วันศุกร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

รัชณี อยู่สำราญ:การพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่องสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น....


บทความวิจัย : การพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม 
เรื่อง สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นการตัดกระดาษว่าวในศาสนพิธีอุปสมบท 
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงาน อาชีพและเทคโนโลยี  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

รัชณี อยู่สำราญ1 จรูญ พานิชย์ผลินไชย 2  
การพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม  เรื่อง สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น
การตัดกระดาษว่าวในศาสนพิธีอุปสมบท
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงาน อาชีพและเทคโนโลยี
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

THE DEVELOPMENT ADDITIONAL SUBJECT CURRICULUM ON THE TOPIC “CONTINUING TO THE LOCALWISDOM OF PAPER WSRAPPING IN RELIGIOUS  CEREMONY”
THE  SUBSTANCE LEARNING WORK OCCUPATION GROUP AND TECNOLOGY  
 FOR PATHOMSUKSA 4


บทคัดย่อ

              การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างและหาคุณภาพของหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม  เรื่อง สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นการตัดกระดาษว่าวในศาสนพิธีอุปสมบท กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เพื่อทดลองใช้หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นการตัดกระดาษว่าวในศาสนพิธีอุปสมบท กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม  เรื่อง สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นการตัดกระดาษว่าวในศาสนพิธีอุปสมบทกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
              กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านเตว็ดนอก(สร้อยสนประชาสรรค์)  อำเภอศรีสำโรง  จังหวัดสุโขทัย  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2  ภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2554 จำนวน 20 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง(Purposive Selection)  เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา  คือ หลักสูตรและเอกสารประกอบหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นการตัดกระดาษว่าวในศาสนพิธีอุปสมบท กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  แบบทดสอบวัดความรู้ความเข้าใจ เรื่องการตัดกระดาษว่าวในศาสนพิธีอุปสมบท  แบบประเมินทักษะการปฏิบัติงาน  แบบประเมินคุณลักษณะในการปฏิบัติงานและแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น การตัดกระดาษว่าวในศาสนพิธีอุปสมบท  แบบแผนการทดลอง คือ One Group Posttest Only Design  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบที (t-test One Sample)
              ผลการศึกษาค้นคว้า พบว่า 
              1. หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น  การตัดกระดาษว่าวในศาสนพิธีอุปสมบท กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  มีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด และเอกสารประกอบหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมมีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด 
              2. นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05มีทักษะในการปฏิบัติงานหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีคุณลักษณะในการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมากที่สุด 
              3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมอยู่ในระดับมากที่สุด 

คำสำคัญ : หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม, สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น,การตัดกระดาษว่าวในศาสนพิธีอุปสมบท


ABSTRACT

              The independent study purposes were: 1) to create and find quality of additional subject curriculum on the topic “Continuing to the Local Wisdom of Paper Wrapping in Religious Ceremony” The Substance Learning Work Occupation and Technology Group for Pathomsuksa 4.  2) to experiment the additional subject curriculum on the topic “Continuing to the Local Wisdom of Paper Wrapping in Religious Ceremony” The Substance Learning Work Occupation and Technology Group for Pathomsuksa 4.  3) To study student’s satisfaction towards learning on additional subject curriculum  on the topic “Continuing to the Local Wisdom of Paper Wrapping in Religious Ceremony” The Substance Learning Work Occupation and Technology Group for Pathomsuksa 4.
              The sample group was 20 students at Baan Tawednok (Soison-Prachasun) School in year 2011, Srisamrong District, Sukhothai province. The sampling method was purposive sampling. The research instruments compose of the additional subject curriculum on the topic “Continuing to the Local Wisdom of Paper Wrapping in Religious Ceremony” The Substance Learning Work Occupation and Technology Group for Pathomsuksa 4. It’s compose documents, achievement test, working evaluated form, characteristic evaluated form, quality evaluated form for student’s product. The research method is one Group Posttest Only Design. The statistics which use for data analysis are the average value, the standard deviation, and t-test one sample.
              The results of research were as follows: 1) The construct and identify the additional subject curriculum on the topic Continuing to the Local Wisdom of Paper Wrapping in Religious Ceremony for Pathomsuksa 4. The components of the additional subject  curriculum include additional subject curriculum document in overall was at good appropriate level  and  it’s  composed  at good  appropriate level .  2) The post-test  of knowledge and understanding were higher than percentage level 80 as important statistic at level .05.  The student ability after studying was higher than percentage level 80 as important statistic at level .05 and the student’s characteristic in overall was at good appropriate level.  3) The student’s satisfaction of learning on additional subject curriculum is most level.

Keywords : ADDITIONAL SUBJECT CURRICULUM, Continuing to the Local wisdom,
Paper  wrapping in religious ceremony


บทนำ
              การจัดการศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคนให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุลทั้งทางร่างกายความรู้คุณธรรมมีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองของโลก มีความรู้และทักษะพื้นฐานโดยมีจุดหมายเพื่อพัฒนาให้ผู้เรียนเป็นคนดี มีปัญญา มีความสุขและมีศักยภาพในการศึกษาต่อและประกอบอาชีพ  มาตรา 24 การจัดกระบวนการเรียนรู้ ให้สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการจัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความถนัดของผู้เรียนโดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ฝึกทักษะกระบวนการคิด การจัดการและการประยุกต์ความรู้มาใช้  จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริงคิดเป็น ทำเป็น   แก้ปัญหาเป็น (กรมวิชาการ, 2551, หน้า 5 - 12)
                 จากข้อมูลพื้นฐานด้านแหล่งการเรียนรู้ (ประเภทบุคคล) ของบ้านเตว็ดนอก ตำบลทับผึ้ง  อำเภอศรีสำโรงจังหวัดสุโขทัยพบว่ามีภูมิปัญญาชาวบ้านที่มีความรู้ความสามารถทางด้านงานฝีมือที่เกี่ยวกับศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณีต่าง ๆ ของท้องถิ่นมากมาย ได้แก่ การทำไม้กวาดดอกหญ้า  การสานปลาตะเพียนจากกระป๋อง  การสานริบบิ้นโปรยทาน  การประดิษฐ์ดอกไม้จากเศษวัสดุ  และการตัดกระดาษว่าวในศาสนพิธีอุปสมบท  ซึ่งปัจจุบันกำลังจะสูญหายไปจากชุมชน   ทางโรงเรียนบ้านเตว็ดนอก(สร้อยสนประชาสรรค์) ได้เห็นความสำคัญของการจัดการศึกษาที่เน้นกระบวนการเรียนรู้เพื่อปลูกจิตสำนึกความเป็นไทยด้านการสืบสานทางวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยให้คงอยู่คู่กับชุมชน ผู้วิจัยจึงได้ดำเนินการสำรวจความต้องการในการจัดทำหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมจากภูมิปัญญาท้องถิ่น จำนวน 5 ท่าน  ผู้นำชุมชน จำนวน 5 ท่าน  ผู้ปกครอง จำนวน 10 ท่าน  ครู จำนวน 5 ท่าน และนักเรียน จำนวน 15 ท่าน  พบว่าบุคคลในชุมชนมีความต้องการให้จัดทำหลักสูตร  รายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น  การตัดกระดาษว่าวในศาสนพิธีอุปสมบท  กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เนื่องจากเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับงานฝีมือของภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีอยู่ในชุมชน  จึงสมควรอนุรักษ์และสืบสานให้ดำรงอยู่ต่อไป
              จากเหตุผลดังกล่าวผู้วิจัยจึงเห็นว่าจำเป็นที่จะต้องพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมเรื่องสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นการตัดกระดาษว่าวในศาสนพิธีอุปสมบท กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ขึ้น โดยจัดให้ภูมิปัญญาท้องถิ่นผู้ที่มีความรู้ ความชำนาญเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ให้แก่นักเรียนโดยตรงนักเรียนได้ลงมือปฏิบัติจริงมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคล สิ่งแวดล้อมและใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชน ซึ่งเป็นหลักสูตรที่ผู้วิจัยจัดทำขึ้นตามความต้องการของโรงเรียน ผู้เรียนและชุมชน ตลอดจนเป็นการพัฒนาหลักสูตรเพื่อปลูกฝังให้นักเรียนมีจิตสำนึกความเป็นไทยด้านการสืบสานทางวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น  ภูมิปัญญาไทยที่เป็นการพัฒนาไปสู่การส่งเสริมและการอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทยให้คงอยู่คู่ชุมชนสืบต่อไป

จุดมุ่งหมายของการวิจัย
             1.เพื่อสร้างและหาคุณภาพของหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมเรื่องสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น การตัดกระดาษว่าวในศาสนพิธีอุปสมบท กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
              2. เพื่อทดลองใช้หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม  เรื่อง สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น การตัดกระดาษว่าวในศาสนพิธีอุปสมบท กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดย
                   2.1  เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง  สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นการตัดกระดาษว่าวในศาสนพิธีอุปสมบทกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กับเกณฑ์ร้อยละ 80
                   2.2  เปรียบเทียบทักษะในการปฏิบัติงานของนักเรียนที่เรียนหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นการตัดกระดาษว่าวในศาสนพิธีอุปสมบทกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  4  กับเกณฑ์ร้อยละ  80
                   2.3  ศึกษาคุณลักษณะในการปฏิบัติงานของนักเรียนที่เรียนหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นการตัดกระดาษว่าวในศาสนพิธีอุปสมบท กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
              3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม   เรื่องสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นการตัดกระดาษว่าวในศาสนพิธีอุปสมบท กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 

วิธีดำเนินการวิจัย
           ในการพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น การตัด   กระดาษว่าวในศาสนพิธีอุปสมบท  กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่4 ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาตามลักษณะของกระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ซึ่งมีขั้นตอนการดำเนินงานตามลำดับ ดังนี้
               ขั้นตอนที่ 1 การสร้างและหาคุณภาพของหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นการตัดกระดาษว่าวในศาสนพิธีอุปสมบท กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  4 โดยการนำเอาข้อมูลจากการสัมภาษณ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น  การศึกษาเอกสาร  ตำราเกี่ยวกับการจัดทำหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม  มาสังเคราะห์องค์ประกอบของหลักสูตร  เพื่อนำมากำหนดโครงสร้างและรายละเอียดในการสร้างหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม  ได้แก่  เอกสารหลักสูตร  และเอกสารประกอบหลักสูตร  ได้แก่  คู่มือครูในการใช้หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม  และคู่มือนักเรียนในการใช้หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมนำหลักสูตรและเอกสารประกอบหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม   ที่สร้างเสร็จแล้วเสนอผู้เชี่ยวชาญจำนวน  5  ท่าน  พิจารณาความเหมาะสมขององค์ประกอบหลักสูตร  และเอกสารประกอบหลักสูตร  โดยใช้แบบประเมินความเหมาะสมของหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้น  วิเคราะห์ผลโดยการหาค่าเฉลี่ย  และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  แปลผลคะแนนเฉลี่ย  โดยเทียบกับเกณฑ์คุณภาพหลักสูตรที่กำหนดไว้
               ขั้นตอนที่ 2 การทดลองใช้หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมเรื่องสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นการตัดกระดาษว่าวในศาสนพิธีอุปสมบทกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านเตว็ดนอก(สร้อยสนประชาสรรค์)อำเภอศรีสำโรง  จังหวัดสุโขทัย  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2  ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554  จำนวน 20 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Selection)  ศึกษาผลการทดลองใช้หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม  มีดังนี้
              2.1 ใช้แบบทดสอบวัดความรู้ความเข้าใจเรื่องสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น การตัดกระดาษว่าวในศาสนพิธีอุปสมบท กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  ทดสอบนักเรียนหลังเรียนด้วยหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม  เปรียบเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ  80  โดยใช้สถิติ  (t-test  One  Sample)
              2.2  ใช้แบบประเมินทักษะการปฏิบัติงานของนักเรียน เรื่อง สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นการตัดกระดาษว่าวในศาสนพิธีอุปสมบท กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  ประเมินระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้  วิเคราะห์ผลโดยการหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  แล้วนำไปเปรียบเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ  80  โดยใช้สถิติ  (t-test  One  Sample)
               2.3  ใช้แบบประเมินคุณลักษณะในการปฏิบัติงานของนักเรียน  เรื่อง สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น การตัดกระดาษว่าวในศาสนพิธีอุปสมบท กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่4  ประเมินระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้  วิเคราะห์ผลโดยการหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  แปลผลคะแนนเฉลี่ยโดยเทียบกับเกณฑ์คุณภาพที่กำหนดไว้ 
              ขั้นตอนที่  3 การศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นการตัดกระดาษว่าวในศาสนพิธีอุปสมบทกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หลังเสร็จสิ้นการจัดการเรียนรู้ด้วยหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม  โดยให้นักเรียนตอบแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนโดยใช้หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น จากนั้นนำมาวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  แล้วนำไปเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนด

เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
            1.  หลักสูตรและเอกสารประกอบหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม
          2. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวัดด้านความรู้ความเข้าใจ  เรื่อง  สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น  การตัดกระดาษว่าวในศาสนพิธีอุปสมบท กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 แบบเลือกคำตอบ  4 ตัวเลือก จำนวน  20 ข้อ 
             3. แบบประเมินทักษะการปฏิบัติงานของนักเรียน เรื่อง สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น การตัดกระดาษว่าวในศาสนพิธีอุปสมบท กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating scale)
            4. แบบประเมินคุณลักษณะในการปฏิบัติงานของนักเรียน เรื่อง สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น การตัดกระดาษว่าวในศาสนพิธีอุปสมบท กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4   มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า   5 ระดับ (Rating scale)
             5.แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมเรื่อง สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น การตัดกระดาษว่าวในศาสนพิธีอุปสมบท กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี

การวิเคราะห์ข้อมูล
           ขั้นตอนที่ 1 การสร้างและหาคุณภาพของหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมเรื่องสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น การตัดกระดาษว่าวในศาสนพิธีอุปสมบทกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยการหาค่าความเหมาะสมของหลักสูตรและเอกสารประกอบหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมด้วยการหาค่าเฉลี่ย  และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
              ขั้นตอนที่ 2 การทดลองใช้หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมเรื่องสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นการตัดกระดาษว่าวในศาสนพิธีอุปสมบทกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  วิเคราะห์โดยการหาค่าเฉลี่ย และหาค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน แล้วนำผลมาเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ ร้อยละ  80  ด้วยการทดสอบที  (t-test  One  Sample)
               ขั้นตอนที่  3  การศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม  เรื่อง สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น การตัดกระดาษว่าวในศาสนพิธีอุปสมบท กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  4  วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย และ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

สรุปผลการวิจัย
           1. ผลการสร้างและหาคุณภาพของหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น การตัดกระดาษว่าวในศาสนพิธีอุปสมบทกลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ได้ผลดังนี้
                   หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม ประกอบด้วย  หลักการและเหตุผล  จุดมุ่งหมาย  ผังมโนทัศน์  คำอธิบายรายวิชา  โครงสร้างของหลักสูตร  สาระการเรียนรู้  ผลการเรียนรู้  อัตราเวลาเรียน  แนวทางการจัดการเรียนรู้  สื่อและแหล่งการเรียนรู้  การวัดและประเมินผล  มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด  และเอกสารประกอบหลักสูตรซึ่งประกอบด้วยคู่มือครูในการใช้หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมโดยมีองค์ประกอบ คือ  คำชี้แจงสำหรับครูและแผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 5 แผน ซึ่งมีองค์ประกอบ คือ ผลการเรียนรู้สาระสำคัญจุดประสงค์การเรียนรู้สาระการเรียนรู้  กิจกรรมการเรียนรู้  วัสดุอุปกรณ์สื่อและแหล่งเรียนรู้  การวัดและประเมินผล  บันทึกผลหลังการจัดการเรียนรู้ ใบความรู้  ใบกิจกรรม  แบบประเมิน  เกณฑ์การประเมิน  และคู่มือนักเรียนในการใช้หลักสูตร  โดยมีองค์ประกอบ คือ คำชี้แจงสำหรับนักเรียน  ใบความรู้  ใบกิจกรรม  มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากทีสุด
           2. ผลการทดลองใช้หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น การตัดกระดาษว่าวในศาสนพิธีอุปสมบท กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
               2.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
                   2.2 ผลการประเมินทักษะในการปฏิบัติงานของนักเรียนที่เรียนหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม สูงกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
                   2.3 ผลการประเมินคุณลักษณะในการปฏิบัติงานของนักเรียนที่เรียนหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม อยู่ในระดับมากที่สุด  
              3. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น การตัดกระดาษว่าวในศาสนพิธีอุปสมบทกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  นักเรียนมีความพึงพอใจในด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตอยู่ในระดับมากที่สุด

อภิปรายผล
           จากผลการศึกษาการพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่องสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น การตัดกระดาษว่าวในศาสนพิธีอุปสมบท กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4ผู้วิจัยได้นำประเด็นที่ค้นพบมาอภิปราย ดังนี้
             1.การสร้างและหาคุณภาพของหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมเรื่องสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นการตัดกระดาษว่าวในศาสนพิธีอุปสมบท กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นโดยผ่านกระบวนการพัฒนาหลักสูตร คือ การดำเนินการสำรวจความต้องการและความจำเป็นของการจัดทำหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมเพื่อให้ได้หลักสูตรที่สอดคล้องเหมาะสมกับความต้องการของผู้เรียนและท้องถิ่น  ศึกษาข้อมูลจากการสัมภาษณ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เชี่ยวชาญด้านการตัดกระดาษว่าวในศาสนพิธีอุปสมบท เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม ศึกษาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช  2551  หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี   ตำราทฤษฎี  ตลอดจนงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เพื่อนำข้อมูลมากำหนดองค์ประกอบของหลักสูตร ดำเนินการสร้างหลักสูตรและเอกสารประกอบหลักสูตรตามกระบวนการพัฒนาหลักสูตรตามรูปแบบการพัฒนาหลักสูตรของทาบาซึ่งมีแนวคิดในการสร้างและพัฒนาหลักสูตร แบ่งออกเป็น 7 ขั้นตอน (วิชัย  วงษ์ใหญ่, 2537, หน้า 17-26 ,สุนีย์  ภู่พันธ์, 2546,หน้า 167 - 168)   และหลักสูตรที่สร้างขึ้นได้ผ่านการตรวจสอบข้อบกพร่องตามข้อเสนอแนะของอาจารย์ที่ปรึกษาการประเมินความถูกต้องและความเหมาะสมจากคณะผู้เชี่ยวชาญด้านหลักสูตรและการสอน ด้านการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี และด้านการวัดประเมินผลส่งผลให้หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นการตัดกระดาษว่าวในศาสนพิธีอุปสมบท กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และเอกสารประกอบหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมมีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 
              2. ผลการทดลองใช้หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นการตัดกระดาษว่าวในศาสนพิธีอุปสมบท กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 20 คน ดังนี้
                    2.1ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม  เรื่อง สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น การตัดกระดาษว่าวในศาสนพิธีอุปสมบท กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  ทั้งนี้ เนื่องจากหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น การตัดกระดาษว่าวในศาสนพิธีอุปสมบท  มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรม  มีการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีความรู้ความสามารถในการตัดกระดาษว่าวในศาสนพิธีอุปสมบทมาถ่ายทอดประสบการณ์มีการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงเนื้อหาและการลงมือปฏิบัติจริงทำให้นักเรียนสนใจและตั้งใจในการเรียนรู้มีการจัดหน่วยการเรียนรู้ที่เรียงลำดับจากง่ายไปหายาก  มีใบความรู้และใบกิจกรรมเพื่อประเมินความรู้ที่นักเรียนได้รับการเรียนรู้แต่ละหน่วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  พุทธศักราช 2542 แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2  พ.ศ.2545  มาตรา 24  การจัดกระบวนการเรียนรู้ให้สถานศึกษาและหน่วยที่เกี่ยวข้องดำเนินการจัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน  ด้วยเหตุนี้จึงทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ด้านความรู้ความเข้าใจหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของจุรีย์   บัวเข็มและคณะ(2551) ที่ศึกษาผลการพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่องการผลิตน้ำปรุงรสจากใบกระทอน  กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่านักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
                   2.2 ทักษะในการปฏิบัติงาน เรื่อง สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น การตัดกระดาษว่าวในศาสนพิธีอุปสมบท กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ของนักเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  ทั้งนี้ อาจเนื่องมาจากหลักสูตรและเอกสารประกอบหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นการตัดกระดาษว่าวในศาสนพิธีอุปสมบท  กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4เป็นหลักสูตรที่เป็นไปตามความต้องการของผู้เรียน  เป็นกิจกรรมที่มุ่งเน้นกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเองผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติงานที่ถูกต้องตามขั้นตอนจากการสาธิตและการถ่ายทอดโดยตรงจากภูมิปัญญาท้องถิ่น จึงทำให้ผู้เรียนค้นพบตนเองและพัฒนาความสามารถ อีกทั้งยังเป็นหลักสูตรที่มีความสอดคล้องกับวิถีชีวิตประเพณีและวัฒนธรรมของชุมชนที่เกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับการนำผลงานการตัดกระดาษว่าวไปใช้ในพิธีอุปสมบท  ที่เป็นการอนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นในเรื่องนี้ไว้  สอดคล้องกับงานวิจัยของวัลลิยา  ศิริกล้า (2550)  ที่ได้พัฒนาหลักสูตรสาระเพิ่มเติม เรื่องเกษตรอินทรีย์  กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่านักเรียนมีทักษะการปฏิบัติงานโดยรวมมีคุณภาพอยู่ในระดับดี  ทำนองเดียวกับปานจิต  อรุณอุ่นเกตุ และคณะ (2551)ได้พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม เรื่องงานกระดาษรังผึ้งเพื่ออนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5พบว่าผู้เข้ารับการอบรมมีทักษะการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมาก  โดยมีค่าเฉลี่ย 4.68 
                      2.3คุณลักษณะในการปฏิบัติงานเรื่องสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นการตัดกระดาษว่าวในศาสนพิธีอุปสมบท  กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด แสดงว่าหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมมีส่วนส่งเสริมให้นักเรียนมีคุณลักษณะในการทำงานบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้  ทั้งนี้ เนื่องจากหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม มีเนื้อหาที่ส่งเสริมให้ผู้เรียน   มีความรู้  มีทักษะการปฏิบัติงานและมีคุณลักษณะได้เรียนรู้ด้วยตนเอง พร้อมทั้งปลูกฝังคุณลักษณะที่ดีในการทำงาน โดยในกระบวนการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรมีขั้นตอนที่ให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติซึ่งทำให้ผู้เรียนมีความสุข สนุกกับการปฏิบัติงาน  ทำให้สามารถตัดกระดาษว่าวได้อย่างถูกต้องตามขั้นตอนและสวยงาม  อีกทั้งการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติงานด้วยตนเองโดยมีผู้รู้และผู้มีประสบการณ์เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้จึงส่งผลให้ผู้เรียนเห็นคุณค่าและสามารถนำภูมิปัญญามาใช้ในชีวิตประจำวันได้ซึ่งเป็นการสืบทอดและเรียนรู้ที่จะอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นของบ้านเตว็ดนอกตำบลทับผึ้งอำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย สืบต่อไป สอดคล้องกับผลการวิจัยของปานจิต  อรุณอุ่นเกตุ และคณะ(2551) ได้พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม เรื่องงานกระดาษรังผึ้งเพื่ออนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่า ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีคุณลักษณะในการทำงานอยู่ในระดับมากและสอดคล้องกับผลการวิจัยของสุมารินทร์  ธนะสัมบัน ( 2554)  ได้ทำวิจัยเรื่องการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม เรื่อง  การประดิษฐ์ดอกไม้ จากผ้าใยบัวสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  ชุมนุมงานประดิษฐ์  พบว่า ผู้เข้ารับการฝึกอบรมตามหลักสูตรเรื่องการประดิษฐ์ดอกไม้จากผ้าใยบัว มีคุณลักษณะในการทำงานอยู่ในระดับมาก
              3. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น การตัดกระดาษว่าวในศาสนพิธีอุปสมบท กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  พบว่า นักเรียนมีระดับความพึงพอใจโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด  ทั้งนี้ อาจเนื่องมาจากเหตุผลหลายประการ เช่น เป็นเรื่องใกล้ตัวนักเรียน เป็นเรื่องที่นักเรียนสนใจอยากเรียนรู้และเหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น กิจกรรมการเรียนรู้ช่วยให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการสร้างความรู้ สนุกกับการเรียน  ตลอดจนมีส่วนในการชื่นชมอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชนของตนส่งผลให้นักเรียนเกิดความภาคภูมิใจในผลงานของตนเอง  ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดเกี่ยวกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของแสงสุรีย์  สิพกิจ (2546) ที่กล่าวว่า การที่ผู้ปฏิบัติงานจะมีความพึงพอใจในการปฏิบัติงานขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ปฏิบัติว่าได้รับการตอบสนองมากน้อยเพียงใด และขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมและสถานการณ์ต่างๆ ที่ปฏิบัติงาน  สอดคล้องกับงานวิจัยของจุรีย์  บัวเข็ม และคณะ (2551)ได้พัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมเรื่องการผลิตน้ำปรุงรสจากใบกระทอน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  พบว่า นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมเรื่องการผลิตน้ำปรุงรสจากใบกระทอนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีโดยภาพรวมทุกข้ออยู่ในระดับมาก 

ข้อเสนอแนะ
           ข้อเสนอแนะในการนำไปใช้
           1. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ควรขยายเวลาหรือหาเวลานอกเหนือจากเวลาเรียน เพื่อให้นักเรียนได้มีเวลาในการพัฒนาทักษะจนเกิดความชำนาญ และประดิษฐ์ผลงานที่มีคุณภาพยิ่งขึ้น
             2.หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นการตัดกระดาษว่าวในศาสนพิธีอุปสมบท กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ประยุกต์เป็นหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อให้บุคคลอื่นที่สนใจได้มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นให้อยู่คู่กับชุมชนต่อไป
              ข้อเสนอแนะเพื่อทำการวิจัยครั้งต่อไป
           1. ควรมีการศึกษาการพัฒนาหลักสูตรบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ เรื่อง การออกแบบลายไทย
              2. ควรมีการเพิ่มเติมเนื้อหาการจัดการด้านการตลาด เพื่อเป็นการสร้างอาชีพและรายได้ให้กับผู้เรียน

                                           


บรรณานุกรม
 กระทรวงศึกษาธิการ.  (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช  2551.  กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย  จำกัด.   
 จุรีย์  บัวเข็ม  และคณะ.  ( 2551).  การพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม  เรื่อง  การผลิต
           น้ำปรุงรสจากใบกระทอน  กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี 
           สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6.  การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง.  กศ.ม.,
            มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก. 
ปานจิต  อรุณเกตุ  และคณะ. ( 2551).  การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม  เรื่อง  งานกระดาษรังผึ้ง  เพื่ออนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5.  การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง.  กศ.ม., มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.
วัลลิยา  ศิริกล้าและคณะ.  (2550).  การพัฒนาหลักสูตรสาระเพิ่มเติม  เรื่อง  เกษตรอินทรีย์กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  5.  การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง.  กศ.ม., มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.     
สุนีย์  ภู่พันธ์.  ( 2546).  การพัฒนาหลักสูตร.  กรุงเทพฯ: สุวีรินาสส์น.
สุมารินทร์  ธนะสัมบัน.  ( 2554).  การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม  เรื่อง  การประดิษฐ์ดอกไม้
จากผ้าใยบัว  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6 ชุมนุมงานประดิษฐ์. 
การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง.  กศ.ม., มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก. 
แสงสุรีย์  สิพกิจ.  (2546).  ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงาน:
กรุงเทพฯ: ไทยยูเนียนกรุ๊ป. 







                       







                       





[1] นิสิตระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน  ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
[2] ผู้ช่วยศาสตราจารย์, อาจารย์ประจำสาขาวิชาหลักสูตรและการสอน  ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น