนำไปสู่การพัฒนาประเทศในที่สุด โดยได้บรรจุการเรียนการสอนภาษาอังกฤษไว้ในหลักสูตรเกือบทุกระดับในฐานะเป็นภาษาต่างประเทศ
ภาษาอังกฤษจัดเป็นภาษาสากลภาษาหนึ่งที่มีความสำคัญเป็น 1ใน 5 ภาษาที่ใช้อยู่ในองค์การสหประชาชาติ เป็นภาษาที่มีผู้นิยมใช้สื่อความหมาย ความคิดและวิทยาการต่างๆ ทั่วโลกประเทศไทยนำภาษาอังกฤษมาใช้ตั้งแต่รัชกาลที่ 3 เพื่อความเข้าใจในสภาพการเมืองยุโรปเพื่อรักษาเอกราชของประเทศ (กุศยา แสงเดช. 2545 : 2) ต่อมา ภาษาอังกฤษเริ่มมีบทบาทในการศึกษามากขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 เนื่องด้วยจำเป็นต้องใช้ในการติดต่อกับชาวต่างชาติภาษาอังกฤษจึงถูกบรรจุอยู่ในหลักสูตรการศึกษาของประเทศไทยตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา(สุมิตรา อังวัฒนุกุล. 2540 : 12)
            ด้านปัญหาในการเรียนภาษาอังกฤษนั้นพบว่า นักเรียนมีปัญหาในเรื่องการเขียนมากกว่าทักษะอื่นๆ ชาร์มา ซีเกล และคิม (Sharma, 1981; Kim, 1983) ได้สำรวจข้อบกพร่องในการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนและนักศึกษาพบว่า มีข้อบกพร่องด้านการเขียนภาษาอังกฤษในเรื่องต่างๆ คือ เรื่องโครงร้างประโยค กฎไวยากรณ์ต่างๆ การเชื่อมประโยค การเขียนวลี การเลือกใช้คำเพื่อสื่อความหมาย การเรียบเรียงประโยค และการเขียนเรื่องไม่เป็นไปตามเนื้อหาที่กำหนด
            กล่าวโดยสรุปได้ว่าการสอนทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ นับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันประสบปัญหาในทุกระดับไม่ว่าจะเป็นระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ซึ่งครูผู้สอนไม่เร่งแก้ไขแล้วอาจจะส่งผลกระทบต่อไปไม่รู้จักจบสิ้นและเป็นสาเหตุทำให้การสอนภาษาอังกฤษไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร และอาจกล่าวได้ว่าในช่วงชั้นที่ 1 2 ครูผู้สอนมักจะละเลยและให้ความสำคัญน้อยในทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ และการสอนจะไม่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียน นักเรียนไม่เห็นความสำคัญและไม่เป็นประโยชน์ที่จะนำไปใช้ ทำให้ทักษะการเขียนไม่ได้รับการฝึกฝนเท่าที่ควร (วิภา รักงาม, 2535 หน้า 4)
            จากสาเหตุและปัญหาดังกล่าวที่กล่าวมาผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาวิธีการสอนเขียนเพื่อช่วยเหลือนักเรียนให้มีความสามารถในทักษะการเขียน และวิธีที่น่าสนใจและเหมาะสมกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เป็นการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคร่วมมือจะช่วยให้ผู้สอนสามารถดูแลและเอาใจใส่นักเรียนได้ทั่วถึง โดยให้ผู้เรียนช่วยเหลือซึ่งกันและกัน นักเรียนที่เรียนเก่งมีบทบาทในการเรียนการสอนโดยช่วยเหลือนักเรียนที่เรียนอ่อน ซึ่งมีการร่วมมือในการช่วยเหลือกันแทนการแข่งขันกันเองนอกจากนั้นเป็นการส่งเสริมให้นักเรียนมีปฏิสัมพันธ์ภายในกลุ่ม และมีโอกาสเรียนรู้ด้วยตนเองมากขึ้น การจัดการเรียนการสอนที่เรียกว่าการเรียนแบบร่วมมือ (Student Teams Achievement Division หรือเรียกย่อๆ ว่า STAD) ซึ่งเป็นการเรียนรู้ที่นักเรียนต้องเรียนรู้พร้อมกับรับผิดชอบงานกลุ่มร่วมกัน โดยกลุ่มจะประสบความสำเร็จได้เมื่อสมาชิกทุกคนได้เรียนรู้บรรลุจุดมุ่งหมายเช่นเดียวกันนั่นคือ เป็นการเรียนรู้เป็นกลุ่ม หรือเป็นทีมนั่นเองเพื่อความสำเร็จของกลุ่ม (Slavin, 1978, p.41) การพัฒนาการเขียนภาษาอังกฤษโดยใช้การเรียนแบบร่วมมือรูปแบบ STAD เป็นทางเลือกอย่างหนึ่งในการลดการทำงานเพื่อตนเองและความเป็นตัวของตัวเอง ขณะเดียวกันการร่วมมือในการทำงานเพื่อส่วนรวมมีมากขึ้น (สุรศักดิ์ หลาบมาลา, 2535, หน้า 8) นักเรียนรู้จักการรับฟังความเห็นผู้ร่วมงาน รู้จักสื่อสารเพื่อสร้างสัมพันธ์ ทั้งนี้เพราะการทำกิจกรรมร่วมกันนั้นจะหลีกเลี่ยงการติดต่อสัมพันธ์กันไม่ได้
            ชุดกิจกรรมเป็นสื่อที่น่าสนใจและเหมาะสมในการนำไปใช้ในการเรียนการสอนและเป็นเครื่องมือที่สามารถช่วยให้ครูและนักเรียนบรรลุจุดมุ่งหมายของการเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพดังที่ ไพรินทร์ พ่วงจันทร์ (2542) ได้เสนอแนะว่า การนำชุดฝึกทักษะมาใช้กับการสอนภาษาอังกฤษทำให้การเรียนภาษาของนักเรียนมีการพัฒนาสูงขึ้น        และบรรลุตามจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้
            ผู้วิจัยในฐานะเป็นครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ วิชาภาษาอังกฤษ ในระดับช่วงชั้นที่ 3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่โรงเรียนบ้านหนองเฒ่า ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ผู้วิจัยจึงต้องการสร้างชุดกิจกรรมที่ส่งเสริมการเขียนภาษาอังกฤษ เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนของนักเรียนให้สูงขึ้น โดยใช้การเรียนแบบร่วมมือ STADมาพัฒนาการเขียนภาษาอังกฤษ ให้แก่นักเรียนโรงเรียนบ้านหนองเฒ่า                          อำเภอบ้านด่านลานหอย จังหวัดสุโขทัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1 โดยมีความคาดหวังว่านักเรียนจะบรรลุตามผลการเรียนที่คาดหวังของหลักสูตร ประสบผลสำเร็จในการเขียนและยังเพิ่มความสามารถด้านการอ่าน การฟัง และการพูด ส่งเสริมให้นักเรียนมีปฏิสัมพันธ์ภายในกลุ่ม มีโอกาสเรียนรู้ด้วยตนเองมากยิ่งขึ้น และใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารได้ถูกต้องในยุคข้อมูลข่าวสารต่อไปในอนาคต และมีประสิทธิภาพเพียงพอตามที่หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กำหนดขึ้น

จุดมุ่งหมายของการศึกษา
            การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายหลัก คือ เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมที่ส่งเสริมการเขียนภาษาอังกฤษ โดยใช้การเรียนแบบร่วมมือ STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยมีจุดประสงค์ย่อยดังนี้
1. เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมที่ส่งเสริมการเขียนภาษาอังกฤษ โดยใช้การเรียนแบบร่วมมือ STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามเกณฑ์ E1/E2 เท่ากับ 75/75
2. เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษก่อนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมที่ส่งเสริมการเขียนภาษาอังกฤษ โดยใช้การเรียนแบบร่วมมือ STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการใช้ชุดกิจกรรมที่ส่งเสริมการเขียนภาษาอังกฤษโดยใช้การเรียนแบบร่วมมือ STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

วิธีดำเนินการวิจัย
การพัฒนาชุดกิจกรรมที่ส่งเสริมการเขียนภาษาอังกฤษ โดยใช้การเรียนแบบร่วมมือ STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ผู้วิจัยได้ดำเนินการตามกระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ซึ่งมีขั้นตอนรายละเอียดในการดำเนินงานดังนี้
            ขั้นตอนที่ 1 การสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมที่ส่งเสริมการเขียนภาษาอังกฤษ โดยใช้การเรียนแบบร่วมมือ STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
          ในการสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมที่ส่งเสริมการเขียนภาษาอังกฤษ โดยใช้การเรียนแบบร่วมมือ STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ผู้วิจัยได้นำเสนอผลการสำรวจจากเอกสารงานวิจัยเป็นแนวทางในการสร้างชุดกิจกรรมที่ส่งเสริมการเขียนภาษาอังกฤษ ได้ชุดกิจกรรมจำนวน 3 ชุด ประกอบด้วย
            ชุดกิจกรรมที่ 1   เรื่อง Present Simple tense
            ชุดกิจกรรมที่ 2   เรื่อง Past Simple Tense
            ชุดกิจกรรมที่ 3   เรื่อง Future Simple Tense
            ในแต่ละกิจกรรมมีขั้นตอนการจัดการเรียนแบบ STAD ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ 1) การนำเสนอข้อมูล (class presentation) 2) การทำงานร่วมกัน (teams) 3) การทดสอบ (quizzes) 4) การปรับปรุงคะแนน (individual improvement scores) 5) การตัดสินผลงานของกลุ่ม (team recognition) เป็นการฝึกเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย จากนั้นนำชุดกิจกรรมที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นไปให้ผู้เชี่ยวชาญด้านหลักสูตรและการสอน ด้านการสอนภาษาอังกฤษ รวมจำนวน 5 ท่าน พิจารณาความเหมาะสมของชุดกิจกรรมจากนั้นนำมาปรับปรุงตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญและนำชุดกิจกรรมไปทดลองใช้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านวังลึก อำเภอบ้านด่านลานหอย จังหวัดสุโขทัย จำนวน 9 คน เพื่อตรวจสอบความชัดเจนของภาษา ความเหมาะสมของข้อความเพื่อหาของชุดกิจกรรมและทดลองใช้กับนักเรียน จำนวน 30 คน ในโรงเรียนเดียวกัน เพื่อหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมที่ส่งเสริมการเขียนภาษาอังกฤษ โดยใช้การเรียนแบบร่วมมือ STAD ตามเกณฑ์ 75/75
ขั้นตอนที่ 2 การทดลองใช้ชุดกิจกรรมที่ส่งเสริมการเขียนภาษาอังกฤษ โดยใช้การเรียนแบบร่วมมือ STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยเปรียบเทียบความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียน
            ประชากร ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1
            กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 โรงเรียนบ้านหนองเฒ่า อำเภอบ้านด่านลานหอย จังหวัดสุโขทัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1 จำนวน 25 คน โดยเลือกแบบเจาะจง
ขั้นตอนที่ 3 การศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการใช้ชุดกิจกรรมที่ส่งเสริมการเขียนภาษาอังกฤษ โดยใช้การเรียนแบบร่วมมือ STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ขั้นตอนนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมที่ส่งเสริมการเขียนภาษาอังกฤษ โดยใช้การเรียนแบบร่วมมือ STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1  ดังนี้
ขอบเขตด้านเนื้อหา
ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมที่ส่งเสริมการเขียนภาษาอังกฤษ โดยใช้การเรียนแบบร่วมมือ  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พิจารณาด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต
ขอบเขตด้านแหล่งข้อมูล
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านหนองเฒ่า อำเภอบ้านด่านลานหอย จังหวัดสุโขทัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1 ภาคเรียนที่ ปีการศึกษา 2554 ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 25 คน
ขอบเขตด้านตัวแปร
ตัวแปรที่ศึกษา ได้แก่ ความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมที่ส่งเสริมการเขียนภาษาอังกฤษ โดยใช้การเรียนแบบร่วมมือ STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
  
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
<!--[if !supportLists]-->1. เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ ชุดกิจกรรมที่ส่งเสริมการเขียนภาษาอังกฤษ โดยใช้การเรียนแบร่วมมือ STAD
<!--[if !supportLists]-->2.   เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบวัดความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษ

การวิเคราะห์ข้อมูล
          ขั้นตอนที่ 1 การสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมที่ส่งเสริมการเขียนภาษาอังกฤษ โดยใช้การเรียนแบบร่วมมือ STAD โดยการหาค่าความเหมาะสมของชุดกิจกรรมนั้น วิเคราะห์ด้วยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนการหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรม วิเคราะห์โดยการหาค่าเฉลี่ยร้อยละ
 ขั้นตอนที่ 2 การทดลองใช้ชุดกิจกรรมที่ส่งเสริมการเขียนภาษาอังกฤษ โดยใช้การเรียนแบบร่วมมือ STAD วิเคราะห์โดยการหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความมีนัยสำคัญของความแตกต่างระหว่างคะแนนที่ได้จากการทดสอบก่อนและหลังเรียนโดยหาค่า t (t – test dependent)
           ขั้นตอนที่ 3 การศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการใช้ชุดกิจกรรมที่ส่งเสริมการเขียนภาษาอังกฤษ โดยใช้การเรียนแบบร่วมมือ STAD ด้วยการหาค่าเฉลี่ย

สรุปผลการวิจัย
1. ผลการสร้างชุดกิจกรรมที่ส่งเสริมการเขียนภาษาอังกฤษ โดยใช้การเรียนแบบร่วมมือ STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สรุปผลการศึกษาค้นคว้าได้ดังนี้
                        1.1 ชุดกิจกรรมที่ส่งเสริมการเขียนภาษาอังกฤษ โดยใช้การเรียนแบบร่วมมือ STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีองค์ประกอบ 2 ส่วนคือ 1) ส่วนนำของชุดกิจกรรมสำหรับนักเรียน ซึ่งประกอบไปด้วย คำชี้แจง จุดประสงค์การเรียนรู้ คำชี้แจงการใช้ชุดกิจกรรมสำหรับครู คำชี้แจงการใช้ชุดกิจกรรมสำหรับนักเรียน แผนผังการจัดชั้นเรียน แผนการจัดการเรียนรู้ 2) บัตรคำสั่ง 3) เนื้อหาสาระ และสื่อการเรียนต่างๆ ได้แก่ บัตรเนื้อหา บัตรกิจกรรม บัตรงาน บัตรเฉลยบัตรงาน 4) การวัดและประเมินผล ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เฉลยแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การจัดการเรียนโดยใช้การเรียนแบบร่วมมือ STAD ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ 1) การนำเสนอข้อมูล (class presentation) 2) การทำงานร่วมกัน (teams) 3) การทดสอบ (quizzes) 4) การปรับปรุงคะแนน (individual improvement scores) 5) การตัดสินผลงานของกลุ่ม (team recognition)
                      1.2 ชุดกิจกรรมที่ส่งเสริมการเขียนภาษาอังกฤษ โดยใช้การเรียนแบบร่วมมือ STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยรวมมีความเหมาะสมของชุดกิจกรรมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย= 4.57, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน=0.13)
                    1.3 ผลการหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมที่ส่งเสริมการเขียนภาษาอังกฤษ โดยใช้การเรียนแบบร่วมมือ STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กับการทดลองภาคสนาม จำนวน 30 คน พบว่ามีประสิทธิภาพเท่ากับ 75.11/76.89
            2. ผลการทดลองใช้ชุดกิจกรรมที่ส่งเสริมการเขียนภาษาอังกฤษ โดยใช้การเรียนแบบร่วมมือ STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สรุปผลการศึกษาค้นคว้าได้ดังนี้
                        2.1 ความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมที่ส่งเสริมการเขียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05
            3. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมที่ส่งเสริมการเขียนภาษาอังกฤษ โดยใช้การเรียนแบบร่วมมือ STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่านักเรียนที่มีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย=4.63, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน=0.12)

อภิปรายผลการศึกษาค้นคว้า
          ผลการพัฒนาชุดกิจกรรมที่ส่งเสริมการเขียนภาษาอังกฤษ โดยใช้การเรียนแบบร่วมมือ STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ผู้ศึกษาค้นคว้าได้นำประเด็นที่ค้นพบมาอภิปรายโดยแบ่งออกเป็น 3 ตอน ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย ดังนี้
            1. ผลการสร้างชุดกิจกรรมที่ส่งเสริมการเขียนภาษาอังกฤษ โดยใช้การเรียนแบบร่วมมือ STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ผู้ศึกษาค้นคว้าสร้างขึ้นได้ผ่านการพิจารณาความเหมาะสมของด้านต่างๆ ของชุดกิจกรรมจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน พบว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ทั้งนี้เนื่องมาจากการสร้างชุดกิจกรรมผู้ศึกษาค้นคว้าได้ศึกษาเอกสารหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ วิชาภาษาอังกฤษ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 การจัดการเรียนการสอนโดยใช้การเรียนแบบร่วมมือ STAD หลักการและทฤษฎีที่เกี่ยวกับชุดกิจกรรม การวัดและการประเมินผล ตลอดจนงานการศึกษาค้นคว้าที่เกี่ยวกับการพัฒนาชุดกิจกรรม หลังจากนั้นดำเนินการสร้างชุดกิจกรรมที่มีองค์ประกอบสอดคล้องกับการจัดการเรียนแบบ STAD ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ 1) การนำเสนอข้อมูล (class presentation) 2) การทำงานร่วมกัน (teams) 3) การทดสอบ (quizzes) 4) การปรับปรุงคะแนน (individual improvement scores) 5) การตัดสินผลงานของกลุ่ม (team recognition) ซึ่งดำเนินการตามคำแนะนำของอาจารย์ที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญอย่างเป็นระบบ
            ผู้ศึกษาค้นคว้าได้มีการตรวจสอบเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องของชุดกิจกรรม โดยมีการทดลองใช้กับนักเรียน การทดลองรายบุคคล จำนวน 3 คน เพื่อตรวจสอบความเหมาะสมด้านภาษา เนื้อหา กิจกรรม สื่อ เวลา และปัญหาที่พบในการใช้ชุดกิจกรรมพร้อมทั้งแก้ไขข้อบกพร่อง แล้วนำไปทดลองใช้กับนักเรียน การทดลองแบบกลุ่มเล็ก จำนวน 9 คน เพื่อหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรม และผลจากการหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมทั้ง 3 ชุด มีประสิทธิภาพ73.33, 72.22 และ74.44 ประสิทธิภาพโดยรวมมีค่า 73.33/74.81 ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์ 75/75 ที่ตั้งไว้ จากนั้นเมื่อนำชุดกิจกรรมมาทดลองใช้กับนักเรียน การทดลองภาคสนาม จำนวน 30 คน พบว่าชุดกิจกรรมทั้ง 3 ชุด มีประสิทธิภาพ 71.33, 75.33 และ 78.67 ประสิทธิภาพโดยรวมมีค่า75.11/76.89 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ซึ่งสอดคล้องกับการกำหนดเกณฑ์มาตรฐานของ วาโร เพ็งสวัสดิ์ (2546, หน้า 43-44) เสนอว่าการกำหนดเกณฑ์เท่าใดนั้นผู้สอนเป็นผู้พิจารณาตามความเหมาะสม แต่โดยปกติเนื้อหาที่เป็นความรู้มักจะตั้งเอาไว้ที่ 80/80, 85/85 และ 90/90 ส่วนเนื้อหาที่เป็นทักษะอาจจะตั้งไว้ต่ำกว่านี้ เช่น 75/75 ทั้งนี้หลังจากการประเมินประสิทธิภาพแล้วผลลัพธ์ควรใกล้เคียงกับเกณฑ์ที่ตั้งเอาไว้ และไม่ต่ำกว่าเกณฑ์เกิน 2.5% ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากชุดกิจกรรมมีคู่มือการใช้ครบถ้วน มีบัตรสื่อการเรียนคำสั่งที่ขัดเจนและถูกต้อง เป็นลำดับขั้นตอน นักเรียนสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง มีการสอนสามารถพัฒนาผลสัมฤทธิ์ มีบัตรเนื้อหาที่เหมาะสมกับผู้เรียนให้ผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์ตามตัวชี้วัด ด้านแผนการจัดการเรียนรู้มีขั้นตอนตามการเรียนการสอนแบบ STAD ที่สามารถทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ รวมทั้งคำชี้แจงสำหรับครูและคำชี้แจงสำหรับนักเรียนสามารถทำให้ครูและผู้เรียนสามารถปฏิบัติตามคำแนะนำสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ได้ มีการวัดผลและประเมินผลที่ตรงตามตัวชี้วัด ซึ่งสอดคล้องกับผลการวิจัยของนันทนา เจริญสุข (2549, หน้า บทคัดย่อ) ซึ่งได้ศึกษาเรื่อง ผลการใช้ชุดฝึกทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ โดยใช้การเรียนแบบร่วมมือ STAD สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่าชุดฝึกทักษะมีประสิทธิภาพเท่ากับ 88.86/90.45 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด
            2. ผลการใช้ชุดกิจกรรมที่ส่งเสริมการเขียนภาษาอังกฤษ โดยใช้การเรียนแบบร่วมมือ STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยเปรียบเทียบความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษก่อนเรียนกับหลังเรียน
            ความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมที่พัฒนาขึ้นสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งนี้เรื่องจากนักเรียนได้เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมที่มีสื่อการเรียนเหมาะสมและหลากหลาย มีกาจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ STAD ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ 1) การนำเสนอข้อมูล (class presentation)        2) การทำงานร่วมกัน (teams)  3) การทดสอบ (quizzes) 4) การปรับปรุงคะแนน (individual improvement scores) 5) การตัดสินผลงานของกลุ่ม (team recognition) ซึ่งการเรียนโดยขั้นตอนเหล่านี้ สามารถทำให้นักเรียนได้มีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง เพราะการเรียนมีความหมายต่อผู้เรียน ได้ร่วมกิจกรรมมีปฏิสัมพันธ์กับกลุ่มได้ทำให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีขึ้น มีการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ ทำให้นักเรียนมีความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
            ผลการศึกษาค้นคว้าสอดคล้องกับผลการวิจัยของกุลธิดา ทรัพย์พิพัฒนา (2546, หน้า บทคัดย่อ) ที่พบว่านักเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมมีผลการเรียนรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
            3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมที่ส่งเสริมการเขียนภาษาอังกฤษ โดยใช้การเรียนแบบร่วมมือ STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย=4.63) เมื่อพิจารณาแต่ละด้านพบว่าทุกด้านมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยดังนี้ ด้านปัจจัยนำเข้า ค่าเฉลี่ย=4.56 ด้านกระบวนการ ค่าเฉลี่ย=4.66 และด้านผลิผลิต ค่าเฉลี่ย=4.71 ที่เป็นเช่นนี้เนื่องมาจากการเรียนด้วยชุดกิจกรรมเป็นการช่วยให้นักเรียนมีความกระตือรือร้นมีการร่วมกันทำกิจกรรมทำให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการเรียนได้อย่างแท้จริง อีกทั้งการเรียนได้เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็น ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของ ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2520, หน้า 34 อ้างอิงใน สุรีย์ อรรถกร, 2551, หน้า 26) บุญเกื้อ ควรหาเวช (2543, หน้า 110 - 111) ที่พบว่านักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมในระดับมาก   (ค่าเฉลี่ย=3.58) ทั้งด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต
            ผลการศึกษาค้นคว้าแสดงให้เห็นว่าชุดกิจกรรมที่ส่งเสริมการเขียนภาษาอังกฤษ โดยใช้การเรียนแบบร่วมมือ STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ทำให้เกิดการเรียนรู้โดยการใช้การจัดการเรียนแบบร่วมมือ STAD ผู้เรียนสามารถหาความรู้อย่างเป็นขั้นตอน เกิดการพัฒนาการทางการเขียนส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น รวมถึงนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมอยู่ในระดับมากที่สุด

ข้อเสนอแนะ
          ข้อเสนอแนะทั่วไป
          1. การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ชุดกิจกรรมที่ส่งเสริมการเขียนภาษาอังกฤษนั้น โดยใช้การเรียนแบบร่วมมือ STAD เป็นกิจกรรมที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองโดยใช้กระบวนการกลุ่ม ครูต้องมีการส่งเสริมให้นักเรียนทุกคนมีส่วนร่วมในชั้นเรียนให้ได้มากที่สุด
            2. การพัฒนาชุดกิจกรรมต้องพัฒนาให้มีกิจกรรมที่ให้นักเรียนสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองได้ปฏิบัติกิจกรรม ได้มีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นนักเรียนจึงจะเกิดการเรียนรู้อย่างพึงพอใจมากที่สุดได้
            3. ในการตรวจให้คะแนน ผู้ตรวจควรศึกษาเกณฑ์การให้คะแนนแต่ละกิจกรรมให้ละเอียด การให้คะแนนจึงควรพิจารณาอย่างรอบคอบ เพื่อให้ผลที่ได้สะท้อนความสามารถของนักเรียนอย่างแท้จริง

ข้อเสนอแนะในการศึกษาครั้งต่อไป
1. ควรนำรูปแบบการสอนนี้ไปทดลองใช้กับกลุ่มเป้าหมายอื่น เช่น ระดับประถมศึกษา หรือระดับมัธยมศึกษา ตลอดจนการนำไปทดลองใช้กับโรงเรียนที่มีสภาพแวดล้อมหรือบริบทที่ต่างกัน
            2. ควรมีการศึกษาวิจัยการใช้ชุดกิจกรรมที่ส่งเสริมการเขียนภาษาอังกฤษ โดยใช้การเรียนแบบร่วมมือ STAD ร่วมกับวิธีการสอนอื่น เพื่อพัฒนาความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนได้ดียิ่งขึ้น
  
บรรณานุกรม

กรมวิชาการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.
            กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ:
            โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กุลธิดา ทรัพย์พิพัฒนา. (2546). การสร้างชุดกิจกรรมฝึกทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ กศม., จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2545). เอกสารการสอนชุดวิชาเทคโนโลยีและสื่อการศึกษา หน่วยที่
          1 – 5 (ระบบการสอน). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักเทคโนโลยีการศึกษา
            มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ชัยวัฒน์ สิทธิรัตน์. (2552). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ.
            กรุงเทพฯ: แดเน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น.
เทียมจันทร์ พานิชย์ผลินไชย. (ม.ป.ป.) เอกสารประกอบคำสอนระเบียบวิจัย. พิษณุโลก:
            ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.
เทียมจันทร์ พานิชย์ผลินไชย. (2539). เอกสารคำสอนระเบียบวิธีวิจัย. พิษณุโลก:
            ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.
นันทนา เจริญสุข. (2549). ผลการใช้ชุดฝึกทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ โดยใช้การเรียน
แบบร่วมมือ STAD สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยทนิพนธ์ กศม., มหาวิทยาลัยบูรพา.     กรุงเทพฯ.
นงคราญ ทองประสิทธิ์. (2541). ชุดกิจกรรมฝึกทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ สำหรับ
          นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยทนิพนธ์ กศม., มหาวิทยาลัยบูรพา. กรงเทพฯ.




[1] นิสิตระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์
[2] ผู้ช่วยศาสตราจารย์, อาจารย์ประจำสาขาวิชาหลักสูตรและการสอน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น